โรงเรียนบ้านหนองม่วง พื้นที่นวัตกรรมระยอง เตรียมความพร้อมสู่ School concept ใน 9 ประเด็น ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563

31 มกราคม 2020

โรงเรียนบ้านหนองม่วง สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ได้ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านหนองม่วง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยมีประเด็นตามรูปที่ 1

รูปที่ 1 ประเด็นเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1/2563 สถานศึกษานำร่อง ระยอง ที่มา : นงนุช อุทัยศรี

ที่ประชุมได้ประเมินความพร้อมด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนบ้านหนองม่วง สรุปได้ดังนี้

1. ด้านจุดเน้น มีจุดเน้นของโรงเรียนชัดเจน คือ Young AI School

2. ด้านหลักสูตร มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นฐานสมรรถนะเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองอนุมัติให้ใช้

3. ด้านนักเรียน นักเรียนยังมีพื้นฐานความรู้ไม่พอเพียงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ถึงจุดเน้นของโรงเรียน ที่ประชุมจึงได้วางมาตรฐานความรู้พื้นฐานขั้นต่ำตามระดับชั้น ดังต่อไปนี้

หมายเหตุ โรงเรียนมีการจัดกลุ่มนักเรียนในระดับชั้น ป. 1-6 ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 การจัดกลุ่มนักเรียนชั้น ป. 1-6 ที่มา : ภควัต กองชา

4. ด้านครูผู้สอน ครูยังขาดความชัดเจนในสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ยังไม่เท่าทันสื่อเทคโนโลยี จึงได้วางแผนเพื่อพัฒนา ปรับmindset`ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เป็น digital disruption ได้

5. ด้านหน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้เดิมของโรงเรียนยังเป็นหน่วยวิชาหลักที่กระจัดกระจายและเป็น Rayong MARCO ที่ยังต้องปรับ เพื่อให้สามารถนำนักเรียนไปถึงจุดเน้นของโรงเรียนให้ได้มากขึ้นกว่าเดิม

รูปที่ 3 แนวคิดการวางแผนหน่วยการเรียนรู้ที่ต้องสอดคล้องกันตลอดแนว ที่มา : เรไร สารราษฎร์

6. ด้านทรัพยากร จากปัญหาที่โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้วิชาบูรณาการซึ่งใช้อุปกรณ์เป็นระบบอัตโนมัติโดยสั่งทางอินเทอร์เน็ตและโรงเรียนไม่ได้วางแผนด้านทรัพยากรให้เพียงพอ บางครั้งอุปกรณ์บางตัวเสียหายจึงทำให้ขาดแคลนและไม่ทันต่อการใช้งาน ดังนั้นโรงเรียนจะต้องวางแผนด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เพียงพอ พร้อมใช้งาน

7. ด้านข้อมูลสารสนเทศ บริบทรอบโรงเรียน ชุมชน ความต้องการของนักเรียน ยังต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย

8. ด้านผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนได้มีการประชุมเพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนโรงเรียน โดยเชิญชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรภายนอก และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และวางแผนที่จะมีการประชุมอีกอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านได้ทราบพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

9. ด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารยังต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะในอีกหลายด้าน เพื่อให้เป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทำเพื่อนักเรียนได้อย่างแท้จริง

ที่ประชุมได้สรุปผลการประเมินความพร้อมด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 และจะประชุมเตรียมงานกันอีกครั้งในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

รูป บรรยากาศการประชุม ที่มา : เรไร สารราษฎร์

Written by ผอ.เรไร สารราษฎร์ (ผอ.รร.บ้านหนองม่วง)
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อหารือของ สพฐ. เกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการคัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำรา หรือสื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาผู้ว่าฯ ศรีสะเกษฯ ชู “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์จังหวัด เดินหน้าผนึกกำลัง “ชวนคิด-ชวนทำ” เชื่อมโยงกลไกความร่วมมือของ “คนในพื้นที่” และ “ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา” จัดทำ (ร่าง) กรอบหลักสูตรจังหวัดฐานสมรรถนะ
บทความล่าสุด