สพฐ. จัดสรรงบให้ 30 เขตพื้นที่ ให้เขตพื้นที่ระดมสรรพกำลังหนุนเสริมโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม เร่งปรับหลักสูตรและขับเคลื่อนกิจกรรมที่จำเป็น ตาม พ.ร.บ.

19 ธันวาคม 2019

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสตูล จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดระยอง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่ เป็นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางไปยังจังหวัด โดยมีระบบและกลไกการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้สถานศึกษามีอิสระ คล่องตัว ควบคู่ความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับบริบทชุมชนและพื้นที่

ที่ผ่านมา สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สพฐ. ขับเคลื่อนนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประสานความร่วมมือและหนุนเสริมการทำงานร่วมกับภาคีเพื่อการศึกษาไทย (Thailand Education Partnership: TEP) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สป.ศธ. นับตั้งแต่ก่อนที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 จะประกาศใช้ ขณะนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้ว มีกิจกรรมสำคัญหลายเรื่อง ที่โรงเรียนนำร่องจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ ตาม พ.ร.บ. อาทิ การปรับหลักสูตรตามมาตรา 25 และ มาตรา 26 การดำเนินงานตามมาตรา 5 ของโรงเรียนนำร่องในสังกัด สพฐ.และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (การจัดสรรงบประมาณครั้งนี้ ยังไม่รวมกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ โรงเรียนนำร่องสังกัด อปท. สช. อว. ตชด. และโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ.)

สพฐ. จึงจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างเข้มข้นและให้เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน  โดยให้คำนึงถึงยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งทิศทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนั้น ๆ ด้วย

ในการนี้ สพฐ. ได้อนุมัติโอนจัดสรรงบประมาณปี 2563 (งบประมาณปี พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน) แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิตที่ 2 ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ กิจกรรมหลัก การจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับโรงเรียนปกติ กิจกรรมรอง การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา งบดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 1,334,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ให้กับ สพท. ที่มีโรงเรียนนำร่อง จำนวน 30 เขตพื้นที่ เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระยะแรก ทั้งนี้ สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้ใช้พิจารณาจากความจำเป็นในการดำเนินงานและจำนวนโรงเรียนนำร่องที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้น ๆ ดังนี้

Written by พิทักษ์ โสตถยาคม
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
คืบหน้า! TDRI และ สบน. ประชุมนอกรอบพิจารณาสูตรการจัดสรรงบประมาณโดยตรงให้กับโรงเรียนนำร่องฯ เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาธงชัย มั่นคง : กรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง เชื่อม สบน. สพฐ.-ประสานนโยบาย เตรียมผลักดันงานเชิงพื้นที่…เน้นการมีส่วนร่วม
บทความล่าสุด