บริหารสถานศึกษาตามศาสตร์พระราชา
ด้วย KHUEN Model รร.เขื่อนบางลาง สพป.ยล.2
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกับบทความ 30 ก้าวพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา ในบทความนี้ พบกับบทสัมภาษณ์ นายพีรดนย์ การดี ผู้อำนวยการโรงเรียนเขื่อนบางลาง สพป.ยล.2 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 30 สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและจากประสบการณ์จริง และข้อความต่อไปนี้ เป็นการบอกเล่าวิธีการและประสบการณ์ที่ได้พบเจอในการบริหารโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เมื่อปีการศึกษา 2563 – 2564 ที่ผ่านมา
จุดเริ่มต้นการเป็นสถานศึกษานำร่อง
ผอ.พีรดนย์ ได้อธิบายว่า โรงเรียนเขื่อนบางลาง เป็น รร. ที่ล้อมด้วยชุมชนและมีแหล่งเรียนรู้ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ โดยหวังว่าจะใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง จึงมีความคิดริเริ่ม หากว่าเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง อาจจะทำให้ รร. ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ นำมาใช้กับ รร. ได้ ด้วยแนวคิดการจัดการศึกษาด้ายตนเอง
การพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลง
ในการพัฒนา รร. ได้รับความช่วยเหลือจาก สพป.ยล.2 ในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมของ รร. ให้มีคุณภาพ ซึ่ง รร. ได้พัฒนาแนวทางในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “KHUEN Model” เป็นการบริหารสถานศึกษาตามศาสตร์พระราชา ด้วยหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ซึ่ง ผอ.พีรดนย์ ได้อธิบายต่อไปว่า รร. มีเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการนิเทศในการจัดการเรียนรู้ และมีการตรวจสอบคุณภาพด้วย PDCA
- K = Knowledge: การให้ความรู้ความเข้าใจ เป็นสร้างความรู้ความเข้าใจโดยผู้บริหารสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครูในการการจัดการเรียนการสอน การปรับตัวให้เข้ากับความจาเป็นในสถานการณ์ ปัจจุบัน รวมทั้งการนานโยบายต่าง ๆ มาถ่ายทอดกับครู และครูสามารถนาไปสร้างความรู้ความเข้าใจไป ถ่ายทอดและจัดการเรียนกับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาและนโยบายต่าง ๆ
- H = Handle: จัดการ / ควบคุม / บริหาร เป็นการบริหารจัดการ โดยผู้บริหารมีหน้าที่บริหาร สถานศึกษา การกากับและติดตามการดาเนินงานในสถานการณ์ปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนการดาเนินงานต่าง ๆ ในสถานศึกษา เพื่อส่งผลให้ครูสามารถนาไปบริหารจัดการในระดับชั้นเรียนต่อไปได้
- E = Education: การศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
- U = Unity: ความเป็นเอกภาพ ในการดาเนินการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบัน โดยโรงเรียนมีเป้าหมายความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ นั่นคือนักเรียน
- N = Needs: ความต้องการในการดำเนินของสถานศึกษา ในด้าน การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร
ในการจัดการเรียนการสอน รร. ได้เลือกใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการวิจัยเป็นฐาน (RBL) สำหรับจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้น ป.6 อาทิ
- การส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทย ชั้น ป.1 เพื่อให้นักเรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้
- กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ชั้นอนุบาลและ ป.1 – 3 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทดลองและการปฏิบัติจริง การสังเกต การวิเคราะห์แยกแยะ
- กิจกรรมโครงงานฐานวิจัย ชั้น ป. 4 – 6 เพื่อให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ มีทักษะในการทำงาน มีความรับผิดชอบ และการทำงานเป็นทีม
ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมมาบูรณาการ จัดทำเป็นรายวิชา โดยจัดการเรียนการในทุกวันอังคาร และมีการบูรณาการในสาระต่าง ๆ ด้วยผลแห่งความตั้งใจที่เห็นได้ชัด
จากการเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง ผอ.พีรดนย์ ได้เล่าประสบการณ์ที่เห็นได้ชัดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ได้มาจากตำราแต่มาจากความรู้จากชุมชนและความต้องการของผู้เรียนเอง และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นและสัมผัสได้
- นักเรียน มีสมรรถนะที่ต้องการตามหลักสูตร ซึ่งนักเรียนได้มีความอิสระ มีทักษะการทำงาน กล้าคิด กล้าทำมากขึ้น
- ครู มีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน เกิดการพัฒนาและใช้นวัตกรรมที่สอดคล้องกับผู้เรียนและหลักสูตร
- ผู้อำนวยการ เกิดภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามากขึ้น กล้าคิด กล้าทำ รับฟังความเห็น
- ชุมชน ร่วมพัฒนาโรงเรียนและไว้วางใจ รร. มากขึ้น
ส่งท้าย
แม้ว่า รร. แห่งนี้ จะมีการพัฒนานวัตกรรมและการบริหารสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบที่ดี แต่ก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากต้นสังกัดและหน่วยงานในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโค้ช พี่เลี้ยง ที่จะช่วยให้ความรู้ ช่วยพัฒนานวัตกรรมของ รร. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนา รร. เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และการสนับสนุนงบประมาณ ก็เป็นส่วนช่วยให้ รร. สามารถพัฒนาต่อไปได้ ซึ่ง ผู้เขียนหวังว่า บทความนี้ จะเป็นการส่งต่อประสบการณ์อันทรงพลังของ ผอ.พีรดนย์ และเป็นกำลังใจให้ รร. ให้เป็นต้นแบบในการสถานศึกษาพัฒนาตนเองต่อไป แล้วพบกันในบทความถัดไป 30 ก้าวพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา บทความถัดไป
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้สัมภาษณ์, ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์
ผู้ให้สัมภาษณ์ : พีรดนย์ การดี ผอ.รร.เขื่อนบางลาง สพป.ยล.2
กราฟิกดีไซน์เนอร์ : อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์