สรุปสาระสำคัญ รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสารการประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567
จากการประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting
สบน. ขอเผยแพร่คลิปวิดีโอการประชุมย้อนหลัง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full proposal) ของกรอบการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2567 และดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://pmua.or.th/?p=10175 และ ผ่านระบบ NRIIS https://nriis.go.th/
สบน. ได้สรุปสาระสำคัญจากการประชุม มีรายละเอียดดังนี้
เปิดการประชุม
โดย นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กล่าวว่า การทำงานวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันการขับเคลื่อนงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและความน่าเชื่อถือ ในปีงบประมาณ 2567 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนทุนการดำเนินการในการทำวิจัยและเสนอโครงการต่าง ๆ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และเป็นประโยชน์ ครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ผู้บริหาร ครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดำเนินการเสนอของบประมาณสนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงเรียนและพื้นที่
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการสนับสนุนทุนวิจัย
โดย นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด
รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วย บพท.
กล่าวว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คือ หน่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยมีงานวิจัยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยเป้าหมายของ บพท. จะกระจายความเจริญและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นด้วยความรู้และนวัตกรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยมี 5 รายละเอียดในการรับข้อเสนอโครงการวิจัยฯ ในปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
นโยบายและกลยุทธ์การขับเคลื่อน
- Micro level พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและยกระดับโอกาสทางสังคม : การวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่ เรื่อง ความยากจน ชุมชนท้องถิ่น
- Macro level กระจายศูนย์กลางความเจริญและเมืองน่าอยู่ : หัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กรอบการศึกษาจะอยู่ในหัวข้อนี้)
5 ยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการขับเคลื่อน
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมพลังเพื่อยกระดับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐในพื้นที่
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 วิทยสถานเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยของ บพท.
Key Results หลัก/รอง
ความคาดหวังต่อพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 10 จังหวัด ภายในปี 2570
- หลัก
- นวัตกรรมการเรียนรู้
- นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียน ที่เข้าร่วมร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 หรือมีสมรรถนะพึงประสงค์สูงขึ้นร้อยละ 50
- นวัตกรรมเชิงระบบที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา
- ระบบนิเวศน์ทางการศึกษาที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมรรถนะครู นักเรียน และบุคลากรในพื้นที่ รวมถึงมีกลไกการจัดการความร่วมมือกับภาคีส่วนต่าง ๆ
- รอง
- จำนวนนโยบาย มาตรการ และกลไก ที่เป็นนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) ของ การพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น เพิ่มขึ้น 100 ชิ้น
- จำนวนผู้นำเอาผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านกานพัฒนาเมือง ไปถ่ายทอด หรือใช้ประโยชน์ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ เพิ่มขึ้น 1,200 คน
โจทย์การวิจัยเป้าหมาย และประเด็นทีให้ความสำคัญ
- นวัตกรรมเชิงระบบ : สร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับพื้นที่หรือเสริมพลัง
จุดเน้น คือ ความสามารถในการทำงานเชิงกลไกหรือการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการการศึกษาของพื้นที่ ที่ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
- นวัตกรรมการเรียนรู้ : ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หรือสมรรถนะของนักเรียนสูงขึ้น
จุดเน้น คือ การเรียนรู้ ริเริ่ม หรือต่อยอดจากฐานทุนเดิม โดยให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้
- การจัดการศึกษาเพื่อรองรับหลักสูตรฐานสมรรถนะ
- การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่
- การจัดการศึกษาเพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
ความสำคัญ ความคาดหวัง การขับเคลื่อนงานวิจัยในพื้นที่ และประเด็นที่นักวิจัยจะต้องดำเนินการขับเคลื่อนงานวิจัยตามประกาศทุน
โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ
ผู้อำนวยการแผนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หน่วย บพท.
แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์
10 ประเด็นที่ผู้วิจัยควรให้ความสำคัญ
- การวิเคราะห์ Situation analysis & Stakeholders analysis (การวิเคราะห์สถานการณ์และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย) เบื้องต้น
- ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ
- นวัตกรรมเชิงระบบ
อาทิ
– การทำงานเชิงกลไกหรือการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการการศึกษาของพื้นที่ควรแสดงประสบการณ์และศักยภาพในการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับภาคีภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่นการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดหรือของพื้นที่ผ่านกลไกกรทำงานต่าง ๆ
– นวัตกรรมเชิงระบบ ที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
– การบริหารจัดการงบประมาณ
– การบริหารจัดการบุคลากร
– การประกันคุณภาพสถานศึกษา
– การบริหารจัดการวิชาการ - ประเด็นสำคัญในการพิจารณา
อาทิ
– การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) เป็นการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ เด็กสามารถมีสมรรถนะหรือทักษะบางอย่างไปแก้ปัญหาในชีวิต ในการทำงานได้
– การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ (Digital Transformation)
– การจัดการศึกษาเพื่อพื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) - ประเด็นอื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่ หรือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาสำคัญ (Pain Point) ของการจัดการศึกษาในพื้นที่
อาทิ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการศึกษา ปัญหา Learning Loss ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากร และการขาดแคลนทรัพยากรของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น - ประสบการณ์ และทุนการทำงานเดิม (ควรระบุ Proposal หัวข้อ หลักการและเหตุผล)
- การแสดงขีดความสามารถในการทำงานเชิงกลไกจังหวัด (ควรระบุใน Proposal หัวข้อหลักการและเหตุผล)
- ความเป็นชุดโครงการ ที่ไม่ใช่แค่กิจกรรม หรือการติดตาม ประสานงานโครงการวิจัยย่อยให้แล้วเสร็จ
- ผู้วิจัยควรแสดงให้เห็นได้ว่าผลการดำเนินงานจะส่งผลให้พื้นที่ดำเนินการดีขึ้นอย่างไร
- ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลในวันสุดท้าย และการกดรับรองของหน่วยงานผ่านระบบ
ผลการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย ในปี 2563 – 2566
- การพัฒนากรอบหลักสูตรจังหวัดยะลา (Yala Harmony) 15 หลักสูตร
- กลไกความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสและมหาวิทยาลัยในพื้นที่และกลไกจังหวัดผ่านสมัชชาการศึกษาจังหวัดและคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี 25 กลไก
- แพลตฟอร์มสังคมแห่งการเรียนรู้และอุปกรณ์พกพาเพื่อสนับสนุนการสอนของผู้เรียนนอกระบบและตามอัธยาศัยในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงใหม่ 39 นวัตกรรมการเรียนรู้
- การต่อยอดจากการสร้างนวัตกรรมอาสาสมัครการศึกษาหมู่บ้าน (อศม.) เพื่อช่วยสอน ไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดการระดมทุนจากภาคเอกชน 19 นวัตกรรมเชิงระบบ
การตอบข้อซักถาม
- ถาม : จังหวัดที่ได้รับทุนจาก บพท. ไปแล้วภายในปีนี้ สามารถต่อทุนได้ไหม
ตอบ : ตามหลักเกณฑ์ในรอบนี้ไม่สามารถต่อทุนได้
- ถาม : การขอทุนวิจัยขอได้เฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยในพื้นที่ใช่ไหม
ตอบ : คุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ขอรับทุนกำหนดไว้ว่าเป็นนักวิจัยภายใต้สังกัดที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล เช่น สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานรัฐ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
- ถาม : การขอทุนวิจัยในนามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นต้นสังกัดของสถานศึกษานำร่อง
หรือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอรับทุนได้ไหม
ตอบ : สามารถขอรับทุนวิจัยได้ แต่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ขอรับทุนกำหนดไว้คือ 1. อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 20 จังหวัดตามประกาศฯ 2. ต้องทำงานร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่เป้าหมายไม่น้อยกว่า 30 แห่งหรือร้อยละ 10 ของจังหวัดในระดับช่วงชั้นนั้น ๆ ที่ดำเนินการ
รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสาร
- เอกสารประกอบการประชุม คลิก
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน : ณัฐวรี ใจกล้า และณัฐสุภา สุทธา
“ผมมีความตั้งใจจะไปเยี่ยมโรงเรียนมีชัยพัฒนาอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนต้นแบบ ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาปรับใช้กับโรงเรียนตามบริบทและความพร้อมในแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับข้อเสนอของ กมธ. ในครั้งนี้ ที่ต้องการให้ ศธ. สนับสนุนแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีชัยพัฒนาไปยังโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเรื่องนี้อย่างรอบด้าน เพราะรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับหลายโรงเรียน แต่จะดูบริบทของแต่ละโรงเรียนเป็นหลัก ทั้งในเชิงพื้นที่และวัฒนธรรม โดย ศธ. พร้อมที่จะร่วมดำเนินการกับหน่วยงานหลักที่ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น ในรูปแบบของการทำงานร่วมกัน” รมว.ศธ.กล่าว