นวัตกรรมการศึกษา รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา BTC by 6A สู่ 3Q: Quality

26 พฤศจิกายน 2024

เมื่อวันที่ 27 – 30 สิงหาคม 2567 นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี พร้อมคณะทำงานจากสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นผู้แทน สพฐ. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และให้กำลังใจสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย จำนวน 14 แห่ง โดยในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ได้เดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

โดยได้รับการต้อนรับจาก ว่าที่ร้อยเอกเดชฤทธิ์ วรรณทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 พร้อมคณะศึกษานิเทศก์ร่วมติดตามผลความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) ทั้งนี้นักเรียนได้นำเสนอการแสดงด้วยชุดการแสดงฟ้อนปราสาทไหว และวงโยธวาทิตบรรเลงเพลงลอยกระทง ซึ่งอยู่ในหน่วยการเรียนรู้ ทุ่งเสลี่ยมแสนสุข ลอยกระทง และท่องเที่ยวสุโขทัย



ในการนำเสนอของโรงเรียนได้รังสรรค์การแสดงที่สะท้อนถึงความงดงามของวัฒนธรรมและศิลปะไทย โดยมีการจัดแสดงชุดการฟ้อนปราสาทไหวอย่างงดงาม และมีความหมายที่เชื่อมโยงกับความเคารพและศรัทธาต่อบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในเวลาเดียวกัน วงโยธวาทิตของโรงเรียนก็ได้ร่วมบรรเลงเพลง “ลอยกระทง” ซึ่งเป็นเพลงที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคย การแสดงในครั้งนี้อยู่ภายใต้หน่วยการเรียนรู้ “ทุ่งเสลี่ยมแสนสุข ลอยกระทง และท่องเที่ยวสุโขทัย” ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในวิชานาฏศิลป์และดนตรี นอกจากนักเรียนจะได้ฝึกฝนทักษะทางศิลปะแล้วยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การแสดงออกถึงศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ การแสดงฟ้อนปราสาทไหวและเพลงลอยกระทงที่จัดขึ้นนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ชมได้เชื่อมโยงเข้ากับมรดกอันล้ำค่าของเมืองสุโขทัย อันเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทง และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศิลปะการแสดงและดนตรีไทยให้กับเยาวชนและผู้เข้าร่วมงานทุกคน

นางทองเพียร อ่องบางน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) ได้นำเสนออีกว่าโรงเรียนได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปการศึกษาการวิเคราะห์องค์กรด้วย STAY STOP และ SRART ของโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนและบริบทของสถานศึกษา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

Stay
1. พัฒนาคุณภาพการอ่านออกเขียนได้
2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาในเรื่องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
3. การจัดสรรงบประมาณของโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมให้กับโรงเรียนได้ดำเนินงานตามความต้องการของโรงเรียน
4. บรรยากาศห้องเรียนสถานศึกษาน่าเรียน สะอาด

Stop
1. ยุตินโยบายที่ต้องรายงานซ้ำซ้อน
    – การเชื่อมโยงของข้อมูลของนักเรียนในระบบ Set กับระบบ O-Net
2. โค้ชจำกัดงบประมาณด้าน ICT
3. นโยบายธุรการ 1 ควบ 2 โรงเรียน

Start
1. การสร้างโอกาสให้นักเรียนได้รับโอกาส
   – เรียนกับเจ้าของภาษาโดยตรง
   – นาฏศิลป์ ดนตรี
2. การคัดเลือกบุคลากรได้ตามต้องการ
3. เพิ่มอัตรากำลังบุคลากรให้ครบทุกกลุ่มสาระ
3. เพิ่มเจ้าหน้าที่ธุรการประจำโรงเรียน
4. เปิดโอกาสให้โรงเรียนได้ใช้งบประมาณ ICT ตามต้องการได้

และเนื่องด้วยเวลาที่จำกัดในช่วงการนำเสนอในวันเยี่ยมชมโรงเรียน ผู้เขียนจึงได้ประสานขอสัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังกับ ผอ.ทองเพียร อ่องบางน้อย โดย ผอ. ได้นำเสนอถึงรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา “BTC by ๖A สู่ ๓Q : Quality” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินงานและโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด คือ “เติบโตอย่างแกร่งกล้า ก้าวหน้าอย่างมั่นคง สู่วิคุณภาพแบบยั่งยืน” ในการออกแบบนวัตกรรม ได้จัดทำเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลำดับขั้น ดังนี้

  1. 1. ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลถึงคุณภาพผู้เรียนและแนวนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
  2. 2. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา โอกาสความต้องการของครู ผู้ปกครอง และชุมชน ตลอดจนเป้าหมายของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนสำคันสำคัญ และต้านคุณภาพผู้เเรียม
  3. 3. ชั้น Plan เป็นการวางแผนและออกแบบนวัตกรรม การดำเนินกิจกรรมตามสภาพปัญหาและความ

ต้องการให้เหมาะสมกับความพร้อมและบริบทของโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอทิศวิทยาคาร) อันนำมาซึ่งนวัตกรรมรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา “BTC by ๖A สู่ ๓Q : Quality” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร)

  1. 4. ขั้น Do เป็นการดำเนินการตามที่ได้วางแผนและออกแบบนวัตกรรมไว้
  2. 5. ขั้น Check เป็นการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและการใช้นวัตกรรม
  3. 6. ขั้น Action เป็นการนำผลการประเมินมาพิจารณาและวิเคราะห์ว่า ควรมีการปรับปรุงหรือไม่หากควรปรับปรุง จะต้องกลับไปปรับปรุงในการออกแบบบนวัตกรรมอีกครั้ง
  4. 7. พัฒนานวัตกรรมที่ผ่านการประเมินอย่างต่อเนื่อง
  5. 8. ผลจากการพัฒนานวัตกรรม นำไปสู่ควานสำเร็จในการพัฒนาสู่ ๓ Quality ได้แก่

  Q๑ : กระบวนการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ (Quality management)
  Q๒ : กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Quality teacher)
  Q๓ : ผู้เรียนที่มีคุณภาพ (Student quality)
         ๑. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
         ๒. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
         ๓. สมรรถนะสำคัญ ๕ ด้าน
         ๔. ทักษะ ๓R๘C

B = Be update with participation
T = Team Work
C = Co-ordination

A๑ = Awareness การสร้างความตระหนัก ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรของโรงเรียนให้มีความตระหนักในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชนที่ส่งบุตรหลานมาเรียนในโรงเรียน ตลอดจนประชุมชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองนักเรียน

A๒ = Analysis and planning หมายถึง การวิเคราะห์รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปีที่ผ่านมา (SAR) ผลการทดสอบระดับชาติ (RT, NT, O-NET ปีที่ผ่านมา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา หลักสูตรและวิเคราะห์ผู้เรียน นำมาสู่การวางแผนการดำเนินงาน กำหนดรูปแบบ วิธีการดำเนินงาน ตลอดจนเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

A๓ = Action หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน

A๔ = Advice หมายถึง การนิเทศ ติดตาม โรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) มีเป้าหมายการดำเนินการนิเทศ ติดตาม เพื่อพัฒนาครู่สู่การพัฒนาผู้เรียน

A๕ = Assessment หมายถึง ประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย โดยกระบวนการวัดประเมินผลเข้ามาตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมทั้งด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพผู้เรียน

A๖ = Award หมายถึง การเสริมพลังบวก การชื่นชม ยินดีในความสำเร็จ การให้กำลังใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเผยแพร่ชี้แจงข่าวสารให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบถึงความสำเร็จในการดำเนินงาน

๓Q : Quality หมายถึง คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

Q๑ : กระบวนการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ (Quality management)
Q๒ : กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Quality teacher)
Q๓ : ผู้เรียนที่มีคุณภาพ (Student quality)
        ๑. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
        ๒. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
        ๓. สมรรถนะสำคัญ ๕ ด้าน
        ๔. ทักษะ ๓R๘C

เมื่อผู้เขียนได้ลงไปติดตามรับฟังและพบเจอการดำเนินงานของโรงเรียนในพื้นที่ สิ่งที่มองเห็นได้ชัดคือ โรงเรียนมีความร่มรื่นน่าอยู่ นักเรียนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นพร้อมรอยยิ้มที่แจ่มใส รวมไปถึงการพัฒนาของโรงเรียนอย่างรอบด้านผ่านแนวทาง STAY STOP START ซึ่งสะท้อนถึงการวิเคราะห์และปรับปรุงทั้งในด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการบริหารจัดการภายใน

อีกทั้งโรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) มีความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะการส่งเสริมศิลปะการแสดงไทย เช่น การฟ้อนรำและการจัดวงดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบูรณาการการเรียนการสอนในวิชานาฏศิลป์และดนตรีไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

นอกจากด้านวัฒนธรรมแล้ว โรงเรียนบ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) ยังมีจุดเด่นในด้านการพัฒนาทักษะทางวิชาการ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนุกสนาน สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และทักษะที่ได้เรียนมาในชีวิตประจำวัน

แนวทางนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษาเพื่อความก้าวหน้าและคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
บพท. ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) ของกรอบการวิจัย “การยกระดับและขับเคลื่อนเพื่อการขยายผลพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2568
บทความล่าสุด