ประชุมนัดแรก คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

21 สิงหาคม 2020

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563  คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ได้จัดประชุมครั้งที่ 1/2563  ณ ห้องกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  อาคาร เอส.พี. ชั้น 13 ถนนพหลโยธินกรุงเทพมหานคร นำโดยนางปิยาภรณ์  มัณฑะจิตร ดำรงตำแหน่งประธานอนุกรรมการ พร้อมคณะอนุกรรมการ (รศ.วิลาสินี  พิพิธกุล นางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน นายสมพงษ์  หลีเคราะห์ นายธีร์  ภวังคนันท์ นายพิทักษ์  โสตถยาคม) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจาก สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) TDRI และ มูลนิธิสยามกัมมาจล เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ประธานอนุกรรมการ ได้ใช้เวลาในช่วงแรกนำเสนอให้ที่ประชุมทราบ เกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตั้งแต่ก่อนมี พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้กรรมการทุกท่านได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการแห่งความเป็นมากว่าจะมาเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากนั้นประธานคณะอนุกรรมการได้เชิญชวนให้ที่ประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น พร้อมตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมประชุมมองเห็นความท้าทายหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการมีส่วนร่วม

อย่างไร ที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถสรุปประเด็น/ข้อคิดเห็นของคณะอนุกรรมการ การสื่อสารและการมีส่วนร่วม เห็นควรจะต้องแบ่งการสื่อสารเป็น 4 ระดับ โดยเริ่มจาก 1. การสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสังคมที่มีต่อการศึกษา 2. การสื่อสารเชิงโมเดล 3. การสื่อสารเพื่อให้กำลังใจหรือสร้างแรงบันดาลใจ 4. การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมซึ่งประเด็นนี้ต้องนึกถึงการเปิดพื้นสาธารณะที่จะทำให้ทั้งสังคมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมติดตามต้องตั้งประเด็นปัญหา ความท้าทาย ว่าอดีตมีปัญหาอย่างไร ปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีใด กลไกความร่วมมือด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมระดับใหญ่ ควรเชิญองค์กรสื่อสารต่าง ๆ มาร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน ถ้าเป็นระดับการนำเสนอเชิงพื้นที่ สื่อในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มูลนิธิสยามกัมมาจล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องออกแบบการทำงานร่วมกัน

ทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีเมื่อทาง รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส Thai PBS หนึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ได้แสดงความยินดีที่จะร่วมกันขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เนื่องจากพันธกิจของ Thai PBS ตอบสนองเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้มีบริการใหม่คือ Active Learning TV เพื่อรองรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผลักดันความสำเร็จของการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ และช่องทางนี้สามารถใช้เป็นช่องทางขยายผลนำไปสู่พื้นที่อื่น สร้างการรับรู้ ในวงกว้าง ซึ่งทางอนุฯ ชุดนี้ต้องมาออกแบบการทำงานร่วมกันกับ Thai PBS

ภาพรวมการขับเคลื่อนงานสื่อสารของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบัน สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้มีการขับเคลื่อนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผ่านเว็บไซต์ www.EduSandbox.com ถือเป็นความสำเร็จเบื้องต้น ดังภาพประกอบ

รูปแบบการสื่อสารสังคมผ่านสื่อออนไลน์ ของสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ภาพรวมผลลัพธ์การสื่อสารสังคมผ่านสื่อออนไลน์ ของสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ในส่วนบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ที่ประชุมได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับมีมติดังต่อไปนี้

1) เสนอแนวทางในการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมไทยร่วมปฏิรูปการศึกษาต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2) ร่วมผลักดันให้เกิดการรับรู้ เกิดกระแสสังคมในการเข้าร่วมปฏิรูปการศึกษา
3) กลั่นกรองเรื่องที่จะเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามอบหมาย

จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม โดยแบ่งเป็น 4 หมวดดังนี้

หมวดที่ 1 เสริมศักยภาพการสื่อสารในพื้นที่ จังหวัด และส่วนกลาง อาทิเช่น

  1. เสริมพลังคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุกจังหวัดให้สามารถประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. เสริมศักยภาพด้านการสื่อสารกระบวนการและผลการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้กับบุคลากรหลัก ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  3. พัฒนาแพลตฟอร์มกลาง “https://www.edusandbox.com/” ให้เป็นสื่อกลางและแหล่งเรียนรู้ ทุกมิติเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และข้อค้นพบจากการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

หมวดที่ 2 การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม อาทิเช่น

  1. ดึงการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน/องค์กรด้านสื่อสารมวลชนเพื่อร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง และร่วมสื่อสารงานด้านพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่สาธารณะ
  2. พัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. ทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนร่วมในการนำเสนอหลักการแนวคิดและความก้าวหน้าของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  3. การสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจเข้ามาขับคลื่อนเช่น การสร้างการรับรู้แบบ Mass media การสื่อสารเพื่อให้กำลังใจหรือสร้างแรงบันดาลใจ และการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสังคมที่มีต่อการศึกษา

หมวดที่ 3 การสร้างการรับรู้ กระแสสังคม ในการปฏิรูปการศึกษา อาทิเช่น

  1. จุดประสงค์เพื่อให้สังคมไทยได้รับรู้ว่าแนวคิดการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป
  2. ให้สังคมตระหนักในการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมจัดการ และร่วมรับผิดชอบ

หมวดที่ 4 วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม

ที่ประชุมมีมติเสนอให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม กับคณะอนุกรรมการ บุคลากรที่มีส่วนร่วมในระดับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เช่น ครู โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสาร Active group เพื่อจัดทำแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสื่อสารและการมีส่วนร่วม และมอบให้นางรัตนา กิติกร ประสานงานในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายในระยะเวลา ๑ เดือนหลังจากการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2563


ผู้เขียน: ศศิธร สวัสดี
กราฟิกดีไซน์เนอร์: ศศิธร สวัสดี, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ด่วน! สพฐ. ขอความร่วมมือโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุกสังกัด ให้ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการ แนวปฏิบัติ เพื่อปลดล็อกด้านสื่อการเรียนการสอน เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการฯ วิชาการ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาผลการประชุมนัดแรก คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารงบประมาณในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด