4 เขตพื้นที่เชียงใหม่ สร้างความเข้าใจ รร.นำร่อง เตรียมปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรม

3 มีนาคม 2020

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เขต 2 เขต 4 และเขต 5 ร่วมจัดประชุมเตรียมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่  ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยได้รับเกียรติจากท่าน ดร.รตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิด

การจัดประชุมในครั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมฯ ยังขาดความชัดเจน ขาดความมั่นใจ ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในเรื่องของสิทธิหน้าที่ ที่โรงเรียนสามารถปฏิบัติได้ ในเรื่องของการปรับหลักสูตรแกนกลางฯ ตาม พ.ร.บ.นที่นวัตกรรมการศึกษา ลงสู่หลักสูตรสถานศึกษา การเชื่อมโยงวิเคราะห์มาตรฐาน การออกแบบกระบวนการเรียน 

ดร.รตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ได้กล่าวถึงแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ของเขตพื้นที่การศึกษา ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ดร.สุทธิชัย เดชสุวรรณนิธิ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้กล่าวถึงแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ของเขตพื้นที่การศึกษา ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ดร.พิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. ได้กล่าวถึง การปฏิบัติการออกแบบสิ่งที่โรงเรียนนำร่องต้องดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน
– ความพร้อมด้านหลักสูตรสถานศึกษา
– ความพร้อมด้านสื่อการเรียนรู้และการประเมิน
– ความพร้อมด้านสมรรถนะครูและบุคลากร
– ความพร้อมด้านระบบกลไกการจัดการศึกษาร่วมกัน

ดร.ชยพร  กระต่ายทอง ผอ.กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ สพฐ. ได้กล่าวถึง การปรับหลักสูตรแกนกลางฯ ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และแนวคิดการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

ในการจัดอบรมในครั้งนี้ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1, 2, 4, 5 ได้ร่วมประชุมวางแผนวิทยากรช่วยให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบัติกำหนดเป้าหมาย จุดเน้น ของโรงเรียน วิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนสิ่งดีและมีคุณค่าของชุมชน ที่ต้องการอนุรักษ์และ ต้องการส่งเสริม ในเรื่องของผู้เรียนต้องรู้และโรงเรียนต้องการส่งเสริมให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน การเชื่อมโยงวิเคราะห์มาตรฐาน ว่าเกี่ยวข้องกับมาตรฐานใดบ้าง (อิงมาตรฐาน) การออกแบบกระบวนการเรียนรู้และออกแบบรายละเอียดกิจกรรมแต่ละขั้นตอน การนำกิจกรรมที่ออกแบบไว้มาเช็คกับสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้

สิ่งที่ได้หลังการจัดประชุมในครั้งนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ได้ทราบถึงความชัดเจนถึงแนวทางในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ เข้าใจในเรื่องของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อนิเทศติดตาม ให้คำแนะนำเป็นพี่เลี้ยง ในการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนนั้น ๆ

โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ความชัดเจนสิทธิหน้าที่ ที่โรงเรียนสามารถปฏิบัติได้ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนสามารถวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนในสิ่งที่ต้องการส่งเสริมโดยให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โรงเรียนได้ความชัดเจนในการปรับหลักสูตรสถานศึกษา ว่าโรงเรียนสามารถปรับอะไรได้บ้าง (ปรับเล็ก, ปรับใหญ่)  โรงเรียนสามารถวิเคราะห์มาตรฐาน ออกแบบกระบวนการเรียนการสอน ให้ครอบคลุมกับสมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มารตรฐานการเรียนรู้ และการออกแบบการวัดและประเมินผล

ในฐานะผู้ประสานงาน และผู้รับผิดชอบโครงการในการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้ ได้รับประโยชน์อย่างสูงจากการประชุมและเห็นการเปลี่ยนแปลง ความชัดเจน (จาการสอบถามผู้เข้าร่วมการประชุม) ของการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าโรงเรียนได้รับความชัดเจนในการดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนของตนเอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และพร้อมที่จะขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ในสังกัดพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

ในนามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2 และโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ขอขอบพระคุณ ดร.พิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. และท่าน ดร.ชยพร  กระต่ายทอง ผอ.กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ สพฐ. ที่มาสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความชัดเจน แนวทางการปฏิบัติ ทำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1, 2, 4, 5 และโรงเรียนนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ “มีเป้าหมายที่ชัดเจน”


ผู้เขียน: พรศิริ โยศรีคูณ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.เชียงใหม่ เขต 2
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: รุ่งศักดิ์ ชัยชนะสีพลี นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ, กรวัฒน์ ชื่นเย็น เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ 

Facebook Comments
พื้นที่นวัตกรรมสตูล ทุกคนคือครูของเด็ก ๆพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา : การวิจัยภาคสนามที่ยิ่งใหญ่
บทความล่าสุด