เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2562 เมื่อวานนี้ นายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา TDRI ได้ประชุมนอกรอบกับ เพื่อขับเคลื่อนงานตามที่ได้รับมอบหมาย https://www.edusandbox.com/how2manage-budget/ กับ นายพิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สบน และนายเก ประเสริฐสังข์ ผอ.กลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม สบน. ซึ่งประเด็นหลักในการพูดคุยกันครั้งนี้คือการนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงบเงินอุดหนุนและงบดำเนินงานปีที่ผ่านมาของ สพฐ. ที่จะใช้เป็นฐานในการจัดทำข้อเสนอการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อการสนับสนุนโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ สพฐ. จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนนำร่องโดยตรง และเป็นงบเงินอุดหนุนทั่วไป ซึ่งทางเลือกที่เป็นไปได้ของสูตรการจัดสรรงบประมาณ แบบไม่เพิ่มภาระงบประมาณ อาจใช้สุตรการบริหารจัดการงบประมาณโดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่ A+B+C+D ซึ่งแต่ละตัวจะมีความหมายดังนี้
A: องค์ประกอบที่ 1 ความจําเป็นพื้นฐานของนักเรียน
A1: จํานวนและตามระดับการศึกษาของนักเรียน (เรียนฟรี 15 ปี)
B: องค์ประกอบที่ 2 ความจําเป็นเพิ่มเติมของนักเรียน
B1: สถานะทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนนักเรียน
B1.1: เงินปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน (สพฐ. ให้อยู่แล้ว)
B1.2: เงินอุดหนุนสําหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กสศ. เป็นคนให้)
C: องค์ประกอบที่ 3 ด้านการส่งเสริมหลักสูตร
C1: ส่งเสริมหลักสูตรตามนวัตกรรมการศึกษา (เงินตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
D: องค์ประกอบที่ 4 ด้านความจําเป็นตามสภาพพื้นที่ ที่ตั้งของโรงเรียน
D1: ขนาดของโรงเรียน (เงินรายหัว Top Up โรงเรียนขนาดเล็ก)
D2a: ค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ (เงินตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)*
D2b: ต้นทุนค่าสื่อการเรียนการสอนที่แท้จริงในพื้นที่ (เงินตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)*
หมายเหตุ * กําลังพิจารณา
ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกดังกล่าวที่ประชุมได้มอบให้ TDRI และ สบน. คือ นายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ และนายเก ประเสริฐสังข์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ ตัวเลขงบประมาณและจัดทำเป็นข้อเสนอทางเลือกต่างๆ เพื่อนำเสนอนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานร่วมระหว่าง สพฐ. TDRI และผู้ทรงคุณวุฒิ ในลำดับต่อไป
Written by เก ประเสริฐสังข์
Photo by เนตรทราย แสงธูป
Artwork by เก ประเสริฐสังข์