พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พื้นที่เปิดโอกาสจัดการศึกษาด้วยตนเอง
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน บทความนี้ขอนำเสนอการสรุปสาระสำคัญของเลขาธิการ กพฐ. (นายอัมพร พินะสา) ในการสัมภาษณ์ประเด็น ครม. เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 65 ที่ผ่าน คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบ 11 จังหวัดใหม่ (จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ตราด ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน สงขลา สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร) เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (“หัวข้อ เศรษฐกิจ – สังคม เรื่องที่ 8” อ่านรายละเอียด คลิก) จากการเห็นชอบของ ครม. ดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เลขาธิการ กพฐ. (นายอัมพร พินะสา) ได้ให้สัมภาษณ์ ในประเด็น ครม. เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในรายการสมรภูมิข่าว 92.5 ของกรมประชาสัมพันธ์ โดยคุณวรรษมน ช่างปรีชา เป็นผู้ดำเนินรายการ
จากการสัมภาษณ์รายการสมรภูมิข่าว 92.5 ผู้เขียนได้ร่วมรับฟังผ่าน Live Facebook โดย มีประเด็นคำถามที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ
- จากที่ ครม.เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใน กทม. และ 10 จังหวัด ส่วนนี้มีรายละเอียดการดำเนินการอย่างไรบ้าง
- อยากให้ช่วยทำความเข้าใจถึงเงื่อนไขการคัดเลือกพื้นที่นำร่อง ให้คนในพื้นที่เห็นศักยภาพและให้ความร่วมมือ
- ยกตัวอย่างสถานศึกษานำร่อง และประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
- นำเสนอแนวทางให้โรงเรียนอื่นได้พัฒนาตาม
สามารถรับฟังบทสัมภาษณ์ในรายการ คลิป ด้านล่างนี้
จากการสัมภาษณ์ 4 ข้อ ข้างต้น มีประเด็นที่ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นใจสำคัญของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้เขียนจึงขอนำเสนอในหัวข้อ “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ อะไร” โดยนำบทสัมภาษณ์มาสรุปและเรียบเรียงใหม่ ดังนี้
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ อะไร
นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 ประเด็นคำถามที่ผู้เขียนสนใจ คือ “นำเสนอแนวทางให้โรงเรียนอื่นได้พัฒนาตาม” ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอตัวอย่างสถานศึกษานำร่องที่สามารถขยายผลและเป็นแนวทางให้สถานศึกษาอื่นสามารถพัฒนาตามได้ ของ 3 โรงเรียน ดังนี้
- โรงเรียนวัดตาขัน จ.ระยอง
- โรงเรียนบ้านขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
- โรงเรียนบ้านยะต๊ะ จ.ยะลา
แนวทางการขยายผล/แนวปฏิบัติที่ดีไปยังสถานศึกษาอื่น
โรงเรียนวัดตาขัน จ.ระยอง (อ่านบทความเดิม คลิก)
“นวัตกรเชิงชีววิถี การเรียนรู้สู่วิถีพอเพียง”
หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนวัดตาขัน
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
- ออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะด้วยกรอบหลักสูตรจังหวัด Rayong MACRO และ DOE จังหวัด
- วิเคราะห์บริบทโรงเรียน 1) ทุนของโรงเรียน 2) ทุนชุมชน 3) จุดอ่อนและจุดแข็ง เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียน
- กำหนด School Concept “TK Bio-Culture & Innovation school : นวัตกรเชิงชีววิถี”
- นำมาออกแบบผลลัพธ์ DOL โรงเรียน 1) นักเกษตรอินทรีย์วิถีสุขภาพ 2) นักนวัตกรน้อย 3) นักเทคโนโลยีสร้างสรรค์ 4) นักธุรกิจน้อย
- ออกแบบและกำหนดสมรรถนะนักเรียน ดังนี้
5.1 สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย
1) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและความเป็นไทย
2) คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3) การสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
4) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
5.2 สมรรถนะทั่วไป ประกอบด้วย
1) สมรรถนะการจัดการตนเองเพื่อพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
2) การรู้เท่าทันเทคโนโลยีและสารสนเทศ
3) การเป็นนักนวัตกรสร้างสรรค์
4) สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
5) สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการแบบร่วมมือกับผู้อื่น - นำไปออกแบบ Learning Area โดยมีแนวคิดสำคัญในการจัดการเรียนรู้ คือ การดูแลและจัดการตนเองในชีวิตประจำวัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบูรณาการสู่พื้นฐานชีวิตที่พอเพียง วิถีชุมชนและการเรียนรู้ในพื้นที่โคกหนองนา @ตาขัน การเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) และวิธีการแบบเปิด (Open approach) แบ่งพื้นที่การเรียนรู้ออกเป็น 4 รูปแบบ คือ เรียนรู้ในกิจวัตรประจำวัน เรียนรู้วิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนรู้ในหน่วยบูรณาการคุณค่าสู่ชีวิต ในกลุ่มบูรณาการสู่พื้นฐานชีวิตที่พอเพียงโคกหนองนา@ตาขันผ่านกรอบหลักสูตร Rayong MARCO สร้างพื้นฐานการเป็นนักนวัตกรผ่านวิชา Alternative Maker และเรียนรู้ระบบคุณค่าในกลุ่มสุขภาวะกายจิต
- ออกแบบเพื่อพัฒนาครู 3 รูปแบบ ดังนี้
7.1 สร้างการเรียนรู้ที่ฝึกให้ครูมองเห็นคุณค่าของสรรพสิ่งต่าง ๆ โดยใช้กิจกรรม Wise Refraction
7.2 อบรมปฏิบัติการนวัตกรรมการสอนรูปแบบต่าง ๆ
7.3 กิจกรรม PLC
โรงเรียนบ้านขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ (อ่านบทความเดิม คลิก)
บูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอน
ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้
การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)
- วิเคราะห์บริบทโรงเรียน “มุ่งให้เกิดความเสมอภาค และไม่ยึดติดกับวิธีการแบบเดิมเพราะการศึกษาที่ดีอาจจะไม่มีวิธีการใดที่ถูกต้องเสมอหรือเป็นวิธีที่ดีที่สุด ตลอดจนมุ่งเน้นให้ผู้เรียน“รู้คิด จิตใจดี มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ มีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ” สอดคล้องกับเป้าหมายคุณลักษณะคนดีศรีสะเกษ และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เติบโตอย่างสมดุลของประเทศไทยคือ เป็นบุคคลผู้เรียนรู้ (Learner Person) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-Creator) และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen) ตามเป้าหมายคุณลักษณะของคนชาติไทย
- กำหนด School Concept “นวัตกรบ้านขุนหาญ ผ้าไหมสู่สากล”
- พัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Transform)
3.1 พัฒนาผู้บริหารและคณะครูให้มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรตั้งแต่ปรัชญา
3.2 การศึกษา (School Philosophy) วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) แนวคิดหลัก (School Concept) และผลลัพธ์ที่พึ่งประสงค์ของการเรียนรู้ (Desired Outcomes of Leaning : DOL) สมรรถนะการเรียนรู้ (Competency)
3.3 โครงสร้างการจัดกลุ่มศาสตร์วิชา (Leaning Areas) โครงสร้างเวลาเรียน แนวคิดหลักของกลุ่มวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแนวทางการวัดและประเมินผล
3.4 การพัฒนาครูผู้สอน การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้สังเกตผู้เรียนมีสายตา เชิงประจักษ์เห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Leaning)
3.5 การพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือทำให้นักเรียนเกิดสมรรถนะ ด้วยความสัมพันธ์ OLE ดังนี้
3.5.1 กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่ระบุแนวคิดหลักในแผนนั้น ๆ
3.5.2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้(Objective)สู่การบรรลุผล 3 ด้าน ได้แก่
• ด้านความรู้ (Understanding of Knowledge) คือ การระบุความเข้าใจของผู้เรียนที่เกิดขึ้นเป็นระดับก่อนหลัง จนสามารถประมวลเป็นแนวคิดของการสอนนั้น ๆ
• ด้านทักษะ (Skill) คือ การกระทำที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจากการฝึกประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจความรู้นั้น ๆ ด้วยตนเอง
• ด้านเจตคติ/คุณค่า (Attitude) คือ ความรู้สึกและทัศนคติที่นำไปสู่ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนรู้
3.6 การออกแบบวิธีการเรียนรู้ (Leaning Process) มีแบบฝึก ใบความรู้ มีขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุปในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3.7 การวัดและประเมินผล
3.8 การพัฒนาเครื่องมือ “กัลยาณมิตรนิเทศ” CRC: Classroom Reflection to Change และการจัดวงเรียนรู้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการสอนแบบ OLE การ นําแผนการสอนไปใช้จริง โดยครูผู้สอนต้องคำนึงถึงสถานการณ์การเรียนรู้และภาวะของผู้เรียนในขณะนั้น ๆ และการสะท้อนผลการเรียนการสอนเพื่อให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
โรงเรียนบ้านยะต๊ะ จ.ยะลา (อ่านบทความเดิม คลิก)
กรอบการบริหาร YATA MODEL
สู่แนวคิด Active ETQ
- กำหนดเป้าหมายโรงเรียน
- วิเคราะห์บริบทโรงเรียน/แหล่งการเรียนรู้
- พัฒนาแนวคิด Active ETQ โดยใช้ PCDA และ PLC
3.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจถึงที่มา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
3.2 คณะครู ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกันสะท้อนจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของโรงเรียนโดยเน้นไปที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.3 ศึกษานวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
3.4 ประชุมเสนอหัวข้อนวัตกรรมที่ทุกคนสนใจและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน จากนั้นร่วมกันอภิปรายจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา ที่ประชุมลงมติใช้ Active ETQ เป็นนวัตกรรม
3.5 อบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรโรงเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการพื้นที่นวัตกรรม
3.6 สร้างและพัฒนาแนวคิด Active ETQ
3.7 ดำเนินการขับเคลื่อนพัฒนาสู่นวัตกรรม Active ETQ
3.8 นำประเด็นที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการใช้นวัตกรรม Active ETQ เสนอเข้าการประชุม PLC ทุก ๆ วันศุกร์ เพื่อสะท้อนภาพการดำเนินการและแลกเปลี่ยนวิธีการเพื่อพัฒนาการดำเนินการใช้นวัตกรรมให้เกิดผลดียิ่งขึ้น - ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
4.1 หน่วยหนูน้อยจิตอาสา จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้พัฒนาห้องเรียน พัฒนาโรงเรียน และพัฒนาชุมชน ในรูปแบบการทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ
4.2 หน่วยโรงเรียนพอเพียง จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพ่อถาง แม่ปลูก ลูกรักษา และกิจกรรมถอดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.3 หน่วยขนมพื้นบ้าน จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้รู้จักขนมพื้นบ้าน สำรวจขนมพื้นบ้านที่นักเรียนสนใจ ลงมือทำขนมพื้นบ้าน และถอดบทเรียนเรื่องขนมพื้นบ้าน
4.4 หน่วยหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เรื่อง การทำนา การไถนา การดำนา และการเกี่ยวข้าว
4.5 หน่วยหนูน้อยนักประดิษฐ์ จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง ขยะ ให้นักเรียนสำรวจขยะและวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและชุมชน แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่ใช้ได้ใหม่
4.6 หน่วยเถ้าแก่น้อย จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องตลาด พานักเรียนไปศึกษาตลาดในชุมชนดูสินค้าที่สนใจ อยากลงมือทำ อยากขาย พร้อมคิดวางแผนวิธีการขาย และลงมือทำสินค้า พร้อมเปิดตลาดนัดในโรงเรียนให้นักเรียนได้ค้าขายจริง
นอกจากความสำเร็จของโรงเรียนทั้ง 3 แห่งข้างต้น ผู้เขียนขอนำเสนอ บทเรียนทรงพลังเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีก 1 บทความ เพื่อให้เห็นถึงแนวทางในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมกาณศึกษา 4 ประเด็น ดังนี้
- เป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- การกำหนดเป้าหมายสู่ความสำเร็จและสร้างกลไกการทำงานจากทุกภาคส่วน
- การเลือกใช้หลักสูตรให้ตอบโจทย์พื้นที่
- การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
(อ่านรายละเอียด คลิก)
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผู้เขียนหวังว่าการนำเสนอบทความครั้งนี้ จะทำให้ผู้อ่านและผู้สนใจ ได้เห็นหลักการแนวคิด ตัวอย่างโรงเรียนที่เป็นตัวอย่างที่ดี และประสบการณ์จากบทเรียนทรงพลัง และหวังว่าทุกท่านจะร่วมมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมกาณศึกษาสู่ความสำเร็จต่อไป
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ : อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์