บรรณาธิการกิจรายงานผลกระทบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

6 พฤศจิกายน 2024

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 สพฐ. โดย สบน. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจรายงานการศึกษาผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meetings) โดยมี นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยนายพิทักษ์ โสตถยาคม ผอ.สบน. นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. บุคลากร สบน. และคณะทำงาน

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมพร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วม โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรส่วนกลาง ซึ่งผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาผลกระทบของกฎหมาย พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาใน 10 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรม ทั้งนี้ เพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน และหวังว่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยขอให้คณะทำงานทุกท่านร่วมกันทำงานภายใต้แนวคิด “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข”


นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. ซึ่งเป็นประธานคณะทำงาน ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์และที่มาของการประชุม โดย สบน. ได้ดำเนินโครงการศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กรณีศึกษา 10 จังหวัด เพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับผลกระทบของพระราชบัญญัติฯ ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดทิศทางหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจและประเมินประสิทธิภาพของกฎหมายอย่างเป็นระบบ และในการประชุมวันนี้เป็นไปเพื่อให้การรายงานการศึกษาผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ ที่สามารถกำหนดทิศทางหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ตลอดจนการกำหนดแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนต่อไป และได้เน้นย้ำต่อคณะทำงานให้คำนึงถึงความถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นมาตรฐาน

ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสอบและทบทวนข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ข้อมูลได้รับการตรวจสอบที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ผลกระทบของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในภาคการศึกษา ข้อมูลเหล่านี้จะต้องผ่านการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ในทุกแง่มุม เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีมาตรฐานและสามารถอ้างอิงได้ เมื่อรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์เสร็จสิ้น ผู้อ่านจะได้รับทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด



ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์ และ อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์:  อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
การประชุมประธานกรรมการและเลขานุการ กขน. ระดับ สพท. และ สศศ.จุดประกายการศึกษาที่เท่าเทียม ด้วยนวัตกรรมด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
บทความล่าสุด