ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะผู้ประเมินอิสระ ประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2565

2 กันยายน 2022
ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เรื่อง แต่งตั้งคณะผู้ประเมินอิสระ ประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการ
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
พ.ศ. 2565

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นพื้นที่ทดลองนำร่องการวิจัยปฏิบัติการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา มุ่งให้เกิดการขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีที่สามารถนำไปใช้กับสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานอื่นไค้ และได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การตราเป็นพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 โดยมีสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้งสิ้น 8 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง จังหวัดสตูล จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดปัตตานีจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส

มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามมาตรา 15 (4) ทุกสามปี โดยคณะผู้ประเมินอิสระ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่งตั้ง และให้จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการชุดดังกล่าว การประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจาก เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแล้ว การดำเนินการตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมใด ๆ ต้องมีการประเมินผลความสำเร็จ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้แก่ การปรับปรุง ดำเนินการต่อไป หรือยุบเลิก แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 15 (4) และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และตามเหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานข้างต้น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดจ้างและคัดเลือกคณะผู้ประเมินอิสระเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่งตั้ง เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่อการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในการยกระดับผสสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาการบริหารจัดการในด้านการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องและการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • เพื่อถอดบทเรียนในการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทั้งบทเรียนในการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง และบทเรียนในการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
    แต่ละพื้นที่

บัดนี้ ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (นายวิษณุ เครืองาม) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประกอบกับมติคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จึงแต่งตั้งให้ “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” เป็นคณะผู้ประเมินอิสระในการประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ลงนามในประกาศ ตั้งแต่ วันที่ 2 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป (เรื่องเดิม ประกาศหลักเกณฑ์การประเมินฯ คลิก)

 

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ประกาศฉบับเต็

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 



ผู้เขียน:
อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, อิศรา โสทธิสงค์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย

Facebook Comments
บันทึกร่องรอยการเดินทางลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้ EP.3 จังหวัดกาญจนบุรี ลงพื้นที่ “เรียนรู้” จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสรุป ความรู้และบทเรียน เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากการปฐมนิเทศฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565
บทความล่าสุด