เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Cases of Innovative Education Inside and Outside Thailand” ตามแนวคิด “ฉันจะใช้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้อย่างไร” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมบรรยายความรู้ 4 ท่าน และผู้ใช้นวัตกรรมจริงจากสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4 จังหวัด โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านนวัตกรรมที่มีประโยชน์ในการผลิตและพัฒนานวัตกรรม และนำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมจากการใช้จริงของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในด้านการสอนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษากับสถานศึกษาอื่น ๆ ที่สนใจ อนึ่งความรู้ที่ได้รับจากการร่วมรับฟังจัดกิจกรรม “Cases of Innovative Education Inside and Outside Thailand” ในครั้งนี้ จะทำให้ท่านตอบแนวคิดของกิจกรรมได้ว่า “ฉันจะใช้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้อย่างไร”
รับชมย้อนหลัง
แนวคิดนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ
“Cases of IMS ISO 56002 For Innovative Education”
โดย รองศาสตราจารย์ดำรง ทวีแสงสกุลไทย ศาสตราภิชานด้านนวัตกรรม กล่าวถึง นิยามของนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ 1. ต้องใหม่ (New) อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือบางส่วน หรือสร้างใหม่ทั้งหมด 2. ต้องมีคุณค่า (Value) ทั้งในด้านธุรกิจ กำไร ขาดทุน มีคุณค่าต่อสังคม และต่อประเทศชาติ และ 3. ต้องนำไปใช้ได้จริง (Adoption) ร้อยละ 75 ขึ้นไป ประเภทนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท 1. โปรดักส์ 2. กระบวนการ 3. ระบบ ถ้าหากเปรียบกับนวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียน โปรดักส์ก็เปรียบกับหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการ คือ การเรียนการสอน ระบบ คือ องค์กร โรงเรียน มหาวิทยาลัย
กรณีศึกษาที่ออกแบบตามนวัตกรรม ISO 56002
- กลุ่มผลผลิตในเครือเจริญโภคภัณ์ CP โดยใช้กระบวนการ CPF-I4 เกิดศูนย์บ่มเพาะในการศึกษาซึ่งรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทุกธุรกิจ รวมถึง CP ถูกประกาศให้แต่ละธุรกิจต้องจัดทำนวัตกรรมในองค์กรของตนเอง หากเกี่ยวกับการศึกษา องค์ประกอบของ CP ได้พัฒนามาเป็น Innovation ประกอบด้วย ด้านองค์กร ด้านบุคลากร ด้านเครื่องมือ และด้านผู้บริหาร ซึ่ง ISO 56002 ได้ประกาศขึ้นเมื่อ ปี 2019
- สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยีไทย–ญี่ปุ่น (2012–2018) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มการศึกษา
2. กลุ่ม Training 3. กลุ่มสอบเทียบ เพื่อให้เกิดเป็นสมาคมนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ สถาบันได้จัดระบบตามกระบวนการในรูปแบบของ Hybrid SP to i-TPA และได้จัดตั้งวิสัยทัศน์ขององค์การขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นนโยบายส่งเสริม CAT C-Create ความคิดสร้างสรรค์ A -Adaptability การปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง T-Talent ความสามารถพิเศษ เพื่อให้พนักงานในองค์กรสร้างนวัตกรรมได้ - สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University-BAScii (cu-Scii) แห่งแรกในประเทศไทย ประกาศในปี 2020 ได้รับ ISO 56000 ซึ่งปัจจุบันมี แห่ง160 ประเทศทั่วโลก
“Cases of CU-BAScii”
โดย ศาสตราจารย์วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ความสามารถพื้นฐานสากลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีพ มนุษย์ทุกคนในโลก จะต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อยเพื่อให้มี ความสามารถพื้นฐานสากล ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ STEM และทักษะสำหรับโลกศตวรรษที่ 21 ทักษะสำคัญสำหรับประชากรโลกในยุคศตวรรษที่ 21 มีดังนี้
- ทักษะในการให้ความร่วมมือ
- ทักษะในการสื่อสาร
- ทักษะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ทักษะในเชิงตัวเลข
- ทักษะในการแก้ไขปัญหา
นวัตกรรมการอุดมศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Speedboat Model หลักการ คือ ต้องมีอิสระในการดำเนินงาน “นอกกรอบ” ให้มีความคล่องตัวและความไว ดำเนินงานแบบ “กระบะทราย(Sandbox) มีอิสระในจัดการเรียนการสอน ซึ่งต่างจาก “ระบบไซโล” ในความเป็นจริงของการทำงานจะต้องมีการบูรณาการความรู้ต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้การเปิดสาขาแรกขึ้น คือ หลักสูตร “ศิลปศาสตรและวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ เป็นการผสมผสานหลาย ๆ สาขาเพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมแบบบูรณาการ โดยเน้นเรื่องเทคโนโลยีและการบริหารบรูณาการร่วมกัน
