พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมออกแบบทดสอบ วัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2564

17 กรกฎาคม 2023
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมออกแบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2564

ดร.ยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมการออกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 1 อาคารโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี ชั้น 3  โรงเรียนดาราวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางจินดา กำลังประสิทธิ์ รองศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องฯ คณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศึกษานิเทศก์จากหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดเชียงใหม่ การดำเนินการครั้งนี้โดยความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 20 (6) มาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยได้กำหนดแผนการดำเนินการ ดังนี้

  1. ออกแบบ test blueprint ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง พ. ศ. 2564 ของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. พัฒนาคณะทำงานในการสร้างแบบทดสอบ โดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. สร้างแบบทดสอบตาม test blueprint ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยนำแนวทางแบบทดสอบจากแหล่งต่างๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
  4. ทดลองใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบ
  5. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ไปใช้กับโรงเรียนนำร่องฯ

* บุคคลที่ปรากฏในบทความนี้ ท่านใด ประสงค์ให้นำภาพหรือข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลออก
โปรดแจ้งมาที่ E-mail : Saraban@EduSandbox.com*

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     


 

 

 

 

ผู้เขียน: นพดล โป่งอ้าย ศึกษานิเทศก์ ศธจ.เชียงใหม่
กราฟิกดีไซน์เนอร์:
เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
DE ยกระดับคุณภาพ! เพิ่มความสามารถอ่านออกเขียนได้ และยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ของโรงเรียนบ้านบึงมะลู ด้วยการมีส่วนร่วมทั้งภายในและนอกโรงเรียนแบบสอบถาม กระบวนการจัดการเรียนรู้โครงการวิจัยและพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เพื่อรองรับการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
บทความล่าสุด