พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส ได้เปิดตัวโมเดลหลักสูตรของจังหวัดที่อ้างอิงมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยมีการบูรณาการสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากวิสัยทัศน์การศึกษาจังหวัดนราธิวาส “จัดการศึกษาเพื่อความรักและสันติสุข” สู่วิสัยทัศน์หลักสูตร “มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดำรงชีวิตบนความหลากหลายของศาสนาและวัฒนธรรมอย่างสันติสุข”
อุดมการณ์หลักสูตร
สร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง ท้องถิ่น รักชาติ และมีความเป็นพลโลก สามารถเรียนรู้เพื่อนำตนเอง สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ รักและภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่อาศัย รักชาติ มีชีวิตที่ดีบนแผ่นดินเกิด
หลักการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของจังหวัดนราธิวาส
แนวคิดหลักของโรงเรียนกำหนดมาจากสภาพจริงที่เป็นลักษณะเด่นของโรงเรียนที่ก่อรูปไปสู่การ มุ่งอุดมการณ์ที่มาดหมาย อุดมการณ์ คือ พื้นฐานความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งที่มุ่งหมาย แนวคิดหลักจะสะท้อนอัตลักษณ์ (ความเป็นตัวตน) ของโรงเรียน และการมุ่งความสำเร็จพร้อมกัน การมุ่งความสำเร็จจะปรากฏชัดเจนที่เป้าหมาย เป้าหมาย กำหนดโดยใช้สมรรถนะผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ซึ่งสมรรถนะของนักเรียนมีความหมายต่อความสำเร็จในการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคม
เป้าหมายหลัก
- เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
- สร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่เข้มแข็งในยุคของการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
- ผู้เรียน ครูและผู้บริหารเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้ทันโลก ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
- ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและสนับสนุนทรัพยากรและการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
- ผู้เรียน ครู และผู้บริหารมีค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักศาสนาบนพื้นฐาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กำหนดเนื้อหาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 + 1
- ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก้ปัญหา
- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
- เป็นผู้เรียนรู้ ร่วมสร้างนวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- สำนึกรักบ้านเกิด
- รักความเป็นไทยและความเป็นพลโลก
- ใฝ่เรียนรู้ รักการทำงาน รักอาชีพ
- เป็นพลเมืองดี
- มีจิตสาธารณะ
- อยู่อย่างพอเพียง
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร
- ชีวิตด้านใน : ศาสนา วัฒนธรรม
- ทักษะชีวิต/ทักษะอาชีพ
2.1 การงานอาชีพ
2.2 สุนทรียะ (ดนตรี ศิลปะ)
2.3 สุขภาพและนันทนาการ
2.4 ลูกเสือ เนตรนารีและกิจกรรมเพื่อสังคม - การเรียนรู้ทางวิชาการ
3.1 ภาษาไทย
3.2 ภาษาต่างประเทศ
3.3 คณิตศาสตร์
3.4 วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
3.5 สังคมศึกษา
แนวทางการดำเนินการต่อไป
ให้สถานศึกษานำร่องของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาสร่วมกันพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาพร้อมออกแบบโมเดลของสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้สร้างความตะหนักวิชาด้านศาสตร์เป็นหลัก ส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้เรียนมีวิชาชีพติดตัว จัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนร่วมกับศาสนาและวัฒนธรรม ลดวิชาการลง และนำมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรจังหวัดไปบูรณาการเรียนรู้ร่วมกัน
ในการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดแนวคิดหลักของสถานศึกษา (School Concept) ซึ่งแต่ละสถานศึกษาต้องค้นหาจุดเด่นและสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานศึกษา แล้วนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรโดยกำหนดเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียน และสร้างระบบการประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวคิดหลัก และเส้นทางของ การจัดการเรียนรู้
“ จัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลึง
ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา เพื่อสังคมสันติสุข ”
ที่มาของแผนภาพ:
พัฒนาโดย รศ.ดร.วรรณดี สุทธินรากร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ
นางปัทมาวดี ขันธ์ชัย ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส และคณะศึกษานิเทศก์
ผู้ให้สัมภาษณ์: ปัทมาวดี ขันธ์ชัย ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส
ผู้เขียน: ฉัตรชัย หล้ากันหา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์