ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชี้แจงภารกิจ สบน. ต่อที่ประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

18 พฤศจิกายน 2020

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานชี้แจงภารกิจและแนวทางการทำงานของสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในระหว่าง การประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2563 ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดังนี้

1. สบน. เป็นสำนักที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งขณะนี้มีจังหวัดที่เป็นพื้นที่นำร่อง 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงใหม่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ระยอง ศรีสะเกษ และสตูล โดยการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานั้นสอดคล้องกับนโยบายของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. ที่เน้น “ใช้พื้นที่เป็นฐาน ขับเคลื่อนคุณภาพ ใช้นวัตกรรม ขับเคลื่อนความสำเร็จ” อันถือเป็นอีกหนึ่งการผลักดันให้เป็นพื้นที่นำร่องในการปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาระดับประเทศ

2. บทบาทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน นำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในสังกัด ควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

  • ช่วย “เป็นผู้คอยช่วยเหลือโรงเรียนนำร่องในการปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของประเทศ
  • เชียร์ “เป็นพี่เลี้ยง โค้ช และที่ปรึกษา คอยกระตุ้น เสริมพลังสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับโรงเรียนนำร่องเพื่อต่อยอดพัฒนานวัตกรรมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ (พัฒนาการของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ สมรรถนะ ทักษะ และเจตคติ)”
  • เชื่อม “เป็นผู้เชื่อมประสานการทำงานระหว่าง คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และภาคีเครือข่าย”
  • ชง “เป็นผู้ชงข้อเสนอปลดล็อกระเบียบที่เป็นอุปสรรค ผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อส่งต่อให้กับสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ ต่อไป”

3. จุดเน้นของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เป็นการประกาศรายจังหวัดแต่ปฏิบัติการที่โรงเรียนนำร่อง เพื่อเป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ

  • พัฒนาและขยายผลนวัตกรรม เพิ่มคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน
  • ลดความเหลื่อมล้ำ
  • เน้นการมีส่วนร่วม
  • กระจายอำนาจ/เพิ่มความคล่องตัวให้โรงเรียน/เขตพื้นที่/หน่วยงานทางการศึกษา

ผลลัพธ์การของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายหลักของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคือการขับเคลื่อนงานมุ่งเน้นให้เกิด

1) เปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพแบบ Bottom up นำการเปลี่ยนแปลงโดยต้นสังกัด (สพท./สพฐ.) ร่วมเป็นเจ้าภาพอย่างจริงจัง หวังผลใน 7 ปี (พ.ศ. 2562 – 2569)
2) เปิดกว้าง มีคณะกรรมการขับเคลื่อนเปิดกว้างสร้างกลไกการร่วมมือ รวมพลังทุกภาคส่วน
3) ปลดล็อก มีคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คอยช่วยปลดล็อก หนุนเสริมเชิงนโยบาย โดยสิ่งสำคัญ คือ ต้องสร้างความสอดคล้อง/ร้อยรัดกันทุกองค์ประกอบของการจัดการศึกษาในพื้นที่สอดคล้อง/ร้อยรัดไปด้วยกัน ทั้งด้านหลักสูตร การสอน สื่อการสอน การวัดประเมินผล การประกันคุณภาพ งานบุคคล งบประมาณ และการบริหารจัดการ

ทั้งนี้จึงขอความร่วมมือจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ถือเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง พัฒนา ปฏิรูป ในการร่วมกันใช้โอกาสของการมี พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนนำร่องไปพร้อม ๆ กัน


ผู้เขียน: นิฎฐา ขุนนุช
กราฟิกดีไซน์เนอร์: ศศิธร สวัสดี, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี สร้างความเข้าใจ บทบาทของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่การศึกษาคุยนอกรอบ พัฒนากรอบการทำงาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ ผอ.สบน. พร้อมทีมงาน ร่วมปรึกษาหารือนอกรอบเพื่อปรับปรุงแผนและแนวทางในการทำงาน ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทความล่าสุด