สพฐ. คลี่ข้อมูลวิเคราะห์ รร. นำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับโครงการอื่น หวังใช้ Ecosystem หนุนนำ จัดการศึกษาตอบโจทย์พื้นที่

11 มีนาคม 2020

ตั้งแต่ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประกาศใช้ จนถึงปัจจุบัน (10 มีนาคม 2563) มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 8 จังหวัด และมีโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 271 โรงเรียน จาก 3 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 226 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.4 รองลงมาคือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 28 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10.3 และจากสังกัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 17 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ของจำนวนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายละเอียดแสดงภาพ

เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามากที่สุดจำนวน 61 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 22.5 รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 49 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 18.1 รายละเอียดตามภาพประกอบ

แผนภูมิภาพแสดงจำนวนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในแต่ละจังหวัด จำแนกตามสังกัด

เมื่อพิจารณาจำนวนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุกสังกัด โดยแบ่งโรงเรียนเป็น 7 ขนาดตามจำนวนนักเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 121 – 200 มีจำนวนมากที่สุดถึง 69 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 25.5  รองลงมาเป็นโรงเรียนขนาดที่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 500 –1499 มีจำนวน 58 โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 21.4 ทั้งนี้พบว่า จ.ยะลา จ.ระยอง จ.ศรีสะเกษ และ จ.สตูล ไม่มีโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีนักเรียนจำนวนมากกว่า 2500 คนรายละเอียดตามภาพประกอบ

เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัด สพฐ. พบว่ามีโรงเรียนนำร่องทั้งสิ้นจำนวน 226 โรงเรียน เมื่อแบ่งโรงเรียนเป็น 7 ขนาดตามจำนวนนักเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 121 – 200 มีจำนวนมากที่สุดถึง 64 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 28  รองลงมาเป็นโรงเรียนขนาดที่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 500 –1499 มีจำนวน 43 โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 19 ทั้งนี้พบว่ามีโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีนักเรียนจำนวนมากกว่า 2500 คน เพียง 1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.4 และโรงเรียนนี้อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี รายละเอียดตามภาพประกอบ

เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัด สพฐ. จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและต้นสังกัด พบว่า สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 มีจำนวนโรงเรียนนำร่องมากที่สุด จำนวน 16 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 17.1 รองลงมาคือ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 6.2 และต้นสังกัดที่มีจำนวนโรงเรียนนำร่องน้อยที่สุดคือ สพม.เขต 28 มีจำนวน 1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.4 รายละเอียดตามภาพประกอบ

โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับโครงการอื่น

เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัด สพฐ. ที่มีจำนวน 226 โรงเรียน โดยดูโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับโครงการอื่น ๆ อีก 3 โครงการของ สพฐ. ได้แก่ โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล โครงการโรงเรียนประชารัฐ และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา พบว่า โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล จำนวน 73 โรงรียน
  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 45 โรงเรียน
  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 1 โรงเรียน
  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล และ โครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 29 โรงรียน
  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล และ โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จำนวน 2 โรงรียน
  • กลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับ โครงการโรงเรียนประชารัฐ และ โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จำนวน 1 โรงรียน
  • ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับทั้ง 3 โครงการ จำนวน 75 โรงเรียน

สามารถดาวน์โหลดข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนนำร่อง file Excel ได้ที่นี่ >>>> คลิก <<<<


ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
“กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเด็กอยากเล่า จากการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมสตูล”ภาคีเชียงใหม่ เชื่อม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เสริมสร้างพลังการพัฒนาพลเมืองเชียงใหม่
บทความล่าสุด