ศึกษานิเทศก์ สพป.ศก.2 ทุ่มแรงกาย-ใจ ลงพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนการศึกษา
บทสัมภาษณ์ นางอัมราภัสร์ จันทะแสงโรจน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ที่เก่งอีกหนึ่งท่าน ท่านมีความตั้งใจในการทำงาน ทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ลงพื้นที่ติดตามโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโรงเรียนนำร่องทั้งหมด 115 โรงเรียน จาก 4 เขตพื้นที่ รวมทั้งองค์กรเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการศึกษาของโรงเรียนนำร่องเน้นการจัดการศึกษาแบบ Active Learning ซึ่งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษมีทั้งหมด 8 นวัตกรรม ได้แก่
- นวัตกรรมการจัดการศึกษาเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ PBL และ PLC
- นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
- นวัตกรรมมอนเตสเซอรี
- นวัตกรรมจัดการความรู้แบบองค์รวม
- นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (lesson study) และวิธีการแบบเปิด (open approach)
- นวัตกรรมเพาะพันธุ์ปัญญา
- นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach)
- นวัตกรรมการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (SMT)
ซึ่งท่านศึกษานิเทศก์ท่านได้รับผิดชอบดูแล นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL โดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพี่เลี้ยง คือนางสาวฉัตรียา เลิศวิชา โดยมีโรงเรียนนำร่องใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL จำนวน 25 โรงเรียน
หลักการทำงาน
ท่านได้ส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม ลงพื้นที่ ให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนโดยยึดหลักกัลยาณมิตร
วิธีการทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ร่วมกับคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์
แรงบันดาลใจในการร่วมงานกับโรงเรียนขับเคลื่อนร่วมเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ซึ่งแรงบันดาลใจในการร่วมงานกับโรงเรียนขับเคลื่อนร่วมเป็นพื้นที่นวัตกรรมคือผลสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรม
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
แต่ก็ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการทำงานไม่ว่าจะในด้าน งบประมาณ แนวทางบริหารจัดการ ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้ในส่วนนี้คือ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนขึ้น
ผลที่เกิดกับโรงเรียน ต่อครู นักเรียนและชุมชนคือ
- โรงเรียนได้รับการพัฒนาปรับปรุงบริบทที่เอื้อต่อการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษากับชุมชน
- ชุมชนให้การยอมรับและให้การร่วมมือ
- ครูได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมที่เลือกใช้และเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล
- นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการ Active Learning
- ทำให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาของตนเอง เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
สิ่งที่ท่านศึกษานิเทศก์อยากจะทำหรือเป้าหมายที่อยากจะให้เกิดขึ้นในพื้นที่นวัตกรรม คือ
- อยากให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมโดยสอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษา
- ผู้บริหารเกิดความตระหนักมีวิสัยทัศน์และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน มีการเชื่อมประสานระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
- นักเรียนมีคุณลักษณะตาม DOE ของจังหวัด
รู้สึกอย่างไรกับคำว่าโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ท่านให้ข้อมูลว่าโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนในพื้นนวัตกรรม ทุกนวัตกรรมสามารถพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับ DOE ของจังหวัดได้ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามหลักสูตร
จากการสัมภาษณ์ นางอัมราภัสร์ จันทะแสงโรจน์ ผู้เขียนได้มุมมองและแนวคิดว่า ความเป็นอิสระของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ทำให้โรงเรียนแต่ละโรงเรียนสามารถใช้นวัตกรรมและปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่งนำมาสู่ตัวผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแก้ปัญหาได้และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน และผู้เขียนหวังว่าโรงเรียนนำร่องในจังหวัดศรีสะเกษจะเป็นโรงเรียนต้นแบบให้กับทุกๆโรงเรียนในประเทศต่อไป
รูปกิจกรรม ลงพื้นที่ นิเทศ ติดตาม
โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน: กนกพร บุญแซม
ผู้ให้สัมภาษณ์: อัมราภัสร์ จันทะแสงโรจน์ ศึกษานิเทศก์ สพป.ศก.2
ผู้เขียน/เรียบเรียง: กนกพร บุญแซม
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประะกอบ: อัมราภัสร์ จันทะแสงโรจน์