สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เดินหน้าจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ ผอ. และครู ร่วมจัดทำรูปแบบ (Model) นวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน

4 มิถุนายน 2021

เมื่อวันที่ 20-28 พ.ค. 2564 ที่ผ่าน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบ (Model) นวัตกรรมการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนจัดทำรูปแบบ (Model) นวัตกรรมการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในปีการศึกษา 2564 ตามคำขวัญของ สพป.ศรีสะเกษ เขต 4  คือ “สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 สร้างคุณภาพด้วยนวัตกรรม สร้างเขตชั้นนำด้วยมือเรา”

“สานต่อนวัตกรรมเดิม เพิ่มเติมนวัตกรรมเชิงพื้นที่” นโยบายการบริหารการศึกษาของนายวันชัย บุญทอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ในคราววาระการเปิดประชุมฯ และให้แนวทางการพัฒนารูปแบบนวัตกรรม โดยมีสาระสำคัญ คือ การพัฒนารูปแบบ (Model) นวัตกรรมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้โรงเรียนทุกแห่งใน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ทุกแห่ง มีนวัตกรรมระดับสถานศึกษาและในระดับชั้นเรียน อีกทั้งเป็นนวัตกรรมการบริหารระดับเขตพื้นที่เพื่อให้เป็นพื้นที่นวตักรรมการศึกษาที่แท้จริงและเผยแพร่นวัตรรมการศึกษาสู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ตามแนวปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ

“สานต่อนวัตกรรมเดิม” หมายถึง นวัตกรรมที่มีการทดลองและพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือ มีพี่เลี้ยง (Mentor) ที่ได้รับการยอมรับ จำนวน 7 นวัตกรรม ซึ่งโรงเรียนนำร่อง จำนวน 38 แห่ง นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ (1) จิตศึกษาและ PBL (2) BBL (3) Montessori (4) Project Approach (5) Lesson Study และ Open Approach (6) Holistic Learning และ (7) SMIT

“เพิ่มเติมนวัตกรรมเชิงพื้นที่” หมายถึง นวัตกรรมใหม่ที่โรงเรียนคิดค้นพัฒนาขึ้นเอง หรืออาจเป็นนวัตกรรมเก่าหรือนวัตกรรมใหม่ที่นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันคุณภาพได้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม

การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม มีขั้นตอนดังนี้

  1. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับนวัตกรรม รูปแบบนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรม
  2. ออกแบบนวัตกรรมตามที่ตนศึกษาและที่ความถนัด เช่น ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านการวัดประเมินผล หรือด้านบริหารการศึกษา อาจจะเป็นซึ่งใหม่หรือปรับประยุกต์จากเดิม โดยทำเป็นแผนผัง หรือแผน ประกอบคำอธิบายให้ชัดเจน
  3. ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมแลกเปลี่ยนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) นำเสนอรูปแบบนวัตกรรมการศึกษาของครูเพื่อขอข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข
  4. นำเสนอต่อที่ประชุม โดยมีพี่เลี้ยงศึกษานิเทศก์ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข




ผู้เขียน: มานิต สิทธิศร, อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: มานิต สิทธิศร

Facebook Comments
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2564พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองพร้อมขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย
บทความล่าสุด