สร้างความเข้าใจนโยบายและแผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 10 จังหวัด

3 กรกฎาคม 2024
สร้างความเข้าใจนโยบายและแผน
การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 10 จังหวัด

วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้เป็นประธานการประชุมฯ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเน้นย้ำนโยบายการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พร้อมทั้งมอบหมายภารกิจให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตนไปดำเนินการขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส บุรีรัมย์ และภูเก็ต โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน อาทิ ผอ.สพท. 40 เขต ผอ.สถานศึกษานำร่อง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ภารกิจสำคัญที่ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้มอบหมายให้กับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 10 พื้นที่ไปดำเนินการ มี 2 ประเด็น ดังนี้

  1. ให้ 8 จังหวัดเดิม (กาญจนบุรี เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) สรุปผลการดำเนินงาน ประสบการณ์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ จุดเด่น/จุดด้อย ข้อบกพร่อง ฯลฯ
  2. จัดอันดับความพร้อมของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นรายเขต โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และศึกษานิเทศก์/ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจะมีการประชุมสังเคราะห์ข้อมูลเป็นรายจังหวัด เพื่อลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานต่อไป

หลังจากนั้น ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวถึงรูปแบบการดำเนินงาน 3 ข้อ คือ “1. เราจะไม่ว่ากัน 2. เราจะให้กำลังใจกัน และ 3. มีอะไรบอกเรา” หากทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษานำร่องพบเจอปัญหาและอุปสรรค หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถบอกกล่าวกันได้ ทั้งนี้ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวให้กำลังใจกับผู้เข้าร่วมประชุม และเน้นย้ำนโยบายการทำงานจากพลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด ทำดี ทำได้ ทำทันที จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”

ต่อมานายพิทักษ์ โสตถยาคม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ โดยมีทั้งหมด 6 ประเด็น ดังนี้

  1. ไฮไลท์สำคัญของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. การสนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  3. การจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
  4. การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  5. การเข้าร่วม/ออกจากการเป็นสถานศึกษานำร่อง
  6. การประเมินสมรรถนะการบริหารสถานศึกษาของผู้อำนวยการสถานศึกษา (+ผอ.สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)

การติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุน

ในช่วงสุดท้ายของการประชุม นายเก ประเสริฐสังข์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้อธิบายถึงระบบการติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ผ่านระบบ https://egm.edusandbox.com เพื่อติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของทางสถานศึกษานำร่อง ซึ่งเป็นจะเป็นการนำเข้าข้อมูลเพียงครั้งเดียว แต่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับโรงเรียน จะสามารถมองเห็นเรียนรู้ข้อมูลของโรงเรียนอื่น ๆ ระดังเขตพื้นที่การศึกษาสามารถนิเทศก์ ติดตามการใช้เงินของโรงเรียน  ระดับคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดย ศธจ. สามารถกำกับติดตามเพื่อให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ได้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน และระดับนโยบาย สพฐ. โดย สบน. จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป ทั้งนี้ การรายงานการใช้งบดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายบายฯ ที่ต้องการให้การนำเข้าข้อมูลใดๆ ควรจะเป็นการนำเข้าข้อมูลครั้งเดียวแล้วใช้งานเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกันได้เพื่อเป็นการลดภาระในการกรอกข้อมูลของทางสถานศึกษา

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐวรี ใจกล้า, ณัฐสุภา สุทธา, สุวศิน เขียวสุวรรณ
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
“นิทานพื้นบ้านตำนานมะนารอ” ผลงานโรงเรียนเทศบาล 6 (บ้านโคกเคียน) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.นราธิวาสสพฐ. มอบ ผอ.สพท. เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผอ.รร.นำร่อง เป็นคณะกรรมการไตรภาคี ร่วมเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมระดับเขตพื้นที่
บทความล่าสุด