"ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน" สบน.ขอเชิญร่วมงานและรับชมการถ่ายทอดสด งานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล เพื่อร่วมหาแนวทางที่เหมาะสมและมีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

9 สิงหาคม 2021

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาขอเชิญร่วมงาน และรับชมการถ่ายทอดสด งานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 “ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” เพื่อร่วมหาแนวทางที่เหมาะสมและมีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 

บทความนี้ขอนำเสนองานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” ซึ่งผู้เขียนสงสัยว่า “สมัชชา” หมายความว่าอย่างไร จึงได้ค้นหาคำจาก พจนานุกรมออนไลน์ ของเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา พบว่า “สมัชชา” หมายถึง “การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ” และเมื่อนำมารวมกันก็จะได้คำตอบให้คลายความสงสัย

แล้วจะหาทางออกได้อย่างไร?

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ตั้งแต่อดีตที่ผ่านทำให้นักเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาต้องหยุดไปโรงเรียน โรงเรียนต้องหยุดทำการสอน แต่การเรียนรู้ของนักเรียนล่ะจะหยุดตามไปด้วยไหมซึ่งเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจ และก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบตามมาถ้าหากยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ขณะนี้ได้ แล้วเราจะหาทางออกอย่างไร? พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลจึงคิดหาทางออกในการจัดการศึกษา โดยใช้แนวคิดจัดการเรียนรู้โดยใช้ชีวิตเป็นฐาน 

แล้วจะไม่หยุดการเรียนรู้ได้อย่างไร?

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล หนึ่งในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ของนักเรียน “โรงเรียนหยุดแต่ไม่หยุดเรียน” แล้วเราจะมีวิธีการไม่หยุดการเรียนรู้ได้อย่างไร ซึ่งในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลได้จัดเวทีเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “ทางออกทางการศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์ที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลบูรณาการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมครูสามเส้ามาโดยตลอด ซึ่งในการจัดการเรียนรู้ต้องใช้ร่วมมือกันของครูโรงเรียน ครูชุมชน และครูพ่อแม่ การเสวนาครั้งนี้จึงเป็นการระดมความคิด ออกแบบการทำงานร่วมกันของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และนำข้อเสนอที่ได้จากการเสวนานำเสนอที่งานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 “ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” ต่อไป 

งานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 “ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน”

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล สมาคมวัฒนพลเมือง ร่วมกับมูลนิธิคลองโต๊ะเหล็มอะคาเดมี (องค์กรสาธารณประโยชน์ เลขที่ 5438) และเครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง รายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1 

เวทีแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล จัดขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 15.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรณีศึกษาของครูผู้ปกครองและนักเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล เพื่อนำเสนอรูปธรรม การจัดการเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด) คลิกที่นี่) ซึ่งจะนำข้อเสนอที่ได้จากการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ นำเสนอเป็นบทเรียนข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเงินอยู่ภายใต้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลแก่ผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบายเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดมุมมองด้านการจัดการเรียนรู้ ในเวทีสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ที่จัดขึ้นในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ต่อไป

รายละเอียดกิจกรรม

ครั้งที่ 2 

เวทีสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล จัดขึ้นในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 08:30 – 12:00 น. ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำเสนอบทเรียนข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเงินอยู่ภายใต้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลแก่ผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบายเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดมุมมองด้านการจัดการเรียนรู้

รายละเอียดกิจกรรม

ติดตามการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live เพจ สมาคมวัฒนพลเมือง และเพจ Sandbox Satun

แล้วจะเปลี่ยนไปอย่างไร?

กิจกรรมงานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าจะเป็นโยชน์ต่อการเรียนจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่จะให้ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง “เห็นทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” เกิดมุมมองและแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการจัดการ แม้ว่า “โรงเรียนหยุดต้องไม่หยุดเรียน” และผู้เขียนเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่เห็นคุณค่าของการศึกษา ที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมในอุดมคติและประเทศชาติต่อไป

 



ผู้เขียน: นิฎฐา ขุนนุช
ผู้ให้สัมภาษณ์: สมพงษ์ หลีเคราะห์  นายกสมาคมวัฒนพลเมือง
ผู้สัมภาษณ์: นิฎฐา ขุนนุช
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ
ภาพประกอบ: วัฒนพลเมือง  สวพ.

Facebook Comments
วิชาบูรณาการ: บาตูศึกษา “ศาสนาดี วิชาการเด่น เก่งอาชีพ” โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของโรงเรียนบ้านพระนอน
บทความล่าสุด