หนึ่งวันกับการเรียนรู้ของโรงเรียนเมืองคง(คงคาวิทยา) สิ่งที่น่าประทับใจ อย่างน้อย 4 ด้านดังต่อไปนี้
1. ด้านการบริหารจัดการภายในโรงเรียน
ที่มีผู้บริหารเป็นผู้นำและสร้างทีมเวิร์ก วางแผนการทำงานสู่เป้าหมายเดียวกันที่เป็น Concept ของโรงเรียน SATHIAN MODEL 7 ขั้นตอนของการบริหารจัดการภายในที่คุณครูทุกคนมีฉันทะที่จะดูแลเด็ก ๆ และสร้างการเรียนรู้โดยนึกถึงเด็กเป็นตัวตั้
2. ด้านกายภาพภายนอกห้องเรียน
มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ในโรงเรียน มีพื้นที่ให้เด็กได้เข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น พื้นที่เล่นบ้านต้นไม้ แปลงผัก ฯ
3. ด้านกายภาพภายในห้องเรียน
มีห้องที่สำหรับเด็กนั่งเรียนและห้องสำหรับปฏิบัติการเวลาเรียนร่วมกันของแต่ละระดับชั้น ห้องเรียนที่เด็กนั่งประจำนั้นมองในเรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียนที่เมืองคงยังต้องนำกลับมาใคร่ครวญและให้ความสำคัญ เช่น การออกแบบห้องเรียนจัดโต๊ะ เพื่อสร้างบรรยากาศและลดความหนาแน่นของจำนวนคน และที่สำคัญจะช่วยเด็กกลุ่มที่ตามครูผู้สอนไม่ทันเพราะนั่งอยู่ท้าย ๆ ถ้ามีวิธีหมุนเวียนสลับการนั่งของเด็กก็จะช่วยลดปัญหาของการเรียนรู้ได้ในระดับหนึ่ง
4. ด้านการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่ชื่นชมคือ ครูทำงานเป็นทีม
สอนเป็นทีมในแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถม พยายามเดินหน้าเรื่องบูรณาการ ยืดหยุ่นบางเรื่อง เปิดโอกาสให้ความอิสระกับเด็ก สิ่งที่เป็นข้อสังเกตและพัฒนาต่อได้ทันที ดังนี้
4.1 การบริหารจัดการชั้นเรียนแต่ละระดับชั้นในการเรียนรวม ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่อยู่พอสมควร เช่น เด็กอนุบาลมากกว่า 40 คน ประถมต้น 30 กว่าคน ถ้าออกแบบชั้นเรียนให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำก็จะสามารถดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึงโดยมีทีมครูที่พร้อม และที่สำคัญจะช่วยเด็กได้ทุกคน ประเมินได้ง่ายกว่ากลุ่มใหญ่
4.2 การออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง ชื่นชมทีมครูที่นำเรื่องราวที่อยู่ในปัจจุบันมาออกแบบการเรียนรู้ เช่น เรื่อง พายุฝน ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ แต่ก็พอจะเป็นสัญญาณที่ดีในเรื่องของการเป็น Active Learning ในบางระดับชั้น สิ่งที่เป็นข้อสังเกตเห็นและพัฒนาต่อยอดได้คือ การกำหนดประเด็นของเรื่องที่นำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ และกำหนดโจทย์ที่ท้าทายให้เป็นปัญหาของเด็ก เพื่อให้เด็กได้แสดงศักยภาพที่ตนมี และที่สำคัญการใช้คำถามที่ไปกระตุ้นการเรียนรู้ ให้มีความเป็น Active Learning ที่เด็กเรียนรู้เรื่องดังกล่าวแล้วสามารถสร้างชุดความรู้ใหม่และนำไปใช้ได้ทันที
4.3 การให้เวลาเด็กสร้างสรรค์ผลงาน กลุ่ม เดี่ยว นั้นควรมีเป้าหมายที่ชัดและต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นกลุ่มหรือเดี่ยว
4.4 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3 ด้าน ASK เจตคติ/คุณค่า (Attitude) ทักษะ (Skill) ความรู้ (Knowledge) ซึ่งกระบวนการนี้เป็น BAR หรือ Before Action Review
4.5 ระบบการติดตามชั้นเรียน ดูการสอนผ่านกระบวนการ CRC (Classroom Reflection to Change) / AAR (After Action Review) บันทึกวีดีโอมาสะท้อนแลกเปลี่ยน PLC (Professional Learning Community) กันอย่างเป็นกิจวัตร สร้างให้เป็นวิถีวัฒนธรรมในโรงเรียนเมืองคง ก็จะส่งผลไปในระดับของการที่โรงเรียนได้ถูกคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ
ท้ายนี้ขอขอบพระคุณ ผอ.เสถียร พันธ์งาม และ อ.สำราญ บุญธรรม รองผอ. พร้อมทีมครูผู้เข้มแข็งทุกคนที่เปิดโอกาสให้ทางทีมผู้มาเยือนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งเป็นวงการเรียนรู้ที่มีคุณค่าทีเดียว เพราะทุกคนแลกเปลี่ยนกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนโดยมีเด็กเป็นที่ตั้ง และที่สำคัญทั้งโรงเรียนเปิดใจน้อมรับการเเลกเปลี่ยนมุมมองจากสายตาบุคคลข้างนอกเพื่อขยับไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติที่ขับเคลื่อนเป็นโรงเรียนโมดูล การศึกษาแบบองค์รวม ที่มุ่งเน้นทำการศึกษาในเรื่อง ฐานใจ-ฐานกาย-และสติปัญญา ทางทีมเชื่อว่าโรงเรียนท่านทำได้แน่นอน ตามที่ตกลงคำมั่นสัญญากันแล้วว่าจะให้ความสำคัญเรื่องการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และถ่าย VDO แลกเปลี่ยนกันดูอย่างต่อเนื่องครับ
ผู้เขียน: สืบศักดิ์ น้อยดัด สถาบันอาศรมศิลป์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, รัตนากร พึ่งแก้ว, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนเมืองคง คงคาวิทยา, สถาบันอาศรมศิลป์