“Innovative Education In USA”
โดย นางสาวณัฐนี ทวีแสงสกุลไทย ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ The World Bank นำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมของต่างประเทศ ดังนี้
- Innovative Education Policy in the U.S
นโยบายการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) โดยจัดสรรงบประมาณให้ 11 รัฐ และมุ่งเน้นการช่วยเหลือ 3 ด้าน คือ
- การเข้าถึงเทคโนโลยีและการเรียนรู้ออนไลน์
- การจัดตั้งหลักฐานออนไลน์ของรัฐ
- รูปแบบการสอนในท้องถิ่น
และจัดสรรอุปกรณ์สำหรับการเรียนให้ผู้เรียนทุกคน
- Innovative Education Technology Policy, School and Projects/Program Examples
- ตัวอย่างของโรงเรียนใน South Carolina จะช่วยนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ โดยการจัดทำโครงการ Datacasting นำเสาอากาศเพื่อนำมาใช้การถ่ายข้อมูลให้กับนักเรียน และได้สนับสนุนอุปกรณ์ 3 อย่างให้กับนักเรียน คือ แล็ปท็อบ เสารับสัญญาณโทรทัศน์ และเสารับสัญญาณวิทยุ เพื่อให้โรงเรียนส่งข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
- ตัวอย่างของโรงเรียน North Carolina virtual Public School (NCVPS) เป็นโรงเรียนทางเลือก เพื่อให้นักเรียนสามารถลงเรียนได้ในช่วงเวลาเรียนปกติ หรือหลังเวลาเรียนได้ มีคอร์สเรียนให้นักเรียนเลือกถึง 120 หลักสูตร
- ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาจาก Word Bank Group องค์กรที่สนับสนุนด้านการศึกษามากกว่า 80 ประเทศ เน้นในด้านการพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนทุกคน เน้นเรื่องการทีจะลดช่องว่างทางการเข้าถึงดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต และเน้นเรื่องการให้นักเรียนทำข้อสอบควรทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศอียิปต์ จะให้ครูจัดทำข้อสอบการวัดความรู้ต่าง ๆ สอบทางคอมพิวเตอร์ ประเทศแกมเบีย จัดทำโครงการ broadband โดยปรับหลักสูตรให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนออนไลน์
- ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษาในประเทศจอร์แดน โครงการแบบอบรมระยะสั้น ประมาณ 3 เดือน เน้นให้นักเรียนจับคู่และเรียนรู้ไปด้วยกัน และโครงการนี้ยังมีบริการการให้คำปรึกษาเรื่องต่าง ๆ เช่น การสมัครงาน การเขียนประวัติส่วนตัว
- Innovative Education Curriculum and Method in the U.S and Other Countries
นวัตกรรมการศึกษาในเรื่องของหลักสูตรในการสอน ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเน้นในเรื่อง ระดับความรู้ของนักเรียนมากกว่าระดับชั้นของนักเรียน มีการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับนักเรียน เปิดคอรสที่นักเรียนสนใจ เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างครูกับนักเรียน เน้นการสอนแต่ละวิชาที่ครูมีความถนัด แทนที่จะสอนทุกวิชา
- Innovative Education Technology in the U.S. and Google เช่น การใช้ Robot สำหรับนักเรียนที่พิการให้สามารถเรียนทางจากบ้าน VR และ AR นวัตกรรมด้านการศึกษาจาก Google ที่สนับสนุนการเรียนการสอนได้ทุกที่ ทุกเวลา และสมจริง
“No Homework and No Exam”
โดย นายทนง โชติสรยุทธ์ ประธานมูลนิธิคนไทยเก่ง เสนอกรณีศึกษา Massive Scalable Process (MSP) ทำอย่างไรให้ O-Net สูงกว่าเดิม อย่างก้าวกระโดด? ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดและถูกทาง No Homework เปลี่ยนการบ้านเป็นการโรงเรียน ในวิชาที่ต้องทวนซ้ำความเข้าใจ ลงมือฝึกบ่อย ๆ ก่อนกลับบ้าน หัวใจสำคัญ คือ นักเรียนทุกคนมีเวลาเพียงพอที่จะทำความเข้าใจ จนแน่ใจว่าทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง 100% โดยมีตัวช่วยอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย ศาสตร์ของการเรียนรู้ ศาสตร์ของสมอง และ Ecosystem
No Homework เป็นการบวนการ No Child Left Behind ที่แท้จริง เป็นแนวคิด MSP ที่ออกแบบให้ Ecosystem ซ่อมแซมตนเอง เอื้อต่อการเรียนร่วมกัน โดยไม่ต้องใช่วิธีติวนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ก้าวกระโดด เก็บตกนักเรียนทุกทนตามศักยภาพแต่ละบุคคล ช่วยให้เด็กเรียนรู้ช้า และต่อยอดเด็กที่เรียนรู้
