โรงเรียนบ้านร่องสะอาด
เป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลพรมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 187 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน
จากการสัมภาษณ์ นางสาวอิษยา พรมสามสี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านร่องสะอาด ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ซึ่งปีแรกได้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีต่อมาจึงเริ่มพัฒนาสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยได้นำแบบแผนจากโรงเรียนนวัตกรรม มาประยุกต์ให้เป็นของตนเองตามบริบทของโรงเรียน โดยพัฒนาเป็นนวัตกรรมการศึกษาแบบองค์รวม 7-11 วิถีใหม่สู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนบ้านร่องสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ผลที่เกิดขึ้นทำให้สามารถพัฒนานักเรียนในด้าน ความรู้(K) ทักษะ(S) และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นที่ยอมรับและการันตีจากโรงเรียนใกล้เคียงได้ว่า นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนบ้านร่องสะอาดได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนั้นแล้วจะไม่ผิดหวังเพราะนักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะด้านชีวิตและเอาตัวรอดได้ในสังคม ทำให้ผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านร่องสะอาด มีความรู้สึกภาคภูมิใจ มีความสุข มีแรงผลักดันในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการ 7-11 วิถีใหม่สู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนบ้านร่องสะอาด ประกอบไปด้วย 7 ด้าน 11 ตัวบ่งชี้
New normal 1. ผู้บริหาร เป็น super coach
KPI 1 การเปลี่ยนผู้อำนวยการเป็น ผู้นำทางวิชาการ พัฒนาพลังวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการโรงเรียนให้เป็นครูของครู (Super Coach)ผู้อำนวยการโรงเรียนมีการเปลี่ยน Mindset ของตน กล้าคิด กล้าเปลี่ยน กล้าทำ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง มีการปรับทัศนคติการ ทำงานใหม่ เป็นผู้นำอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมและมีการบริหารจัดการโดยการทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายการทำงาน ร่วมเปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนและร่วมกันทำงานไปพร้อมกับคณะครู
New normal 2. วิสัยทัศน์ vision
KPI 2 กำหนดเป้าหมายทิศทางการดำเนินงาน / School vision School concept โดยการทำ PLC การประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย DOL โครงสร้างตารางเรียน Roadmap กลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ ข้อมูลมาจากทุนโรงเรียน และทุนชุมชน “เกษตรอินทรีย์ วิถีร่องสะอาด สุขภาวะกาย- จิต”
New normal 3. การสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ Learning space
KPI 3 โรงเรียนมีการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกห้องเรียน มีการปรับเปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้โรงเรียนเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ทั้งระบบให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียนและมีเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน
New normal 4. ด้านครูเป็นผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ Learning expert
KPI 4 พัฒนาครู อบรมสัมมนา / ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียนมีการพัฒนาครูโดยการอบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ โดยครูผู้สอน ปรับบทบาทจากครูสอนเป็นโค้ช หรือ ผู้อํานวยการการเรียนรู้ ทําหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนําวิธี เรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ออกแบบกิจกรรมและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ครูจึงเป็นบุคคลสำคัญในการอบรมบ่มความรู้ ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนก้าวสู่สังคม และเผชิญกับสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรู้ทันตนเอง และสภาพแวดล้อมที่อยู่ตรงหน้า ด้วยการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นครูผู้เรียนรู้
KPI 5 ครูมีการเขียนแผนการเรียนรู้แบบ OLE ที่เน้นฐานสมรรถนะที่เข้าถึงคุณค่าครูผู้สอนออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ออกแบบ ROAD MAP และแผนการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) โดยใช้กระบวนการ OLE ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3 ด้าน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติใหม่และเห็นคุณค่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบไม่แยกส่วนโดยเชื่อมโยงการบูรณาการฐานวิชาการและฐานธุรกิจแบ่งปันโดยมีพื้นที่ในโรงเรียนและชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบ OLE แบบActive Learning ที่เน้นคุณค่า ทุกคน ยกเว้นระดับอนุบาล ซึ่งใช้แผนการเรียนรู้ แบบActive Learning ที่เน้นคุณค่า ของระดับอนุบาล
New normal 5. ด้าน กระบวนการเรียนรู้แบบActive learning ที่เข้าถึงคุณค่า
KPI 6 การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมแบบ แบบ Active learning ด้วยวิธีการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้แบบ Project Apphroach การเรียนรู้แบบ coding เป็นต้น
KPI 7 การทำกิจกรรม (BAR PLC, CRC AAR)
กิจกรรม (BAR: Before Action Reflection) วิพากษ์แผนจัดการเรียนรู้ก่อนสอนของแต่ละชั้นก่อนสอน ในปีแรกทุกวันศุกร์จำนวน 3 ชั้น โดยเริ่มที่สัปดาห์ที่ 1 ชั้น ป.1 ป.4 ม.1 สัปดาห์ ที่ 2 ป.2 ป.5 ม.2.สัปดาห์ที่3 ป.3 ป.6 ม3. ปีต่อมาปรับเป็นวันพฤหัสบดี เนื่องจากวันศุกร์โรงเรียนมีกิจกรรมมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ไม่เต็มที่ โดยปรับเปลี่ยนเป็นสัปดาห์ละชั้น เพื่อให้เกิดความเข้มข้นและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุดหลังจากนั้นให้แต่ละชั้นนำแผนจัดการเรียนรู้ ไปปรับปรุงแก้ไขแล้วก็ทำการสอน โดยถ่ายคลิปวิดีโอไว้ไปสอนในห้องเรียนตนเอง และนำวีดีโอมาทำกิจกรรม PLC, CRC AAR ในที่ประชุม เพื่อตรวจสอบหาข้อผิดพลาดในการสอนวิพากษ์และเติมเต็ม และสะท้อนผลหลังจากการสอนว่าบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้หรือไม่ เพื่อปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น ต่อไป
KPI 8 ระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
การนิเทศ ดำเนินการโดยการ Zite visite ของ Mentor สำหรับผู้บริหารและครู ใช้ระบบการสังเกตการสอน สังเกตพฤติการณ์การสอนให้คำแนะนำ ในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน การติดตามชั้นเรียนผ่านกระบวนการ CRC AAR PLC การมีส่วนร่วมในแต่ละข่วงชั้นการประชุมในชั่วโมง PLC
New normal 6. ด้านข้อมูลสารสนเทศด้วยระบบ Q–info
KPI 9 การใช้ Report Q–info โรงเรียนทำการวัดผลตามสมรรถนะ เป็นรายบุคคล และกระบวนการกลุ่ม โปรแกรมจะถูกอัพโดยอัตโนมัติเมื่อผู้สอนใส่ ข้อมูล ในเรื่องของ สถิติมาเรียนรายวัน มาเรียน ลาเรียน ขาดเรียน ความก้าวหน้า การรายงานความก้าวหน้า โครงสร้างรายวิชา อัตราส่วนคะแนน( วิชา) เชคชื่อ( ชั่วโมง) การบันทึกคะแนน คะแนนเก็บ กลางภาค ปลายภาค ความเสี่ยง เกรดต่ำกว่า 2.00 นักเรียนติด ร มส.น้ำหนัก ส่วนสูงอัตรามาเรียน เป็นรายบุคคล
New normal 7. ด้านเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stake holder Network
KPI 10 การมีส่วนร่วมของชุมชนภาครัฐ/เอกชน จากการดำเนินงานจาก ชุมชน/ผู้ปกครอง ผลจากการขับเคลื่อนร่วมกันทั้งในด้านการบริหารจัดการ หรือการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับครูและนักเรียนในโรงเรียนและช่วยเหลือทางโรงเรียน เพื่อพัฒนาโรงเรียน.โดยการประชุมผู้ปกครองประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและร่วมสะท้อนผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคเรียนละ 1 ครั้ง
KPI 11 การสร้างเครือข่ายเผยแพร่ผลงาน โรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติงานสู่สถานศึกษาอื่นและเครือข่าย โดยการจัดนิทรรศการที่สพป.ศก เขต1 สพป.ศก เขต4 และ จัดนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ นำเสนอรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฐพล ทีปสุวรรณ)
นำเสนอโรงเรียนนวัตกรรมต่อดร.สุวิทย์- ดร.อรทัย มูลคำ และผอ.สพป.ศก.เขต1(ว่าที่ร้อยตรี ดร.ทวีศักดิ์ นามศรี)
นำเสนอโรงเรียนนวัตกรรมต่อที่ประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ
ผลที่เกิดขึ้น
- ด้านผู้บริหาร ผู้บริหารสถานศึกษามีการเปลี่ยน Mindset ในการทำงาน
- ด้านครู ครูได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูกล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจมากขึ้น ยอมรับสำหรับการวิพากษ์ของเพื่อนร่วมงาน
- ด้านนักเรียน
3.1 ความรู้ (k) นักเรียนได้มีโอกาสได้เป็นเจ้าของบทเรียน ได้ การคิดวิเคราะห์ การวางแผน การออกแบบการเรียนรู้ กล้าคิดกล้าตัดสินใจนักเรียนมีทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน กล้าพูด กล้าแสดงออก เพิ่มมากขึ้น ด้านทักษะ ทักษะชวิต ทักษะการเอาตัวรอด
3.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) นักเรียน มีความรับผิดชอบ มีวินัย ซื่อสัตย์ ขยัน อดทนต่อการทำงาน
3.3 ด้านทักษะ (S) นักเรียนมีทักษะ เพิ่มมากขึ้น ทักษะการคิดการตัดสินใจ การแสดงออก ทักษะการสื่อสาร ฟัง พูด กล้าแสดงออก กล้าพูด
จะดำเนินการต่อไปอย่างไร
โรงเรียนบ้านร่องสะอาด จะดำเนินการรักษาแนวทางการจัดการศึกษา ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่สามารถดำเนินการต่อไปให้มีความยั่งยืน
ต้องการสนับสนุนจากองค์กรหน่วยงานต่างๆ
โรงเรียน ขาดงบประมาณ เพื่อใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การบูรณาการ และจัดทำพื้นที่แหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ บางส่วนเราไม่สามารถทำเอง ผลิตเอง เพื่อการเรียนรู้ได้
สิ่งที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขคือ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้ (k) knowledge ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และกระบวนการ CRC ซึ่งโรงเรียนกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาใน ปีการศึกษา 2564 ต่อไป
ติดตามผ่าน Facebook : สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา – EduSandbox
เข้ากลุ่ม Facebook : https://web.facebook.com/groups/edusandbox/
ผู้เขียน : กนกพร บุญแซม
ผู้ให้สัมภาษณ์ : อิษยา พรมสามสี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านร่องสะอาด
ผู้สัมภาษณ์ : กนกพร บุญแซม
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ
ภาพประะกอบ : โรงเรียนบ้านร่องสะอาด