"ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง" เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันของโรงเรียนวัดสุขไพรวัน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดระยอง

21 กันยายน 2021

เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันโรงเรียนวัดสุขไพรวัน

ตั้งอยู่เลขที่ 38/2 หมู่ที่ 3 ตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ จำนวน 12 ไร่  48  ตารางวา  เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล 1  – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนจำนวน  751  คน ข้าราชการครู  จำนวน  39  คน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 6 คน เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลและเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดระยอง

นำบริบทของโรงเรียนสู่การเพาะปลูกต้นอ่อนทานตะวัน

รียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันโรงเรียนวัดสุขไพรวัน ซึ่งครูคมศักดิ์  จันทร์ขิ่น เปิดเผยว่า จากบริบทของโรงเรียนสู่ school concept “Junior farm & Marketing” โรงเรียนวัดสุขไพรวัน มุ่งเน้นการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรและการเป็นผู้ประกอบการอันจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต พบว่าการเรียนรู้ปกติในห้องเรียนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ จึงได้มีการจัดหน่วยบูรณาการขึ้นในแต่ละช่วงชั้นประกอบไปด้วยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้เรียนในแต่ละวัย และองค์ความรู้ที่จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  

การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม school concept ของโรงเรียน จำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องจัดสิ่งแวดล้อมและปรับหลักสูตรของโรงเรียนให้ตอบสนองต่อบริบทของโรงเรียน การจัดทำหน่วยบูรณาการ Junior farm & Marketing ในแต่ละช่วงชั้น มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ลงมือปฏิบัติทางด้านการเพาะปลูก การออกแบบและการจำหน่าย ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง มีความรู้ ทักษะในการทำงาน เจตคติที่ดีในการทำงาน สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นการปลูกต้นอ่อนพืช ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้ทำในช่วงปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา และจะดำเนินต่อไปในปีการศึกษา 2564 นี้

เป้าหมายการเรียนรู้ในครั้งนี้ 
  • รู้จักเมล็ดพันธุ์พืช
  • รู้จักขั้นตอน วิธีการ และลงมือเพาะปลูกได้
  • สามารถดูแลต้นอ่อนจนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้
  • คิดคำนวณต้นทุนการผลิตก่อนออกจำหน่ายได้ 
  • เก็บเกี่ยวและคัดแยกต้นอ่อนที่มีคุณภาพก่อนออกจำหน่าย
  • สร้าง brand เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าได้

โดยมี Concept ของโรงเรียน คือ ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง

เริ่มวิธีการปลูกอย่างไรกันบ้าง 

  1. นำเมล็ดแช่น้ำ 4 – 6 ชั่วโมง ระหว่างแช่จะมีฟองกาศซึ่งเกิดจากน้ำเข้าไปในเมล้ด หลังจากนั้น เทน้ำออก
  2. นำเมล็ดบ่มในผ้าขนหนู ประมาณ 18 – 20 ชั่วโมง
  3. โรยเมล็ดลงดิน โดยไม่ให้หนา หรือ บางจนเกินไป
  4. โรยดินกลบบางๆ และรดน้ำพอชุ่ม
  5. นำถาดมาซ้อนกันประมาณ 1 คืน หลังจากนั้นให้นำถาดออกมารดน้ำตามปกติ วันละ 2 ครั้ง เช้า -เย็น
  6. เข้าสู่วันที่ 4 รดน้ำบางๆ เพื่อให้ดินหลุดจากใบ สามารถเริ่มเก็บเมล็ดที่ติดใบออกได้ รดน้ำเช้า – เย็น
  7. เก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำออกจำหน่าย

1.  เตรียมเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์ก่อนปลูก

เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันของโรงเรียนวัดสุขไพรวัน "ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง"   เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันของโรงเรียนวัดสุขไพรวัน "ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง"

เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันของโรงเรียนวัดสุขไพรวัน "ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง"   เรียนรู้โลกต้นอ่อนของทานตะวันของโรงเรียนวัดสุขไพรวัน "ปลูกได้ ขายเป็น เน้นพอเพียง"

2.  ลงมือปลูก

   

   

3.  ดูแลผลผลิต

   

4. เก็บเกี่ยวผลผลิต

   

   

5.   ออกจำหน่าย

   

   

ปัญหาจากการปลูกต้นอ่อน

ครูอุ่นเรือน พุทธเวช กล่าวถึงว่า ปัญหาช่วงแรก ๆ คือ ทั้งครูและนักเรียน ยังไม่สามารถที่จะทำได้แล้วได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ยังเป็นช่วงของการลองผิด ลองถูก  ตอนเริ่มเพาะครั้งแรก ปัญหาที่พบ คือ ใบของต้นอ่อนทานตะวันมีสีเขียวเข้มจนเกินไป รสชาติมีกลิ่นเหม็นเขียว ดินที่ไม่มีคุณภาพทำให้ต้นอ่อนเน่า และอุปกรณ์ที่ใช้เพาะปลูกยังไม่เหมาะสม จึงได้ช่วยกันหาวิธีแก้ไข หาสาเหตุของปัญหาโดยการศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จากเครือข่ายที่ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน และนำมาปรับปรุงใช้จนได้คุณภาพของต้นอ่อนอย่างที่เราต้องการ ซึ่งจะมีช่วงพักการปลูกอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นพืชระยะสั้น ใช้เวลาปลูก 5 – 7 วัน เพื่อไม่ให้ออกจำหน่ายติดกันเกินไป 

