ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2566

11 มกราคม 2024
ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบสล โดยมี พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ รองประธานกรรมการ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต. ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการและเลขานุการ และกรรมการ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงหรือผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ  รศ.ประภาภัทร นิยม, นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, นางศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รศ.ประวิต เอราวรรณ์

สบน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รวบรวมเอกสารและผลการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับเสนอให้ที่ประชุมทราบและพิจารณา โดยสรุปสาระสำคัญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ

ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อทราบต่อที่ประชุม 1 เรื่องได้แก่

ความคืบหน้าการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • ระดับนโยบาย  การขยายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจาก 8 พื้นที่ เป็น 19 พื้นที่ 
  • ระดับพื้นที่ อาทิ
    1. การสร้างการมีส่วนร่วมของ (1) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ในการจัดตั้งสถาบัน RILA (อ่านเพิ่ม  1 , ) และ (2) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ในการสร้างกลไก Satun Coahing Forum ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการพัฒนา Module การเรียนรู้ 
    2. การจัดตั้งกองทุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Sandbox Fund) จะนําไปใช้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อเตรียมทักษะให้พร้อมเรียนต่อเพื่อประกอบอาชีพ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่ใช้ O – NET ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ระบบ HR โรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการสอนใหม่ ๆ และระบบสารสนเทศ สําหรับการวางแผนงาน ทั้งนี้ สามารถบริจาคเงินได้ที่ https://www.eef.or.th/edusandbox ซึ่งสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
  • ระดับโรงเรียน ผลการสำรวจของสถาบัน TDRI ใน 4 พื้นที่ พบ โรงเรียนบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระมากในด้านหลักสูตร ร้อยละ 90 การประเมินในชั้นเรียน ร้อยละ 70 และการจัดซื้อสื่อนอกบัญชีของ สพฐ. ร้อยละ 50
  • ระดับผู้เรียน
    1. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง พบ นักเรียนมีความสุขมากขึ้น จากการติดตามการใช้นวัตกรรมของสถานศึกษานําร่อง พบ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน นักเรียนมีความสุขมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69 ซึ่งโรงเรียนมีการจัดสนามเด็กเล่น มีการจัดกิจกรรม Cup Song และมีสื่อที่หลากหลาย นอกจากนี้ พบ นักเรียนกลุ่มอ่อนมีความเข้าใจในการเรียนมากขึ้น ซึ่งจากผลการ ติดตามนักเรียนกลุ่มอ่อน พบว่า นักเรียนเก่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.53 กลุ่มปานกลางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.89
    2. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล พบ การสอนของครูผ่าน Satun Coaching Forum ทําให้เกิด (1) โรงเรียนปรับหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยโครงงานฐานวิจัย (2) ครูพานักเรียนค้นหาปัญหาในพื้นที่ (3) ครูพานักเรียนไปเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเข้าใจปัญหาและหาแนวทางแก้ไข และ (4) ครูประเมินการเรียนรู้แบบใหม่ท่ีไม่ใช่การสอบในกระดาษ
  • ข้อเสนอแนะ
    1. ให้กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้บทบาทการเป็นประธานคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บูรณาการยุทธศาสตร์และแผนการดําเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกัน โดยใช้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นแกนกลางในการบูรณาการ
    2. ให้กระทรวงมหาดไทยนําความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด ในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยให้ความสําคัญกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ท้ังนี้ 8 จังหวัดเดิม ควรดําเนินการแล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2567 สําหรับ 11 จังหวัดใหม่ ควรดําเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี
    3. ให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดําเนินการคัดเลือกและบรรจุแต่งต้ังผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อํานวยการสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อพิจารณาต่อที่ประชุม 4 เรื่องได้แก่

  1. การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

    มติที่ประชุม เห็นชอบการขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นการยืนยันตามมติเดิมของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการดําเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

  2. การกําหนดนโยบายและการกํากับดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

    เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีข้อมูลเพื่อใช้สําหรับกําหนดนโยบายและกํากับดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีกทั้งมีข้อมูลเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้นําแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษาไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและเอกชน ตลอดจนการออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การเงิน สิทธิประโยชน์ และการประเมินผล ภายในสถานศึกษานําร่อง จึงเห็นควรให้การกํากับดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

    มติที่ประชุม เห็นชอบแนวทางการกําหนดนโยบายและการกํากับดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยให้คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายงานผลการดําเนินงานตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และมอบฝ่ายเลขานุการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  3. การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตาม และประเมินผล ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

    การปรับโครงสร้างหรือองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตาม และ ประเมินผล โดยเพิ่มเติมผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษาอยู่ในระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการนโยบายและเช่ือมต่อสู่การ ปฏิบัติขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ รวมทั้งกํากับและติดตามให้เป็นเอกภาพขึ้น โดยเพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงาน ต่าง ๆ เป็นอนุกรรมการ

    มติที่ประชุม เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการ ด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตาม และประเมินผลในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยเพิ่มเติมอนุกรรมการ อีก ๓ ตําแหน่ง ดังนี้ (1) รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย (2) รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมาย (3)รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมอบหมาย

    ดูคำสั่ง

  4. การแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แทนตําแหน่งที่ว่างและการแก้ไขตําแหน่งกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

    มติที่ประชุม

    1. แต่งต้ังนายสุริยน สุริโยดร ผู้อํานวยการโรงเรียนแม่คือวิทยา เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษานําร่องหรือสถานศึกษาที่ประสงค์จะเป็น สถานศึกษานําร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในคําขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
    2. แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์สุบัน พรเวียง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
    3. แต่งตั้งนายจําลอง จันทรโชติ ผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์) เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษานําร่องหรือ สถานศึกษาที่ประสงค์จะเป็นสถานศึกษานําร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในคําขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา
    4. เห็นชอบการแก้ไขตําแหน่งของกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ยะลา จากรองศาสตราจารย์อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต เป็นศาสตราจารย์อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา
    5. แต่งตั้งนายเกษียร ไลยโฆษิต ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการ ที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    6. แต่งตั้งนายตุลย์ ศิริกิจพุทธิศักดิ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    7. มอบฝ่ายเลขานุการจัดทําประกาศเสนอประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพิจารณาลงนามต่อไป

    ดูประกาศ

    เชียงใหม่
    ยะลา
    สุราษฎร์ธานี

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     


ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ประชุมสร้างคู่มือประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนสพฐ. ลงพื้นที่รับฟังเสียงผู้เกี่ยวข้องก่อนนำร่องโมเดลบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สพป.บุรีรัมย์ เขต 1
บทความล่าสุด