สรุปประเด็นจากการนำเสนอของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานอนุกรรมการด้านนโยบายยุทธศาสตร์ ติดตามและประเมินผลในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในคราวการประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 ซึ่ง สบน. ได้สรุปเนื้อหาซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
เป้าหมายการขยายผลพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เป้าหมายของพื้นที่ในเชิงคุณภาพ
- ผู้เรียน ผ่านสมรรถนะขั้นต่ำ
- ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
- ความอิสระของโรงเรียนในการบริหารจัดการ
- ความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่
เป้าหมายของพื้นที่ในเชิงปริมาณ
- จำนวนสถานศึกษานำร่องในแต่ละพื้นที่
- จำนวนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- การนำนวัตกรรมที่ดีไปใช้ทั่วประเทศ
การขยายผลเชิงคุณภาพ นั้น ไม่ได้แปลว่าให้พื้นที่และโรงเรียนทำกันเองอยู่ฝ่ายเดียว แต่หมายถึง คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ คณะกรรมการนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ และทุกฝ่าย ต้องร่วมด้วยช่วยกัน จากเสียงสะท้อนในพื้นที่ ซึ่งหมายความว่า การขยายผล จะต้องได้รับการสนับสนุนจากเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้สื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องและจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมไปแล้ว และได้จัดกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจ และตั้งเป้าหมายร่วมกัน ประสานพลังกันให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น การขยายผลฯ นั้นจึงจะประสบความสำเร็จ
การขยายผลในเชิงปริมาณ จะต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากส่วนกลางในเรื่องของงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ทางคณะอนุกรรมด้านบริหารงบประมาณในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ดำเนินการการประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงบประมาณในการจัดทำสูตรจัดสรรงบประมาณออกมาใหม่ ในรูปแบบของเงินอุดหนุนรายหัวให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินการของโรงเรียนมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และการสนับสนุนบุคลากรเพิ่มเติมในพื้นที่ที่ขาดแคลนบุคลากร และเรื่องของการลดภาระงานที่ไม่จำเป็น
การขยายผลที่ดี ต้องมีทั้งคุณภาพและปริมาณ ต้องมีการพัฒนาให้ดีและเพิ่มจํานวนมากขึ้น
Do better
- จัดการเรียนรู้เชิงรุกได้มากขึ้น
- มีวิธีกระตุ้นความสนใจผู้เรียนมากขึ้น
- ประเมินสมรรถนะนักเรียนได้แม่นยําขึ้น
Do more
- จํานวนครู ผู้บริหารที่มีทักษะจํานวนมากขึ้น เช่น การจัดกระบวรการ PLC
- จํานวนโรงเรียนที่มีอิสระเพิ่มมากขึ้น
- จํานวนพื้นที่นวัตกรรมมากขึ้น อาจเพิ่มขึ้นเพียง 1 หรือ 2 พื้นที่ ตลอด 7 ปีนั้น ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะสิ่งที่สำคัญกว่า คือ “การนำบทเรียน เช่น เราได้อะไร ทำอย่างไร สอนอย่างไร บริหารโรงเรียนอย่างไร บริหารเขตพื้นที่อย่างไร จึงจะสำเร็จ” ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่มีค่ายิ่ง สามารถที่จะนำไปพัฒนาทักษะในระดับประเทศได้
“ผลลัพธ์สุดท้าย นักเรียนได้รับประโยชน์”
ขยายผลให้ดีได้…ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ
โรงเรียน
- มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
- การประเมินผู้เรียนแบบใหม่ ๆ
- แบ่งปันความรู้ระหว่างครู
กรรมการขับเคลื่อนฯ
- สนับสนุนโรงเรียนด้วยอํานาจที่ได้มา เช่น การระดมทรัพยากร หรือการปรับหลักเกณฑ์
- นําเสนอความต้องการสู่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- เชิญชวนโรงเรียนในพื้นที่เป็นโรงเรียนนำร่อง
กรรมการนโยบาย
- การเร่งปลดล็อคกฎระเบียบ เช่น งบจัดสรร
- ประสานงานเพื่อทะลวงปัญหา เช่น เกณฑ์ คัดเลือกครู หรือการตรวจสื่อการเรียนการสอน
หน่วยงานสนับสนุนจากภายนอก
- ถอดบทเรียนจากพื้นที่
- สนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น เรื่องของการศึกษาวิจัย
ร่วมกันสร้างระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทย
- เป้าหมายใหญ่….ไปทีละก้าว “ยิ่งทํา ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งมั่นใจ” โดยการเริ่มเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อย
- ใช้ข้อจํากัด….สร้างหนทางใหม่ ไม่ยึดติดรูปแบบ หาทางใหม่สู่ผลลัพธ์
- ทดลองทํา…เพื่อนําทาง ซึ่งวิกฤติมักแฝงไปด้วยโอกาสเสมอ สิ่งสำคัญก็คือ สปิริตของพวกเรา โดยการทดลองทำและใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อนำทาง โดยหัวใจสำคัญก็คือ การเรียนรู้ การถอดการเรียนรู้ในห้องเรียน การถอดบทเรียนในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และนำประสบการณ์ไปขยายผลให้ประสบผลสำเร็จ
เอกสารการประชุมสร้างความเข้าใจเป้าหมายในพื้นที่ ดาวโหลด
ผู้เขียน: ปราชญาพร แช่ใจ
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