ข้อค้นพบของคุณครูจากการพานักเรียนลงมือทำ

ครูอุ่นเรือน  พุทธเวช กล่าวว่า ได้เห็นเด็กๆ จากหลาย ๆ ครอบครัวที่ไม่เคยได้สัมผัสกิจกรรมที่ต้องทำรวมกันเป็นกลุ่มคณะ เป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับนักเรียน และเด็กบางคนทางบ้านจะมีการพาทำการเกษตรแบบนี้ พาเด็กกินผัก คือส่วนใหญ่เด็กจะกินผักไม่ค่อยเป็น แต่พอมาได้ลองทำกิจกรรมตรงนี้ คือเด็กได้เห็นตั้งแต่เมล็ดงอกขึ้นมา ได้ทำการรดน้ำ ได้บำรุง ได้มาตัดมาล้าง มาแพ็คต้นอ่อนใส่ถุงเพื่อจำหน่ายและได้ออกไปขายให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง แล้วพอทำได้แววตาของเด็กจะดูมีความสุข และได้ต่อยอดโดยพาเด็กกลุ่มที่ไม่กินผักได้มาทำกิจกรรมตรงนี้ เพื่อให้เด็กเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาปลูกว่ามีประโยชน์และสามารถกินได้  โดยทำเมนูง่าย ๆ เช่น ไข่เจียวต้นอ่อนทานตะวัน ทำให้เด็กรู้สึกว่าจากที่ไม่เคยกิน ไม่เคยสัมผัส พอได้กินเข้าไป เด็กก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ต่อไปหนูจะกินผัก หนูจะกินผักให้มากขึ้น หนูรู้ว่ามีประโยชน์และก็อร่อย”   มีเด็กบางคนได้นำทักษะตรงนี้ไปปลูกให้ผู้ปกครองดูที่บ้าน เช่น ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน และผู้ปกครองได้มีเสียงสะท้อนกลับมาให้ครูฟังว่า กิจกรรมนี้ดีมากๆ เพราะทำให้เห็นลูก เห็นหลานเอากิจกรรมตรงนี้ไปทำต่อ จากที่ไม่เคยคิดจะทำอะไร กลับบ้านไปเล่นแต่โทรศัพท์ เขาก็ไปหาเมล็ดพันธุ์ที่เขาจะปลูก มาดูแลจนสามารถกินได้ 

นายคมศักดิ์  จันทร์ขิ่น กล่าวว่า นักเรียนมีความสุข และสนุกกับการเพาะเมล็ดพืชผักในท้องถิ่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รู้จักสังเกต คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วนำมาจำหน่ายสร้างรายได้เป็นการสร้างทางเลือกอาชีพได้ในอนาคต และเข้าใจการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีความสุขในสังคม

จากการสัมภาษณ์  ผู้เขียนมีความเห็นว่า 

สิ่งต่างๆที่ผ่านการลงมือทำ ผ่านการเคลื่อนไหวจากทางร่างกาย ได้ใช้สมอง ใช้ใจ ในการตั้งใจลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและตนเอง สิ่งนั้นย่อมมีคุณค่า มีความหมายต่อความรู้สึกของเราเองเป็นอย่างยิ่ง เพราะผ่านการลงมือทำ การตั้งใจของเราเอง ยกตัวอย่างเช่น การลงมือปรุงอาหารมื้อนั้นด้วยมือของเรา ทำให้พบว่า รสชาติของอาหารถึงแม้จะไม่อร่อยเท่าซื้อมาจากข้างนอก แต่เรากลับกินอาหารจานนั้นด้วยความสุข และรู้คุณค่าของวัตถุดิบที่ใช้ประกอบเป็นอาหารจานนั้นขึ้นมา ทำให้กินจนหมด ไม่กินทิ้ง กินขว้าง และที่สำคัญมั่นใจได้ว่า สะอาด ปลอดภัย

ติดตามความเคลื่อนไหวผ่าน Facebook
เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม Facebook
หน้าแรก

ผู้เขียน : ปราชญาพร   แช่ใจ   
ผู้ให้สัมภาษณ์ : อุ่นเรือน  พุทธเวช  , คมศักดิ์  จันทร์ขิ่น   ครูโรงเรียนวัดสุขไพรวัน
ผู้สัมภาษณ์ : ปราชญาพร   แช่ใจ  
กราฟิกดีไซน์เนอร์:
 อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ
ภาพประกอบ: โรงเรียนวัดสุขไพรวัน

Facebook Comments
สบน. ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมการเรียนรู้ ในหัวข้อ “ปรับหลักสูตรการศึกษาอย่างไร ให้ตอบโจทย์สังคมไทย สังคมโลก” เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันที่ 24 กันยายน 2564 เวลา 13.00 – 15.00 น.ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นำทัพเดินหน้าขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเชิงนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2564
บทความล่าสุด