สพฐ. มอบ ผอ.สพท. เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผอ.รร.นำร่อง เป็นคณะกรรมการไตรภาคี ร่วมเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมระดับเขตพื้นที่

8 กรกฎาคม 2024

ด้วยมติคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2567 เห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและกรอบการกำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้นำในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษานำร่องในสังกัด โดยบูรณาการแผนและงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งดำเนินการร่วมกันกับคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.ธนุ วงษ์จินดา) และผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. เห็นควรให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
  2. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่กำกับดูแลกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นรองประธานกรรมการ
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ
  4. ผู้บริหารสถานศึกษานำร่อง จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ
  5. ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยมี (ร่าง) หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

  1. เชื่อมโยงยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่แผนขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา สนับสนุนการปฏิบัติการและร่วมมือกับคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษานำร่องให้สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ด้วยการคิดค้น ทดลอง พัฒนา หรือนำนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นสำคัญ
  3. สร้างและพัฒนาระบบ กลไก หรือรูปแบบการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาหรือนำนวัตกรรมการศึกษาไปใช้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำร่อง
  4. ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงานตามข้อ 1 – 3 อย่างน้อย 4 ครั้ง ในหนึ่งปีการศึกษา ครั้งที่ 1 ภายในเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ 2 ภายในเดือนตุลาคม ครั้งที่ 3 ภายในเดือนมกราคม ครั้งที่ 4 ภายในเดือนเมษายน ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
  5. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
  6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมาย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้

  1. เสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันอุดมศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 3 คน
  2. เสนอชื่อกรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยคำนึงถึงความหลากหลาย การมีส่วนร่วม และความเหมาะสม จำนวน 3 คน
  3. แจ้งผลการดำเนินการ ตามแบบฟอร์มนี้ มายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์saraban@edusandbox.com ภายในวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 หรือเพื่อความสะดวก สพท. สามารถดำเนินการจัดส่งรายชื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้ทาง Google Forms นี้ อีกหนึ่งช่องทาง

Download เอกสารช่องทางการจัดส่งได้ที่:

ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 

Facebook Comments
สร้างความเข้าใจนโยบายและแผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 10 จังหวัดเปิดโครงการวิจัยศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด