โรงเรียนเป็นฐาน สร้างการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม “ต้นแบบการเรียนรู้ตลาดนัดสองแผ่นดินไทย-มาเลย์ ในรูปแบบ 4P MODEL” โรงเรียนบ้านมูโนะ

13 สิงหาคม 2021

โรงเรียนบ้านมูโนะ ลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่ในชายขอบแม่น้ำสุไหงโก-ลก ติดกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีท่าเรือบริเวณหน้าโรงเรียน ในทุกวันจันทร์และวันศุกร์จะมีการเปิดตลาดนัดสองแผ่นดินไทย-มาเลย์ จะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นวิถีของชุมชน

โรงเรียนบ้านมูโนะ มีรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้นวัตกรรม “ต้นแบบการเรียนรู้ตลาดนัดสองแผ่นดินไทย-มาเลย์ ในรูปแบบ 4P MODEL” เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนโดยการปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นพื้นที่นวัตกรรมบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปะ และภาษามลายู สำหรับนักเรียนแต่ละชั้นเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชนและสภาพปัญหาในพื้นที่อันจะนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรูปแบบ 4P MODEL และใช้เทคนิคกระบวนการสอนแบบ Active Learning (การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ) ทั้งนี้โรงเรียนบ้านมูโนะได้ขับเคลื่อนนวัตกรรม “ต้นแบบการเรียนรู้ตลาดนัดสองแผ่นดินไทย-มาเลย์ ในรูปแบบ 4P MODEL”

P1 ชั้นปฐมวัย การจัดการเรียนการสอนแบบพหุภาษาโดยใช้กีรออาตี

การเรียนการสอนแบบพหุภาษา คือ การจัดการเรียนการสอนที่มีภาษามากกว่า 2 ภาษา ซีนอซ และ เจสเนอร์ (ม.ป.ป.) กล่าวว่า ภาษาต่างๆนั้น มีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกเสียง ด้านโครงสร้างประโยค และแม้แต่ด้านความหมายของคำ และวัฒนธรรมทางภาษา การใช้หลายภาษาไปพร้อมกันในการเรียนรู้ภาษานั้น ทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพด้านการพัฒนาทางภาษา

แนวการสอนแบบกีรออาตี ดีต่อนักเรียนทุกวัย และเป็นมิตรต่อผู้เริ่มหัดเรียนภาษา เป็นลักษณะการสอนแนว Concept Learning ที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่รู้จักตัวหนังสือ ไม่รู้จักชื่อพยัญชนะ และชื่อสระ แต่นักเรียนเห็นคำหนึ่งคำ นักเรียนก็สามารถที่จะอ่านได้เลย ทำให้นักเรียนอ่านได้เร็วมาก และไม่สับสน ที่สำคัญคือช่วยลดภาระในการจำเสียงที่ไม่มีความหมายออกไปได้มาก

โรงเรียนบ้านมูโนะ ได้จัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบพหุภาษาโดยใช้กีรออาตี เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาไทยของนักเรียน เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยการนำหลักของกีรออาตี (ภาษาอาหรับ ) เชื่อมโยงกับภาษาไทยของระดับชั้นปฐมวัย โดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพนักเรียน และพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

P2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 3R (หนังสือส่งเสริมการอ่าน 3 ภาษา)

โรงเรียนบ้านมูโนะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ การคิดคำควณ (3R) ผ่านหนังสือส่งเสริมการอ่าน 3 ภาษาให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีคุณลักษณะตามทักษะ ในศตวรรษที่ 21 สื่อสารทั้งภาษาไทย ภาษามลายูกลางและภาษาอังกฤษ ดีขึ้นตามลำดับและมีนิสัยรักการอ่านทั้งภาษาไทย ภาษามลายูกลางและภาษาอังกฤษ

P3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 STEM (สะเต็มศึกษา)

โรงเรียนบ้านมูโนะได้จัดกิจกรรม STEM (สะเต็มศึกษา) ส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการคิดให้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาในชีวิตจริงและสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมองเห็นเส้นทางการประกอบอาชีพในอนาคต มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสูงขึ้น ครูผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาอย่างมั่นใจและเพิ่มพูนโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในบริบทที่หลากหลาย มีความหมายและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง

P4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 Career Skill (ทักษะอาชีพ)

โรงเรียนบ้านมูโนะได้จัดกิจกรรม Career Skill (ทักษะอาชีพ) เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ ทั้งปฏิบัติด้วยตนเอง หรือปฏิบัติเป็นกลุ่ม เป็นทีม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ซึ่งจะยิ่งช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาให้กับนักเรียนและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมให้พัฒนาอาชีพตามวิถีชีวิตของชุมชน

การเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่ทำ

ผู้เรียนมีทางเลือกในการศึกษาต่อ ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ในด้านวิชาการและทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น การออกกลางคันของผู้เรียนลดน้อยลง โรงเรียนบ้านมูโนะเป็นที่ยอมรับของชุมชนตอบโจทย์ทางด้านทักษะอาชีพ ศาสนา และด้านวิชาการ

เป้าหมายต่อไป

พัฒนาภาษามลายูกลางให้เด่นชัด ส่งเสริมพัฒนาต่อยอดทักษะอาชีพให้เป็นรูปธรรมให้ตอบสนอง ในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21

 


 


ผู้เขียน:
ฉัตรชัย หล้ากันหา
ผู้ให้สัมภาษณ์: โสรยา อาแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมูโนะ
ผู้สัมภาษณ์: ฉัตรชัย หล้ากันหา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนบ้านมูโนะ

Facebook Comments
การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่คุณภาพโดยใช้รูปแบบ HTA เน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพและเทคโนโลยี ให้แก่ผู้เรียน สู่การเป็นคนดีและคนเก่ง รร.บ้านห้วยน้ำขาว จ.กาญจนบุรีการทำงานที่เริ่มด้วย “หัวใจ” คณะทำงานพัฒนามาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เดินหน้าประชุมนัดแรกเข้มข้น
บทความล่าสุด