การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

1 สิงหาคม 2024

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์วิจัย 4 ข้อ ได้แก่

  1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
  2. เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
  3. เพื่อศึกษากลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาจังหวัดระยองที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
  4. เพื่อพัฒนานักวิจัยชุมชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียนและพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

การดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการผ่านโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง และ การศึกษากลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับจังหวัดและพัฒนานักวิจัยชุมชนผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 16 โรงเรียน ผู้บริหารและครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้จำนวน 67 คน ผู้บริหารและครูที่เข้าร่วมโครงการการศึกษากลไกความร่วมมือจำนวน 65 คน นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการจำนวน 924 คน ผลการดำเนินการวิจัยทำให้ได้เครื่องมือประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 2 เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และแบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 16 นวัตกรรม กลไกความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระดับสถานศึกษา 16 ภาพรวมกลไกความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระดับสถานศึกษา 1 กลไก และรูปแบบกลไกความร่วมมือการจัดการศึกษาระดับจังหวัด 1 กลไก นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการสูงขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะตามกรอบหลักสูตรการศึกษาจังหวัดระยอง ครูที่เข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมมีความรู้และสมรรถนะในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการและสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน เกิดการทำงานเป็นทีม เข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการสาขาวิชาและเข้าถึงชุมชนมากขึ้น ครูที่เข้าร่วมโครงการวิจัยมีความรู้และทักษะในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และถอดบทเรียนกลไกความร่วมมือในสถานศึกษาของตนเองได้ มีเจตคติที่ดีต่อการทำวิจัย และสามารถนำความรู้และทักษะการวิจัยไปเป็นแนวทางการพัฒนางานและผู้เรียนในอนาคต โรงเรียนและจังหวัดได้แนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม ได้เครือข่ายความร่วมมือการทำงานที่เข้มแข็งจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ชุมชนและภาคประชาสังคม

สรุปกลไกความร่วมมือในการพัฒนานวัดกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของโรงเรียนพื้นที่นวัดกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

นี่คืออีกหนึ่งผลงานที่เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษากว่า 16 นวัตกรรมการศึกษาใน 16 โรงเรียนนำร่อง การดำเนินการต่างๆ ของโครงการวิจัยได้ถูกบันทึกร่องรอย ยกระดับเป็นองค์ความรู้อยู่ที่ชัดแจ้งปรากฎในเล่มรายงานฉบับนี้และพร้อมแล้วสำหรับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจจะนำไปศึกษา ปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของตน 


รูปแบบ 4 กลไก + 6 ปัจจัย สู่ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่สอดคล้องกับโรงเรียนในพื้นนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

ที่มา https://pmua.or.th/research/a15f640072/
Download รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตัวอย่างภาพการขับเคลื่อนโครงการวิจัย:

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์

Facebook Comments
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 อนุบัญญัติ และหนังสือที่เกี่ยวข้องพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะช่วยเอื้อการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของจังหวัดระยองได้อย่างไร? การบรรยายพิเศษของ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง
บทความล่าสุด