การนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

3 กันยายน 2021

การประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมอธิปัตย์ คลี่สุนทร ชั้น 4 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ  สบน. ได้สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึก พ.ศ.2562 โดยมี 8 จังหวัดนำร่องที่ได้รับการจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึก พ.ศ. 2562 ได้แก่

  1. จังหวัดกาญจนบุรี
  2. จังหวัดเชียงใหม่
  3. จังหวัดศรีสะเกษ
  4. จังหวัดระยอง
  5. จังหวัดสตูล
  6. จังหวัดปัตตานี
  7. จังหวัดยะลา
  8. จังหวัดนราธิวาส

การดำเนินงานโครงการครั้งนี้ มีความสำคัญ คือ เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น ตลอดจนการประสานความร่วมมือเพื่อสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน ตามาตรา 50

ตามมาตร 50 แห่ง พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนดให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนภารกิจตามที่กำหนดในมาตรายี่สิบสี่ ซึ่งกำหนดให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อน และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีระบบข้อมูลตามมาตรฐานที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. จัดให้มีการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  3. จัดทำรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดโดยให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทราบด้วย
  4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการขับเคลื่อนมอบหมาย

ภาพความสำเร็จการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

การเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง (ข้อมูลปีการศึกษา 2563)

  1. ปีการศึกษา 2561 เพิ่มขึ้น 10 โรงเรียน
  2. ปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้น 259 โรงเรียน
  3. ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น 147

และในปัจจุบัน มีสถานศึกษานำร่องทั้งสิ้น 432 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2564)

สถานศึกษานำร่อง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม ตามวัตถุประสงค์มาตรา 5  แห่ง พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้น 445 นวัตกรรม (ข้อมูลปีการศึกษา 2563) แบ่งเป็น

  1. สื่อและเทคโนโลยี 11 รายการ
  2. หลักสูตร 16 รายการ
  3. การจัดการเรียนการสอน 318 รายการ
  4. กิจกรรม/โครงงาน 11 รายการ
  5. การบริหารจัดการ 13 รายการ
  6. ยังไม่ระบุ 76 รายการ

และได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การเรียนการสอนในยุคสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ สามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆขึ้นมาอย่างมากมายในวงการศึกษาของเราได้ ในส่วนของการนำเสนอผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ทุกท่านสามารถถอดบทเรียนและนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละบริบทของพื้นที่ได้  และยังได้กล่าวให้กำลังใจกับส่วนพื้นที่ว่า ส่วนกลางมีความพร้อมที่จะคอยสนับสนุน  พร้อมรับฟังปัญหาในการทำงานและมีความยินดีที่จะรับมาดำเนินการต่อเพื่อการขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพร่วมกันต่อไป



ผู้เขียน: อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ

Facebook Comments
“เป้าหมายการพัฒนา พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ร่วมกันสร้างระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทย สรุปเนื้อหาที่ประธานอนุกรรมการด้านนโยบายฯ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นำเสนอในการประชุม เมื่อ 2 ก.ย. 64ปรับความคิด ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยนวัตกรรม “ครูสามเส้า” สู่การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
บทความล่าสุด