กระบวนการปรับ Mindset และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สพม.เชียงใหม่

24 มีนาคม 2022
กระบวนการปรับ Mindset
และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ในพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สพม.ชม

ข้าพเจ้านางสาวเกษราภรณ์ สิงห์คะมณี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เมื่อได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาและโดยการดูแลช่วยเหลือแนะนำ จาก ดร.สุทธิดล พุทธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ให้รับผิดชอบโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้ารู้สึกมีแรงผลักดัน และกดดันพอสมควร ด้วยที่ผ่านมาการจัดการศึกษาจะถูกสั่งการ Top Down แต่เมื่อโรงเรียนที่เข้าโครงการ ฯ จะต้องกำหนดเป้าหมายจากผู้เรียนเป็นสำคัญ Bottom Up โดยเฉพาะโรงเรียนที่จัดการศึกษามัธยมเป็นสิ่งที่ต้องการมาก แต่จะทำเช่นไร เพราะโรงเรียนยังมีความเคยชินกับการทำงานที่รอสั่งการ หรือทำตามขั้นตอนระบบที่กระทรวงกำหนด

ทั้งนี้ ข้าพเจ้าผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ จึงจำเป็นต้องศึกษา พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรม พ.ศ. 2562 อย่างชัดเจน และข้าพเจ้ายังได้รับแต่งตั้งเป็นคณะอนุวิชาการ ฯ และคณะกลั่นกรองหลักสูตรสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ข้าพเจ้ายิ่งต้องพัฒนาตนเองหาความรู้ จากผู้รู้ และสร้างภาคีเครือข่ายในการช่วยเหลือโรงเรียน ไม่ใช่เฉพาะโรงเรียนในสังกัดที่ดูแล จำนวน 9 โรงเรียนเท่านั้น ข้าพเจ้าในฐานะคนเชียงใหม่ต้องช่วยเหลือโรงเรียนทั้งหมดที่เข้าโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 104 โรงเรียน

สิ่งที่ข้าพเจ้ายึดมั่นในหลักการทำงานเสมอ คือ ทุกโรงเรียนมีต้นทุนของโรงเรียน เราในบทบาทศึกษานิเทศก์ต้องช่วยเหลือโรงเรียนให้ค้นพบตัวเอง ทั้งปัจจัยเด่น ปัจจัยที่ต้องการพัฒนา และความท้าท้าย ภาพอนาคตที่ต้องการให้เกิด เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Goal School) ทั้งโรงเรียน ภารกิจโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนจึงไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องร่วมคิด ร่วมทำ ในที่นี้ความยาก คือ การที่ทุกคนร่วมใจเปิด Mind Set ที่จะทำงานร่วมกัน และคำนึงถึงผู้เรียน เพราะการที่ครูถูกตีกรอบด้วย Content Curriculum ยึดติดเนื้อหา ตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางฯ และการจัดโครงสร้างเวลาเรียนตามอัตรากำลังครู การปรับทัศนคติครูจึงต้องทำเป็นดับแรก ก่อนจะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

การที่ข้าพเจ้า เข้าร่วมพัฒนาโรงเรียนทั้ง ด้านหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล และด้านประกัน ในคนเดียว ทำให้มองภาพโรงเรียนได้ตลอดแนว แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ทำงานโดยลำพัง ข้าพเจ้าสร้างทีมพี่เลี้ยง สพม. เชียงใหม่ ซึ่งต้องเข้าใจภารกิจ และเข้าใจพี่เลี้ยงนวัตกรรมอื่น ๆ ที่โรงเรียนมีเครือข่าย ให้ทิศทางการทำงานราบรื่น และเป็นกัลยาณมิตร ทำงานร่วมกัน ไม่ทำให้โรงเรียนอึดอัดที่มีพี่เลี้ยงมาก อีกทั้งการนิเทศติดตาม อยู่เสมอจะช่วยให้โรงเรียนสร้างระบบนิเทศภายใน และสร้างชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ ที่เข้มของโรงเรียน

โดยขอสรุปแนวทางการในการจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้

จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายเป็นนครแห่งความหลากหลายทางภูมศาสตร์ เศรษฐกิจ ประชาสังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา จากความหลากหลายและเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้มีปัญหาทางการศึกษามากมาย จำเป็นต้องมีกระบวนการแก้ไขหรือพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้หลักการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำในกระบวนการนี้  (SDGs development goals) เราจึงนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายให้มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น มีแนวทางการพัฒนาและการดำเนินการโดยการร่วมมือระหว่างคณะกรรมการระดับนโยบาย เพื่อสนับสนุนการแก้ไขข้อปัญหาในระบบกับกรรมการขับเคลื่อน ร่วมกับกรรมการเครือข่าย
ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ให้บรรลุเป้าหมาย ภายใต้ พรบ.พื้นที่นวัตกรรม 2562  คือ 1) เพิ่มผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศในการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด 4) ความร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และประชาสังคมในการจัดการศึกษา มีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจ นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ตาม พรบ.พื้นที่นวัตกรรม และคณะกรรมการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยประชุมชี้แจงแต่ละสหวิทยาเขตกลุ่มดอยประกอบด้วย ผู้บริหาร รองผู้อำนวยการ ครู
  3. เชิญชวนสมัครเข้าโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยชี้แจงเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเชียงใหม่ในวันประชุมผู้บริหารโรงเรียน
  4. จัดทำหนังสือราชการแจ้งสมัครเข้าร่วมโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบฟอร์มการสมัคร คุณสมบัติตามเกณฑ์การสมัครตามที่ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้กำหนด
  5. คัดเลือกโรงเรียนตามเกณฑ์ มีโรงเรียนสนใจ และที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกระดับสำนักงานเขตพื้นที่
  6. ประชุมคณะทำงาน ตามประกาศคณะทำงานขันเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ระดับหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อรับทราบบทบาท และการขับเคลื่อนตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
    ในระยะเวลา 7 ปี
  7. ประชุมโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเสนอนวัตกรรมการศึกษา และร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.สมเกียรติ อินทสิงห์ ตำแหน่ง รองคณบดี งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  8. อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยวิทยากร รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี และจากหน่วยงานอื่นที่จัดอบรม ฯ
  9. นิเทศติดตาม โดยใช้รูปแบบการนิเทศ Design Place -Based Supervision และสร้างทีมพี่เลี้ยง สพม. เชียงใหม่
  10. สรุปผลการดำเนินงานและสะท้อนผล สู่การขันเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีกระบวนการนิเทศการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการนิเทศ (Design Place -Based  Supervision)” เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ดังนี้

  • กระบวนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ โดยผู้นิเทศใช้แนวคิดนิเทศพัฒนาการหนุนเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

  • กระบวนการปรับ Mind set และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนในโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

 

