พรุ่งนี้ ภาคีร่วมใจ จัดทำยุทธศาสตร์สื่อสารฯ ยุคใหม่ เพื่อใช้ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมฯ

10 กันยายน 2020

11 กันยายน 2563 (พรุ่งนี้) คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม เป็นเจ้าภาพการประชุมจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ณ ห้องประชุม 1 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อาคาร เอส.พี. (ไอบีเอ็ม) อาคารบี ชั้น 6 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร โดยผลผลิตของวันพรุ่งนี้จะถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งท่าน วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการฯ ได้นัดหมายประชุมฯ ในวันที่ 21 กันยายน 2563 ที่จะถึงนี้ สำหรับการประชุมในวันพรุ่งนี้ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ได้แก่

นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตรประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ
นายธนกร ศรีสุขใสอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ
รศ.วิลาสินี พิพิธกุลอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ
นางเนตรชนก วิภาตะศิลปินอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ
นายสมพงษ์ หลีเคราะห์อนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ
นายอโณทัย ไทยวรรณศรีอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ และเลขานุการ
นางสาวเพียงแข เติมภิญโญอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯและผู้ช่วยเลขานุการ (ผู้แทน)
รศ.ประภาภัทร นิยมประธานอนุกรรมการด้านบุคคลฯ
รศ.ทิศนา แขมมณีประธานอนุกรรมการด้านวิชาการฯ
นายสมศักดิ์ พะเนียงทองประธานอนุกรรมการด้านงบประมาณฯ
ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์ผู้แทนอนุกรรมการด้านนโยบายฯ
นายโกวิท คูพะเนียดผู้แทนอนุกรรมการด้านกฎหมาย
นางรัตนา กิติกรผู้จัดการโครงการมูลนิธิสยามกัมมาจล
นางมัลลวีร์ รอชโฟลผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สนก.
นางสาวปวีณา พริ้งเพราะนักวิชาการศึกษา สนก.
นายพรชัย ถาวรนานนักวิชาการศึกษา สนก.
นายเก ประเสริฐสังข์ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม สบน.
นางเนตรทราย แสงธูปผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สบน.
นายประสิทธิ์ สุขประสพโภคานักวิชาการศึกษา สบน.
นายฉัตรชัย หล้ากันหานักวิชาการศึกษา สบน.
นางสาวภัชธีญา ปัญญารัมย์เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ สบน.

หมายเหตุ รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมอาจมีการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจาก ThaiPBS, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สถาบันสถาบันอาศรมศิลป์ และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

เราได้เห็นการรวมพลังความร่วมมือร่วมใจของภาคีเครือข่ายเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในประเทศไทย โดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนผ่าน พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ได้เริ่มประกาศใช้แล้วนั้น ต่อจากนี้ไปตลอดเส้นทางของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยพลังของการสื่อสารสังคมจะได้เริ่มปรากฏภาพชัดผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่พวกเราภาคีเครือข่ายจะรวมกันสรรค์สร้างโดยมีเป้าหมายที่แน่วแน่ร่วมกันคือยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ

ทั้งนี้ขอขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่สนับสนุนสถานที่สำหรับจัดประชุมในวันพรุ่งนี้


ผู้เขียน: ประสิทธิ์ สุขประสพโภคา, เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ผลการประชุมนัดแรก คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาผลการประชุมนัดแรก คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด