การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย

17 กรกฎาคม 2024

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 5,000,000 บาท โดยนายรองฤทธิ์ ไกรกิจราษฎร์ (หัวหน้าโครงการวิจัย) สังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย” โดยมีสถานที่ทำวิจัย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เริ่มต้นทำวิจัยตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

  1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการของระบบการศึกษาที่นำไปสู่การบูรณาการ เชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิดการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาส และผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
  2. เพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาทางนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
  3. เพื่อขยายผลองค์ความรู้ และพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุโขทัย

งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก ผู้ให้ข้อมูลจากสมัชชาการศึกษาจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ครูและผู้บริหารสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชนในพื้นที่นำร่อง 9 อำเภอ ซึ่งคัดเลือกพื้นที่ที่มีความยากจนมากที่สุดของอำเภอจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าและมีจำนวนเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษามากที่สุดของอำเภอ และนำข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยตัวของผู้วิจัยเอง และโดยรวบรวมประเด็นที่สำคัญและข้อสรุป และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ (Analytic Induction) ซึ่งเป็นการตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า

1) สภาพปัญหาของระบบการศึกษาเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนขาดการบูรณาการการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชน นักวิชาการ และผู้ประกอบการที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา จึงมีความต้องการการบูรณาการเชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิด การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชน

2) การพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการบูรณาการเชิงนโยบายสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาพร้อมกับระบบนิเวศการศึกษาสามารถสร้างการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และเกิดการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ชุมชน

3) การขยายผลเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของบริบทพื้นที่พบว่าการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาต้องสร้างการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ชุมชนให้กับสถานศึกษา

ที่มา https://pmua.or.th/research/a15f640071/?d=1

Download รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ >>1. A15F640071 – ED ศธจ.สุโขทัย.pdf<<<

 

 

 

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์

Facebook Comments
บพท. เผยแพร่รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ประกอบระบบการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”ปลุกพลังความคิด รวมพลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สุโขทัย
บทความล่าสุด