  1. การนิเทศโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ศึกษาการใช้ข้อมูลสารสนเทศ รอบด้านจากการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลในการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างสอดคล้องกับ ปัญหา ความต้องการ และบริบทของสถานศึกษา
  2. การประเมินผล (Assessment) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินการทำงานก่อน (Need Assessment) ของสถานศึกษา ประเมินระหว่าง และประเมินหลังการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามภารกิจ/วัตถุประสงค์ โดยมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่แสดงผลการดำเนินงานที่บรรลุ และสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุง พัฒนางานนิเทศให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
  3. การใช้เทคโนโลยี (Technology) ศึกษาและนำเทคโนโลยี ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการนิเทศ เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์ และรายงานผลข้อมูลสารสนเทศ Data studio เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อประเมินผล Google Sheet เช่น การใช้เทคโนโลยีในการนิเทศทางไกล Facebook/Line/Meet/Zoom/ Skye เป็นต้น ให้เกิดการนิเทศได้สะดวก ทุกสถานที่ ทุกเวลา และสะท้อนผลการนิเทศ แบบ Real Time
  4. การนิเทศแบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการนิเทศการสอนที่ผู้นิเทศและครูร่วมกันคิดหาทางแก้ปัญหาโดยปฏิบัติงานร่วมกันตลอดกระบวนการ และเปิดโอกาสให้ครูได้เลือกวิธีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งผู้นิเทศและครูทำความเข้าใจในปัญหาให้ตรงกัน และมีข้อตกลงร่วมกัน (Collaborative Supervision ) ซึ่งผู้นิเทศต้องศึกษาสภาพผู้รับการนิเทศที่เหมาะสม จึงเลือกใช้เทคนิคแบบร่วมมือ
  5. การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เทคนิคการนิเทศโดยใช้กระบวนการพัฒนาช่วยเหลือครูปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และตรงตามความต้องการของครู โดยการสังเกตพฤติกรรมการสอนแบบตัวต่อตัวอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของผู้รับการนิเทศ ซึ่งผู้นิเทศต้องศึกษาสภาพผู้รับการนิเทศที่เหมาะสม จึงเลือกใช้เทคนิคแบบคลินิก
  6. การนิเทศโดยใช้เทคนิคการสอนงาน (Coaching) เทคนิคการนิเทศที่เน้นการชี้แนะเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศให้สูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของผู้รับการนิเทศ ซึ่งผู้นิเทศต้องศึกษาสภาพผู้รับการนิเทศที่เหมาะสม จึงเลือกใช้เทคนิคแบบการสอนงาน
  7. การนิเทศโดยใช้เทคนิคการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) เทคนิคการนิเทศการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของผู้รับการนิเทศ
    ซึ่งผู้นิเทศต้องศึกษาสภาพผู้รับการนิเทศที่เหมาะสม จึงเลือกใช้เทคนิคแบบการเป็นพี่เลี้ยง

 

  • ในปีการศึกษา 2563 จึงมีโรงเรียนสมัครเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 9 โรงเรียน
โรงเรียน นวัตกรรม
1. โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ สู่การประกอบสัมมาชีพด้วยกระบวนการ SMART Q Model
2. โรงเรียนแม่แจ่ม การจัดการศึกษาสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยโมเดล I tri “P” MC Model: ทางเดินสายวัฒนธรรมแม่แจ่ม
3. โรงเรียนแม่แตง การจัดการเรียนรู้ชีวิตบนฐานสมรรถนะในศตวรรษที่ 21
4. โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม แม่ริม ดารา โมเดล MAERIM DARA MODEL
5. โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม ดอยเต่าโมเดล DOITAO Model
6. โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ ยลยินถิ่นฝาง
7. โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาฯ กัลยาณิวัฒนาสร้างสุข ด้วย Active Learning ภายใต้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่
8. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence Learning)
9. โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนสีเขียวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ Sanpatong Smart Life Learning Management for Green Classroom to Knowledge – based Society Sanpatong Smart Life

 

  • ในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีทีมพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมโรงเรียนในโครงการ ฯ

  • การปรับ Mind set พี่เลี้ยง
  • สร้างความเข้าใจโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • พัฒนาตนเอง อบรม ให้เข้าใจภารกิจการหนุนเสริมของเขตพื้นที่

ภาพกิจกรรม
  • อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

  • นิเทศติดตามโรงเรียนทั้ง onsite และ online

 

  • แผนผังการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์

 

 

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
   
   


ผู้สัมภาษณ์ : มาศชฎา จันทราทิพย์


ผู้ให้สัมภาษณ์: นายสุทธิดล พุทธรักษ์ ผอ.สพม.ชม และ น.ส.เกษราภรณ์ สิงห์คะมณี ศึกษานิเทศก์ สพม.ชม
ผู้เขียน/เรียบเรียง: มาศชฎา จันทราทิพย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์:
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
TKFORUM2022 – Learning City and Lifelong Learning Ecosystemรวมพลังเดินหน้า จัดทำข้อเสนอปลดล็อกการบริหารงานบุคคลฯ
บทความล่าสุด