“พลเมืองโลกยุคใหม่ เข้าใจสังคม” มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย “จับมือ” กรุงเทพมหานคร นำร่องพื้นที่นวัตกรรมฯ โรงเรียนเสนนิคมฯ กทม.

27 พฤศจิกายน 2024
“พลเมืองโลกยุคใหม่ เข้าใจสังคม” มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย “จับมือ” กรุงเทพมหานคร นำร่องพื้นที่นวัตกรรมฯ โรงเรียนเสนนิคมฯ กทม.

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรรมการมูลนิธิการศึกษา และวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และ เอเอฟเอส ประเทศไทย ว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวศุภร คุ้มวงศ์ รองผู้อํานวยการสํานักการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อํานวยการใหญ่ พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ ร่วมพิธี ณ ศาลาว่าการ กทม. โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร ให้มีองค์ความรู้และเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Intercultural Learning) รวมทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีทักษะด้านความฉลาดทางวัฒนธรรม (CQ: Cultural Intelligence) เพื่อก้าวสู่การเป็น พลเมืองโลกที่มีคุณภาพ นับว่าเป็นความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและเป็นการปลูกเม็ดพันธุ์การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ สังคมและโลกอย่างยั่งยืน

ภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลง เอเอฟเอส ประเทศไทย ได้ดําเนินการวางแผนพัฒนาหลักสูตรโครงการพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา (Education Sandbox) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ร่วมกับ โรงเรียนเสนานิคม เขตจตุจักร โดยได้บูรณาการความรู้ด้านความฉลาดทางวัฒนธรรม (CQ: Cultural Intelligence) ผ่านการ เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Intercultural Learning) และส่งเสริมให้นักเรียนก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ (Active Global Citizen) ผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ในรายวิชาชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการดําเนินงาน 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. อบรมครูผู้รับผิดชอบรายวิชาชุมนุมในหัวข้อเรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ผ่านหลักสูตรออนไลน์ Foundations of Intercultural Learning and Global Competence เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
  2. โรงเรียนจัดตั้งรายวิชาชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ (วิชาเลือก)
  3. ครูนําความรู้ที่ได้รับการจากเข้าอบรมมาถ่ายทอดในห้องเรียน ผ่านหัวข้อการเรียนที่ครอบคลุมความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น Iceberg Model, Stereotypes and Generalizations, Cultural Value Dimensions เป็นต้น
  4. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายทางสังคมรวมถึงตระหนักในความต้องการของชุมชน เพื่อการเป็นพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลกอย่างแท้จริง

หลักการสําคัญของชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นการส่งต่อการพัฒนาครูสู่ห้องเรียนและสู่ ชุมชน โดยการบูรณาการระหว่าง 3 ส่วนสําคัญ ได้แก่ ครู (ตัวกลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้), ห้องเรียน (พื้นที่ของการเรียนรู้), และชุมชน (ส่วนขยายการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการเรียนรู้ของเอเอฟเอส

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เอเอฟเอส ประเทศไทย คาดหวังให้เกิดภายใต้การบูรณาการในครั้งนี้ คือการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนที่ยังไม่มีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมยังต่างประเทศ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ด้าน ความฉลาดทางวัฒนธรรม มีความเข้าใจในความหลากหลายทางสังคม โดยสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง และ เป็นตัวอย่างของพลเมืองโลกที่มีคุณภาพทตี่ ระหนักในความต้องการของชุมชนและส่งต่อประโยชน์ให้กับชุมชนต่อไปได้

 


ที่มา : มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
นวัตกรรมการศึกษา รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา BTC by 6A สู่ 3Q: Quality
บทความล่าสุด