การประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความเข้าใจ นโยบายสู่การปฏิบัติ การเตรียมความสู่การเป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านระบบออนไลน์ ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา อาทิ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์จาก สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ ท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 40 แห่ง ประกอบด้วย
สพป.บร 1 |
|
สพป.บร 2 |
|
สพป.บร 3 |
|
สพป.บร 4 |
|
สพม.บร |
|
สช. |
|
อปท. |
|
ในการเปิดการประชุม ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าว ขอบคุณคณะทำงาน พร้อมให้แนวคิดในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ขับเคลื่อนไปด้วยกันได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม และมีการติดตามการดำเนินงานการจัดการศึกษาให้ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) และให้หน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษานำร่อง ตรวจสอบระบบของโรงเรียนที่เป็นไปตามสภาพจริง เพื่อที่จะนำไปวางแผนการเติมเต็ม และบรรลุเป้าหมายของจังหวัด โรงเรียน และชุมชน
ต่อมา ผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำเสนอการดำเนินขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 คณะผู้เสนอ ยื่นคำร้องขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ต่อ กนน.
- วันที่ 10 มกราคม 2566 กนน. มีการประชุม เพื่อทบทวนมติเห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- วันที่ 26 มีนาคม 2567 คณะรัฐมนตรี มีมติให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ประชุมคณะกรรมสรรหาเพื่อสรรหา กขน.บุรีรัมย์ เพื่อต่อ กนน.แต่งตั้ง
- วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 กนน. เห็นชอบการแต่งตั้ง กขน.บุรีรัมย์
- วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ประธาน กนน. ลงนามในประกาศแต่งตั้ง กขน.บุรีรัมย์
- และในวันที่ 3 และ 9 กรกฎาคม 2567 ประชุม กขน.บุรีรัมย์ และเพื่อพิจารณา ยุทธศาสตร์และกลใกการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
ยุทธศาสตร์และกลใกการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
-
วิสัยทัศน์
บุรีรัมย์เมืองแห่งนวัตกรรมการศึกษา ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี มีศักยภาพตลอดชีวิต”
-
พันธกิจ
- พัฒนาระบบและกลไกการจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีสุข ฉลาดรู้ ฉลาดคิด
- สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีพอเพียง
- พัฒนาศักยภาพ สมรรถนะ และความสามารถในการแข่งขัน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
-
เป้าประสงค์
- มีระบบและกลไกการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้เรียนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
- ผู้เรียนเป็นคนดี มีสุข ฉลาดรู้ ฉลาดคิด
- มีระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีพอเพียง
- ผู้เรียนมีศักยภาพ สมรรถนะ และมีความสามรรถในการแข่งขัน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
-
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีสุข ฉลาดรู้ ฉลาดคิด
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีพอเพียง
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
-
แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
- คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น โดยมีแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะในสถานศึกษานำร่อง เพื่อพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียนทั้งปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
- การลดความเหลือมลำในการศึกษา แก่กลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาบนฐานอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทนิเวศ วัฒนธรรมชุมชน ให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสการเรียนรู้ควบคู่กับ การมีอาชีพและรายได้ สามารถแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
- กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำร่องในพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มี คุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรม”ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ” (PLC) ควบคู่กับการพัฒนาครูสู่โค้ชผู้จัดกระบวนการเรียนรู้
- สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีการพัฒนาการจัดทำแผนบูรณาการ แผนงานและแผนงบประมาณ ระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา
จากนั้น นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผอ.สบน. ได้ให้ข้อมูลภาพรวมของการดำเนินงานและการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามเจตจำนงของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- นิยามของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- โอกาสทองของจังหวัดในการจัดการศึกษา
- ตัวอย่างการขับเคลื่อนของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ในช่วงสุดท้าย ที่ประชุมได้มีการสรุป และให้โรงเรียนทั้ง 40 แห่ง ที่จะเข้าจะเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง ได้วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (Current situations) และสิ่งที่จะขับเคลื่อนต่อไป (Ways to move forward) ในประเด็น 6 ดังนี้
- คุณภาพผู้เรียน
- หลักสูตรและการจัดเรียนรู้
- ระบบการพัฒนาครูในโรงเรียน
- ระบบสนับสนุนงานวิชาการ
- ระบบสนับสนุนทั่วไป
- สิ่งที่อยากบอกเพิ่มเติม
**บุคคลที่ปรากฏภาพในบทความนี้ หากประสงค์ลบรูปภาพออกจากบทความ โปรดติดต่อมาที่ 0949985062 หรือ Saraban@Edusandbox.com**
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน: ณัฐวรี ใจกล้า, อทิตยา บุญกวย
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์