ปานกลางและเร็ว นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้ร่วมกัน มีสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต นักเรียนมีเวลาว่างมากขึ้น มีเวลาพัฒนาตนเอง ลดภาระครู ไม่ต้องซ่อมเสริมหรือสอนเสริม
ตัวอย่างผลการใช้นวัตกรรมจากสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมบ้านปลาดาวที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะและสมรรถนะผู้เรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน”
โดย นางสาวสุรีรัตน์ จินตนารินทร์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านปลาดาว พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยประกอบด้วย 5 นวัตกรรมย่อย ดังนี้
- นวัตกรรมบ้านปลาดาว 3R (Reading – Writing – Arithmetic) ที่มุ่งเน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เช่น ชุดบัตรคำฝึกการออกเสียงอักษรสามหมู่ ชุดบัตรคำการออกเสียงตัวอักษร Alphabet A-Z การนับเลขโดยใช้เทคนิคนับนิ้ว การฝึกการเพิ่มจำนวนด้วยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Active Learning ส่งเสริมความมั่นใจในการเรียน เกิดการเรียนรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์
- การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานและปัญหาเป็นฐาน (Project-Based Learning, Problem-Based Learning: PBL) โดยใช้เทคนิค EDICRA เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยวางแผนการเรียนรู้ของตนเองตามความสนใจหรือจากปัญหา พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการวางแผน แก้ไขปัญหา ทักษะทางสังคมอารมณ์ และสร้างนวัตกรรมที่แตกต่าง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้เท่าทันสื่อและสามารถนำเทคโนโลมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้อย่างสรรค์
- Makerspace พื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process – AIPCR เป็นกระบวนการออกแบบ Design Thinking ที่เป็นเครื่องมือให้เด็กพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานอย่างเปลี่ยนระบบ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์
- Starfish Class Application นวัตกรรมการประเมินทักษะหรือสมรรถนะของผู้เรียนในรูปแบบแอพพลิเคชั่นช่วยให้ครูในการประเมินผู้เรียนด้านทักษะ สมรรถนะตามสภาพจริง
- กล่องการเรียนรู้ (Starfish Learning Box) ในช่วงสถานการณ์แผร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ โดนการเรียนสามารถทำได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งกล่องเรียนรู้ (Learning Box) มีวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับให้ครอบครัวจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ที่บ้าน โดยจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PBL) Makerspace และ 3R
การจัดการเรียนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning: BBL)
โดย นายทองคำ จิตสุภาพ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านรุ่ง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
นำเสนอวิดีทัศน์ เรื่อง 1 ปี กับการพลิกโฉมโรงเรียนบ้านรุ่ง โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบการนำเสนอผลการใช้นวัตกรรม คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเพราะด้วยความร่วมมือระหว่าง Core Team ผอ. ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้ปกครองและชุมชน จึงทำให้เด็กเปลี่ยนตามด้วยการ “เป็นนักเรียนรู้ (Learner Person)” และ “เรียนรู้อย่างมีความสุข”ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา คือ การสร้างเด็กที่พร้อมจะออกไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกศตวรรษที่ 21
- ผอ. – เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้นำวิชาการ และสามารถโค้ชครูได้
- ครู – เปลี่ยนกระบวนการสอนเป็นแบบ Active Learning ตามแนวทาง (BBL)
- ศึกษานิเทศก์ – เปลี่ยน Mindset ด้วยการเปิดใจ รับฟัง และนิเทศชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ปกครองและชุมชน – เปลี่ยนบทบาท ด้วยการเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมภาคภูมิใจไปพร้อมกับโรงเรียน
นวัตกรรมการด้านบริหารจัดการ “การออกแบบการเรียนรู้ห้องเรียนมีชีวิตและสะท้อนการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม (Team Supervision Active Learning Design Plan and Reflection)”
โดย นายภัทรกร ศรีเสาวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพยูน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
แนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน School Concept นักเรียนเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (Marine Resource Conversation) โดยแบ่งเป็น 3 นวัตกรรมการบริหารย่อย ดังนี้
- PLC Classroom Reflection Team Supervision Active Learning to Chang: CSC ทีมออกแบบการเรียนรู้ห้องเรียนมีชีวิตวิชาพื้นฐานแบบสะท้อนการเรียนรู้ (ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, คณิตศาสตร์)
- PLC Team Supervision Active Learning Design Plan Integration: TSAP ทีมออกแบบการเรียนรู้วิชาบูรณาการสู่การเรียนพัฒนาผู้เรียนเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ชั้น ป.1-ป.3
- PLC Team Supervision Design Plan Integration Active Learning Classroom: TDAC ทีมออกแบบการเรียนรู้วิชาบูรณาการสู่การเรียนพัฒนาผู้เรียนเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ชั้น ป.4-ป.6 (วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา, การงานอาชีพ,ศิลปะ)
การออกแบบการเรียนรู้ห้องเรียนมีชีวิตและสะท้อนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้องค์ความรู้ด้านทรัพยากรทางทะเลเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ สร้างมาตรฐานการทำงานแบบใหม่ “ครูจะไม่โดดเดี่ยว นักเรียนจะไม่ถูกทิ้ง” ปรับบทบาท ผอ. เป็น Facilitator ครูเป็น Coach เปลี่ยนชั้นเรียน เปลี่ยนการประเมินผล สร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษา ร่วมออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันสะท้อนคิด ออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่หลากหลาย สถานที่จริง ปฏิบัติจริง สร้างสมรรถนะการทำงานร่วมกัน นักเรียนสะท้อนผลจากการเรียนรู้ คุณค่าจากสิ่งที่เรียน ครูร่วมสะท้อนผลจากการทำงาน นำปัญหาที่ได้แก้ไขทันที เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนเป็นนักแก้ปัญหาจัดการชุมชน ทำงานเป็นทีม รักษ์ชุมชน เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ในชุมชน/อาชีพ/การตลาด มีความสามารถในสื่อสารสามภาษาเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเป็นพลเมืองใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่มีสำนึกสากล ตอบสนองความต้องการของชุมชนและโจทย์การขับเคลื่อนจังหวัดระยอง MARCO และตอบสนอง DOE โรงเรียนบ้านพยูน
การจัดการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย (Research-Based Learning)
โดย นายอะหมาร สันนาหู ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลมีเป้าหมายร่วมกันของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล คือ การเปลี่ยนแปลงการสอนทุกเรื่องเป็น Active Learning ครูสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ลดอำนาจ และสร้างการมีส่วนร่วมนชั้นเรียน ครูสามเส้าร่วมมือให้เกิดการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพราะโรงเรียนคือส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ครูในโรงเรียน ครูพ่อแม่ ครูในชุมชนทุกที่ คือ การเรียนรู้ ไม่จำกัดเพียงห้องเรียน ร่วมเป็นปัจจัยในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
โครงงานฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ของโรงเรียนบ้านควนเก แบ่งหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วยดังนี้
- หน่วยที่ 1 เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว วิเคราะห์เลือกเรื่อง
- หน่วยที่ 2 พัฒนาโจทย์วิจัย ออกแบบวิจัย นำเสนอโครงงานต่อผู้ทรงคุณวุฒิ
- หน่วยที่ 3 สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล
- หน่วยที่ 4 คืนข้อมูลสู่ชุมชน กำหนดทางเลือกใหม่ จัดทำแผนปฏิบัติการ ทดลองลงมือปฏิบัติ
- หน่วยที่ 5 สรุป จัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัย
รวม 240 ชั่วโมง ตลอดปีการศึกษา
“โรงเรียนวิจัยบ้านควนเก” 5 เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ
- โรงเรียน ปรับหลักสูตร บูรณาการวิชาโครงงานฐานวิจัย
- ผอ. ปรับบทบาทเป็นโค้ช ผู้ขับเคลื่อน
- ครู ปรับบทบาทเป็นโค้ช
- ผู้ปกครองและชุมชน เป็นครูในชุมสร้างการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
- แนวคิดที่เชื่อกระบวนการมากกว่าเนื้อหา
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน/รวบรวม : นายอิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์ : รัตนากร พึ่งแก้ว