เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำหนดจัดประชุม ครั้งที่ 2/2564 โดยมีกรรมการเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เช่น น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะรองประธานกรรมการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการ มีกรรมการจากสำนักงานปลัดกระทรวงต่าง ๆ เช่น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งจากผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ สบน. ในฐานะรับผิดชอบงานเลขานุการและงานวิชาการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รวบรวมเอกสารและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และนำเสนอ (ร่าง) ประกาศ และข้อเสนอให้ที่ประชุมร่วมพิจารณา ดังต่อไปนี้
เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
ในการดำเนินการงานตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา (ตั้งแต่ประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ. เมื่อวัน 1 พ.ค. 62) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความก้าวหน้าดังต่อไปนี้
1. จากเป้าหมายตามแผนปฏิรูปการศึกษาระยะสั้น (ภายในปี 64) ระบุว่าให้มีนโยบายและกฎระเบียบที่คล่องตัวและเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และการบริหารสถานศึกษา อีกทั้งให้มีหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์และความต้องการของชุมชนและพื้นที่ ซึ่งได้มีการดำเนินการการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 8 จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่เป้าหมาย โดยเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่ให้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและวัดประเมินผลการศึกษาได้เอง โดยกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่สนับสนุนในเรื่องการกระจายอำนาจและให้ความอิสระแก่พื้นที่และสถานศึกษานำร่อง อีกทั้ง สพฐ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้จัดทำกฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้ความเห็นชอบ
การดำเนินการที่ผ่านมา ดูรายละเอียดลิงก์ด้านล่างนี้
การจัดทํา/คัดเลือก/จัดหา/ใช้ตํารา/สื่อการเรียนการสอน ความอิสระในการเลือกใช้หลักสูตร เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ปี พ.ศ. 2564 – 2569
ระเบียบ/ประกาศ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การเทียบโอนผลการเรียน การรับและการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค
2. การวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ซึ่งขณะนี้มีสถานศึกษานำร่องที่ยืนยันเข้าร่วมโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 265 โรงเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ย. 64) แบ่งออกเป็น โรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 226 โรงเรียน สังกัด สช. จำนวน 17 โรงเรียน และ สังกัด อปท. จำนวน 22 โรงเรียน ( ดูรายละเอียดคลิกลิงก์นี้ )
ซึ่ง รศ.ทิศนา แขมมณี ประธานอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้ได้จัดทำ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช … ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้น ป.1 – ป.3) และคู่มือการใช้เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดตามภาพ
ในการวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้มีกำหนดวัตถุประสงค์ คือ
3. ผลการจัดเสวนา “ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้” บทเรียนจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ระยอง และสตูล เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของกรณีศึกษา 3 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (ศรีสะเกษ ระยอง สตูล)
รับชมย้อนหลังบทเรียน กรณีศึกษาจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ รับชมย้อนหลังบทเรียน กรณี ศึกษาจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง รับชมย้อนหลังบทเรียน กรณี ศึกษาจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
4. ผลการดำเนินงานด้านวิชาการของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด
เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
การประชุมวันนี้ได้มีการพิจารณา (ร่าง) ประกาศ/ข้อเสนอ จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
1. (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. …
เพื่อให้มีการประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยสาระสำคัญ คือ จะมีการแต่งตั้งผู้ประเมินอิสระเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุก 3 ปี โดยใช้กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา DE เพื่อพัฒนาสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน และมีอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในกรณีที่คณะผู้ประเมินอิสระเห็นว่าผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 ได้ ให้คณะผู้ประเมินอิสระเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายให้มีการยุบเลิกพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นั้นได้ ทั้งนี้การประเมินยังคงวัตถุประสงค์ คือเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประเมิน 5 ประการดังนี้ (1) เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา การบริหารจัดการในด้านการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง และการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางและปรับปรุงการดำเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (3) เพื่อถอดบทเรียนในการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทั้งบทเรียนในการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง และบทเรียนในการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่ละพื้นที่ (4) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (5) เพื่อขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน
2. (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายดำเนินงานในการจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาให้แก่สถานศึกษานำร่อง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. …
เพื่อให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายดำเนินการในการจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาให้แก่สถานศึกษานำร่อง สังกัด สพฐ. ซึ่งประธานคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารงบประมาณในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้นำเสนอที่มาของร่างประกาศ โดยเน้นย้ำที่จะพยายามทำให้สูตรจัดสรรเงินครั้งนี้ ให้ดูเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนแต่ให้ครอบคลุมตัวแปรที่หลากหลาย มุ่งให้เกิดการจัดสรรที่ลดความเหลื่อมล้ำในด้านงบประมาณ เช่น ตัวแปรด้านภูมิศาสตร์ ด้านขนาดโรงเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ประธานในที่ประชุม ยังได้ขอให้ดูคำนิยามของถ้อยคำต่าง ๆ ให้ถูกต้องชัดเจน ตามที่ประชุมได้เสนอมา โดยเฉพาะคำว่าเงินอุดหนุนทั่วไป ขอบเขตการใช้จ่ายจะได้ขนาดไหน เป็นอย่างไร ขอให้ทำให้ชัดเจนเพื่อลดหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาในอนาคต อย่างเช่น กรณีที่เคยมีปรากฏให้เห็นเป็นกรณีศึกษามาแล้ว ในวาระนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการสูตรจัดสรรฯ ตามที่ฝ่ายเลขาได้นำเสนอ ซึ่งหากสูตรจัดสรรนี้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ ก็จะช่วยให้สถานศึกษาได้มีงบประมาณรายหัวมากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การขยายผลในเชิงนโยบายและนำไปใช้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นต่อไป
3. (ร่าง) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อ ก.ค.ศ.
เพื่อให้มีการพิจารณาออกกฎ ก.ค.ศ. หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขสำหรับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความเหมาะสมกับการบริหารงานของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในการตั้ง อ.ก.ค.ศ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำร่อง สำหรับ ตัวอย่างเช่น ภาค ค. ให้คณะกรรมการประเมินจากคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาหรือที่แต่งตั้ง ตัวอย่าง เช่น การกันอัตราครูจากนักเรียนที่รับกองทุนต่าง ๆ หรือจากครูในพื้นที่เพื่อป้องกันการย้ายกลับภูมิลำเนา และ ให้มีคณะกรรมการประเมินจากคณะกรรมการขับเคลื่อนหรือที่แต่งตั้งด้วย
ก่อนปิดการประชุมประธานในที่ประชุมได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะขอนัดหมายประชุมคราวต่อไปเร็วขึ้นกว่ารอบการประชุมปกติ เพื่อติดตามงานและพิจารณางานที่มอบหมาย ซึ่งจะช่วยให้การเดินหน้าขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อได้ไม่สะดุด ที่ประชุมรับทราบและยินดี
ผู้เขียน:อิศรา โสทธิสงค์กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, อิศรา โสทธิสงค์ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์