การประชุมประธานกรรมการและเลขานุการ กขน. ระดับ สพท. และ สศศ.

29 ตุลาคม 2024

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 สพฐ. โดย สบน. ได้จัดการประชุมประธานกรรมการและเลขานุการ ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meetings) โดยมี นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  และผู้เข้าร่วมประชุมจากคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 140 คน จาก 70 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผอ. สบน. ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ ทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และชี้แจงการรายงานแบบสรุปผลการดำเนินงานฯ และต่อมา นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ได้เน้นย้ำว่า ขอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการการศึกษา ของ สพฐ. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ กพฐ. ร่วมกันขับเคลื่อนสถานศึกษานำร่อง พาคิด พาทำ ชวนคิด ชวนทำ ชวนคุย ให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ” และให้คณะกรรมการฯ ช่วยติดตามดูแลโรงเรียน ในการใช้งบประมาณว่าโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไร ทำอะไรบ้าง มีปัญหาอะไร และโรงเรียนได้พัฒนานวัตกรรมอะไรบ้าง และนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการประชุมรายงานความก้าวหน้าในแต่ละเดือน  รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้มีการติดตาม กำกับ ดูแลการทำแผนการใช้งบประมาณ โดยดูว่าแผนแต่ละโรงเรียนมีความเป็นไปได้ มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง สามารถตั้งตัวชี้วัดเป็นรายเดือนและรายสัปดาห์ได้หรือไม่และตัวชี้วัดมีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับเป้าหมายที่โรงเรียนได้ตั้งไว้หรือไม่ ทั้งนี้การดำเนินงานให้ยึดนโยบาย พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  “ทำดี ทำได้ ทำทันที” และ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด”

ทั้งนี้ นางสาววงเดือน สุวรรณศิริ รอง ผอ.สบน. ได้ชี้แจง กรอบการรายงานแบบสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยมีประเด็น ดังนี้

  1. รายงานแผนปฏิบัติการประจำปีในการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หัวข้อดังนี้
  • การติดตามการทำแผนปฏิบัติการใช้งบประมาณประจำปีของแต่ละโรงเรียน
  • รายงานความคืบหน้าการทำแผนการใช้งบประมาณประจำปีของแต่ละโรงเรียน โดยแยกตาม จังหวัด ขนาดสถานศึกษา และที่ตั้งสถานศึกษา

  1. ชี้แจง Timeline การโอนจัดสรรให้สถานศึกษานำร่อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่ง สบน. ได้แจ้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดให้ส่งสำเนาประกาศกำหนดประเภทสถานศึกษาและที่ตั้งของสถานศึกษานำร่อง สำหรับการจัดสรรงบประมาณ ในปี 2568 แล้ว
  2. ชี้แจงกรอบการรายงานสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีประเด็น ดังนี้
  • เชื่อมโยงยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่แผนขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา สนับสนุนการปฎิบัติการและร่วมมือกับคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนด้วยการคิดค้น ทดลอง พัฒนา หรือนำนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นสำคัญ
  • สร้างและพัฒนาระบบ กลไก หรือรูปแบบการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาหรือนำนวัตกรรมการศึกษาไปใช้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • สถานศึกษาที่มีความโดดเด่นสามารถเป็นต้นแบบได้

ในช่วงสุดท้าย นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผอ. สบน. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และตอบประเด็นคำถามของผู้เข้าประชุม เรื่องบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กขน.) ของจังหวัดและคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของ สพท. ที่ต้องดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  ทั้งนี้ นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ได้เน้นย้ำถึงเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต ของการดำเนินงาน และขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้กำกับดูแลสถานศึกษานำร่องในการใช้งบประมาณอย่างตรงวัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน สนับสนุนช่วยเหลือการจัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


writter & Design : นางสาวธันย์ชนกโครธาสุวรรณ และนางสาวฮานาน สามะ

Facebook Comments
เชื่อมโยงภูมิปัญญา สู่นวัตกรรมการศึกษา “ผ้าย้อมดิน ถิ่นตลิ่งชัน”บรรณาธิการกิจรายงานผลกระทบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
บทความล่าสุด