ปลุกพลังความคิด รวมพลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สุโขทัย

25 กรกฎาคม 2024

นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้แนวคิด 3S ได้แก่ Stay, Stop และ Start ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดสุโขทัย โดยแนวคิดดังกล่าวจะช่วยให้โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินและวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ มองเห็นจุดที่ควรพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่ดีอยู่แล้ว หยุดทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และริเริ่มทำสิ่งใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษาได้อย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2667 ณ ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และปลุกพลังความคิด รวมพลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีนายวัลลภ วิบูลย์กูล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กล่าวต้อนรับประธานและคณะทำงานจากส่วนกลาง

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และปลุกพลังความคิด รวมพลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สุโขทัย อีกทั้งยังเป็นการกำกับ ติดตามและรับฟังความก้าวหน้าการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ทั้งด้านเสริมหนุนและข้อจำกัดที่ยังทำให้การขับเคลื่อนงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมได้มีโอกาสร่วมกันแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เป้าหมายของกันและกันเพื่อปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของตน

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี พร้อมคณะ นายธวัชชัย ชูหน้า ศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย นายวัลลภ วิบูลย์กูล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 นายวรรณที ศรีโนนยาง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 นายวัลลภ เอี่ยมมะ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 นายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนนำร่อง ทั้ง 31 โรงเรียน

ในช่วงแรกนายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน”จากนั้นได้เป็นการนำเสนอภาพรวมการขับเคลื่อนงานฯ ของจังหวัดสุโขทัย โดย ศธจ. ต่อด้วยการนำเสนอของ สพป.สุโขทัย เขต 1สพป.สุโขทัย เขต 2 และ สพม.สุโขทัย ตามลำดับ จากนั้น ท่านประธานได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ บึงบัว เป็นผู้ดำเนินกระบวนการกลุ่มเชิงปฏิบัติการโดยมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 5 กลุ่ม ร่วมกันระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งประเด็น 3S ได้แก่ Stay Stop และ Start ประเด็นละ 10 ข้อ/กลุ่ม ซึ่งได้มาจากการเขียนคนละ 10 ข้อต่อประเด็น จากนั้นให้แต่ละกลุ่มระดมสมองช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เหลือแค่ 10 ข้อในแต่ละประเด็น เป็นความเห็นภาพรวมของกลุ่ม

ทั้งนี้โดยสรุปจากการบรรยายของนายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจากคำชี้แจงของนายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีคำว่า Stay Stop และ Start ในบริบทของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความหมาย ว่า

Stay: สิ่งที่โรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำอยู่แล้วและควรจะทำต่อไป เพราะว่ามันมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพดี เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การสนับสนุนครูและนักเรียนในด้านต่าง ๆ เป็นต้น

Stop: สิ่งที่โรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำอยู่ แต่ควรหยุดทำเพราะว่ามันไม่ได้ผลหรือมีผลเสีย เช่น กระบวนการที่ไม่เป็นประโยชน์ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

Start: สิ่งใหม่ที่โรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดควรเริ่มทำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานหรือเพิ่มคุณภาพการศึกษา เช่น การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ การเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใหม่ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนได้ เป็นต้น

 

ภาพรวมการทำกิจกรรม Workshop ด้วยการใช้แนวคิด 3S Stay Stop Start สามารถช่วยให้โรงเรียน หรือ สำนักงานเขตพื้นที่หรือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สามารถประเมินและวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ มองเห็นจุดที่ควรนำไปดำเนินการปรับปรุง พัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว  มองเห็นจุดที่ควรหยุดทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และมองเห็นสิ่งสิ่งที่ควรริเริ่มทำสิ่งใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัยได้

 

ภาพบรรยากาศ Workshop https://drive.google.com/drive/folders/1jCvmXuR8yo3WbFoLZ9CnxQji1BHEGand?usp=drive_link

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์

Facebook Comments
การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยการประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความเข้าใจ นโยบายสู่การปฏิบัติ การเตรียมความสู่การเป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
บทความล่าสุด