โรงเรียนบ้านพระนอนและโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ Workshop การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยใช้กระบวนการ Active Learning

15 ตุลาคม 2021

นักวิจัยและคณาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ อินทสิงห์ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์น้ำผึ้ง อินทะเนตร รองคณบดี อาจารย์ ดร.สุนีย์ เงินยวง รองคณบดี และอาจารย์ดร.สุบัน พรเวียง อาจารย์ประจำภาควิชา อบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยใช้กระบวนการ Active Learning แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านพระนอน และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ณ โรงเรียนบ้านพระนอน ตำบลดอนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

   

   

โดยนักวิจัยและคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้าไปช่วยเติมเต็มในเรื่องการประเมินสมรรถนะนักเรียนผ่านการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการที่โรงเรียนจัดขึ้นในช่วงบ่ายของทุกวันจันทร์-ศุกร์ รวมทั้งแนะนำการจัดหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมเพื่อให้ได้สมรรถนะที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนตามที่โรงเรียนต้องการ โดยมีการจัด workshop แนวทางการจัดกิจกรรมดังกล่าวให้แก่คณะครูของโรงเรียนอีกด้วย

   

   

ในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านพระนอนมีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้นักเรียนเกิดสมรรถนะในเรื่องทักษะการจัดการตนเอง ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงตารางเรียนให้ต่างไปจากเดิม โดยช่วงเช้าจะเป็นการเรียนการสอนในรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมแบบบูรณาการบนฐานของ Active Learning ซึ่งในละวันจะมีการบูรณาการศาสตร์ ๆ ที่แตกต่างกัน 

  • วันจันทร์ เป็นเรื่องของโลกของการทำงาน มีการนำเอาวิชาการงานอาชีพมาบูรณาการในกิจกรรมด้วย

  • วันอังคาร เป็นเรื่องสุนทรียภาพทางอารมณ์ ดนตรี

  • วันพุธ เรื่องสุขภาพกาย กีฬา และนันทนาการ

  • วันพฤหัสบดี เกี่ยวกับพลเมืองโลก รักตนเอง รักเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

  • วันศุกร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมนำใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ใฝ่ดี จิตสาธารณะ 

    จากการดำเนินงานเมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมา ทางโรงเรียน พบว่า นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีความกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ และมีความสามารถในการคิดที่มากขึ้น

 



ผู้เขียน: มาศชฎา จันทราทิพย์  
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ

Facebook Comments
“ครูกล้าเปลี่ยน นักเรียนกล้าคิด/ทำ” แนวคิดหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านมะหงัง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล“ทำ PA อย่างไร ให้ตอบโจทย์พื้นที่นวัตกรรม” สบน. ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการเสวนา
บทความล่าสุด