เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการจัดการความรู้เพื่อการจัดมหกรรมโรงเรียนและครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจังหวัดศรีสะเกษ

9 พฤศจิกายน 2023

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการจัดการความรู้
เพื่อการจัดมหกรรมโรงเรียนและครู
สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจังหวัดศรีสะเกษ

ตามที่ จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา จัดการศึกษาเชิงพื้นที่ตามแนวทางของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และจุดเน้นที่ 10 ของจังหวัดศรีสะเกษ เรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีผลพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หลายด้าน เพื่อให้ครูที่ได้รับการพัฒนา และมีผลการปฏิบัติที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยคณะครุศาสตร์ ได้จัดทำโครงการจัดการความรู้เพื่อการจัดมหกรรมโรงเรียนและครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจังหวัดศรีสะเกษขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การคัดเลือกและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีระดับต้นสังกัด และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัดโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมเพชร และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมพลังบุญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จัดที่โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

วัตถุประสงค์
  • เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกแห่งที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
  • เพื่อสร้างกำลังใจ ให้กับ ผอ.และครูต้นเรื่อง ในการนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่ดี

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

ณ หอประชุมเพชร  สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 และไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 และ Sandbox Sisaket

ช่วงเช้า 10.40 - 12.00 น.
  • การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการ (ดู)
  • การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน (ดู)
  • การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน (ดู)
ช่วงบ่าย 13.00 – 14.20 น.
  • การเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูง (ดู)
  • การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงามของผู้เรียน (ดู)
  • การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (ดู)

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

ณ หอประชุมพลังบุญ สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 และไลฟ์สดผ่าน Youtube : SSK4 Channel  และ Sandbox Sisaket

ช่วงเช้า 09.30 -10.30 น.
  • เวที Talk แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน จ.ศรีสะเกษ (ดู)

ช่วงเช้า 13.00 -14.30 น.
  • การสร้างความเป็น Teamwork โดยใช้ PLC (ดู)

ณ ห้องประชุมมออีแดง  สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 และไลฟ์สดผ่าน Youtube : SSK4 Channel  และ Sandbox Sisaket

ช่วงเช้า 10.40 -12.00 น.
  • การเตรียมความพร้อมระดับปฐมวัย (ดู)
ช่วงบ่าย 13.00 – 14.30 น.
  • ครูเชิงรุก (Active Learning) ผู้ค้นพบความสุขของผู้เรียน (ดู)

ณ ห้องประชุมวังใหญ่  สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 และไลฟ์สดผ่าน Youtube : SSK4 Channel  และ Sandbox Sisaket

ช่วงเช้า 10.40 -12.00 น.
  • การแก้ปัญหาอ่านออกเขียนได้ในรายวิชาภาษาไทย (ดู)
ช่วงบ่าย 13.00 – 14.30 น.
  • การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของผู้ปกครองและครู (ดู)

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

ณ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม จ.ศรีสะเกษ และไลฟ์สดผ่าน FB : กองการศึกษาฯ อบจ.ศรีสะเกษ และ Sandbox Sisaket

ช่วงเช้า 10.40 -12.00 น.
  • การจัดการตนเองเพื่อการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (ดู)
  • การปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การจัดการเรียนรู้ (ดู)
  • การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อสร้างสมรรถนะการคิดขั้นสูง (ดู)
ช่วงบ่าย 13.00 – 14.30 น.
  • การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ดู)
  • ผลการจัดการเรียนรู้บูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นนวัตกรในระดับมัธยมศึกษา (ดู)
  • ผลงานการพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์โดยใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนคิด (Thinking School) (ดู)

 

* บุคคลที่ปรากฏในบทความนี้ ท่านใด ประสงค์ให้นำภาพหรือข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลออก
โปรดแจ้งมาที่ E-mail : Saraban@EduSandbox.com*

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       

 

Facebook Comments
สรุปสาระสำคัญ รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” หารือ กมธ. เล็งนำแนวทางโรงเรียนมีชัยพัฒนามาปรับใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม