เปิดโครงการวิจัยศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 67 นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งจะมีการจัดประชุมระหว่าง 9 – 12 ก.ค. 67 ณ โรงแรม ฮิพ กรุงเทพฯ
ในการประชุมฯ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้แนะนำนรายละเอียดของคณะทำงานย่อย ชุดที่ 1 ชื่อว่า “คณะทำงานศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยผลกระทบกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะย่อยของคณะทำงานดำเนินงานการประชุมเชิงปฏิบัติการการศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งคณะทำงานย่อยชุดที่ 1 นี้จะประกอบด้วย
- ผอ.สพท.
- รอง ผอ.สพท.
- ผอ.รร. รอง
- ผอ.รร.
- ศน.
- ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการกระบวนวิจัย พร้อมพัฒนาเครื่องมือและประสานเก็บข้อมูลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และเผยแพร่ผลการวิจัยผ่านช่องทางที่เหมาะสม จากนั้น ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ DNA และการเป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้วยแนวคิด 7 Changes Whole School Transforming ดังนี้
7 Changes Whole School Transforming
ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ซึ่งได้อธิบายการเชื่อมโยงโครงการวิจัยฯ ไปสู่ DNA ของการเป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนทั้งระบบ 7 ประการ และเพื่อตอบคำถามการเป็นสถานศึกษานำร่อง ดังนี้
- School concept โรงเรียนนำบริบทเชิงพื้นที่มาใช้ในการจัดการศึกษาอย่างไร
- School Direction ผู้อำนวยการสถานศึกษาแสดงภาวะผู้นำหรือเป็น Super Coach อย่างไร
- Teacher ครูจัดการเรียนรู้อย่างไร เป็นนักออกแบบการเรียนรู้อย่างไร
- Learning Space พื้นที่การจัดการเรียนรู้ที่ทำได้มากกว่าแค่ห้องเรียน 5X9 หรือไม่ อย่างไร
- Pedagogy การจัดการเรียนรู้ของครูเป็นอย่างไร (OLE / K+S+A=C)
- Curriculum มีการปรับและพัฒนาหลักสูตรตามบริบทพื้นที่อย่างไร
- Evaluation การวัดและการประเมินผลแตกต่างจากโรงเรียนอื่น ๆ อย่างไร
ในช่วงก่อนการเริ่มการประชุม นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผอ.สบน. ได้บรรยายความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวที่มาและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายให้กับคณะทำงานเพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน และได้ชี้แจงวัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยฯ ซึ่งประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ 3 ประการ คือ
- การสร้างองค์ความรู้และผลกระทบเชิงประจักษ์ ทั้งใดด้านเชิงบวกและเชิงลบ
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรค เพื่อกำแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น
- ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนากฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ต่อมา นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. ในฐานะรองประธานคณะทำงาน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นประธานดำเนินโครงการฯ ได้นำเสนอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการปัจจุบัน และที่มา เพื่อให้การดำเนินโครงการวิจัยฯ เป็นไปด้วยความเรียบและเห็นประเด็นที่ตรงกัน ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดโครงการวิจัยฯ ที่จะดำเนินการ 3 ระยะ ครั้งนี้เป็นระยะแรก รายละเอียดแผนผังกระบวนการดำเนินโครงการวิจัยทั้ง 3 ระยะ ดังภาพ
บรรยากาศ
ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
ผู้เขียน: อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์