การปฏิรูปการศึกษามีความพยายามอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มี พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากที่ควร ระบบโครงสร้างการรวมศูนย์ นโยบายจากส่วนกลางลงสู่ข้างล่าง ระเบียบกฎเกณฑ์ กฎกระทรวง ยังยึดโยงสร้างระบบการศึกษาที่ล่าช้าติดกรอบ องค์กรไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงยุคศตวรรษท่ี 21 นวัคกรรมการศึกษาจนมีผลต่อทรัพยากรมนุษย์ในด้านคุณภาพการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ในทุกสาขาวิชา การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นทำได้ยากยิ่ง เพราะทักษะการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไม่ดีเท่าที่ควร และอื่น ๆ แม้จะมีความต้องการความจำเป็น กระแสการเคลื่อนไหวต่อปัญหา วิกฤตการณ์ของประเทศทุกครั้ง มักลงเอยที่ต้องปฏิรูปการศึกษาโดยเร่งด่วน แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิม ย่ำอยู่กับท่ี การศึกษาไทยยากย่ิงจะทำให้ดีย่ิงขึ้นได้
ในปี พ.ศ. 2562 ได้มี พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เกิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ทดลองนวัตกรรม (Sandbox) ในแต่ละจังหวัดที่ ดำเนินการได้ด้วยตนเอง มีอิสระตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ระบบงานประเมินที่แตกต่างเกิดกลไกขับเคลื่อนจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ครูกลับทำหน้าที่ของตนเอง เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ชุมชนเป็นฐาน อื่น ๆ เป็นการกระจายอำนาจแบบมีส่วนร่วมและรับผิดชอบโครงสร้างสู่บน เด็ก ครู โรงเรียน ชุมชน เป็นห้องเรียนแบบเปิด นวัตกรรมอีกมากมาย สุดท้าย ผลการดำเนินการในเวลา 1 ปี 6 เดือนของจังหวัดสตูล ได้สร้างบทเรียนสำคัญของก้าวย่างปฏิรูปการศึกษาด้วยก้าวเล็ก ๆ ที่มั่นคง ดูยั่งยืน เป็นทางเลือกทางออกได้อย่างกล้าหาญ น่าชื่นชมยิ่ง
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบกลไก และแนวโน้มผลกระทบของนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด สตูล ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อนการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครศุาสตร์ จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีส่วนสำคัญต่อการริเริ่มช่วยเหลือ และสนับสนุนงานวิชาการ การวิจัยภาคสนาม จนสามารถผลิตแนวคิดสำคัญได้อีกครั้งหนึ่งและนำมาสู่ข้อมูล วาระการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดียิ่ง
เขียนโดย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ, ผศ.ดร.กีรติ คุวสานนท์, อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน และหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอบคุณข้อมูลดี จาก facebook ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน CYD
Download หนังสือ Sandbox สตูล นวัตกรรมปฏิรูปการศึกษา ได้ที่นี่
http://www.cydcenter.com/Sandbox-สตูล-นวัตกรรมปฏิรูปการศึกษา1.pdf
ผู้เขียน: ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ, ผศ.ดร.กีรติ คุวสานนท์, อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน และหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อรสุมน ศานติวงศ์สกุล
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์