โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา ปรับวิถีการเรียนรู้สู่ School Concept “Chamnan youngsters innovate society to well-being”

14 ธันวาคม 2020

สืบเนื่องจากโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้รับการอนุมัติให้เป็นสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 2 ของจังหวัดระยอง ภายใต้การบริหารงานของนายสันติ มุกดาสนิท ผู้อำนวยการโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา มีดำริให้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างการรับรู้ในกระบวนการขับเคลื่อนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษา ซึ่งก็คือ School Concept โดยมี นายชาตรี ปุระมงคล ศึกษาธิการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

นายชาตรี ปุระมงคล ศึกษาธิการจังหวัดระยอง และนายสันติ มุกดาสนิท ผู้อำนวยการโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา

ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 120 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 ท่าน ครูผู้สอน จำนวน 116 คน ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร จากนายธงชัย มั่นคง นางนงค์นุช อุทัยศรี คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง และนางสาววรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์ หัวหน้าทีมวิจัยปฏิบัติการและโค้ชในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และนางสาวอารียา สีทน เจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลภาคสนาม สถาบันอาศรมศิลป์

School Concept โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา

กว่าจะมาเป็น School Concept ของโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา ผู้บริหาร และคณะครู ได้ทำการรับรู้และปรับมุมมอง เห็นภาพรวมของระบบนิเวศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งตั้งต้นจากเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือการตอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) สมรรถนะและคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน จากการวิเคราะห์ฐานทุนของโรงเรียนเพื่อศึกษาบริบทต่าง ๆ เชื่อมโยงไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในชั้นเรียน School Concept จะต้องมีความชัดเจนสอดคล้องกับบริบทชุมชน ซึ่ง “Chamnan youngsters innovate society to well-being” ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทั้งหมด 4 ข้อ คือ Learner : เป็นผู้เรียนรู้อยู่ตลอด Creative : สร้างงานอย่างสร้างสรรค์ Proficiency : ชำนาญ เชี่ยวชาญ และ Innovator : การเป็นนวัตกร สามารถตอบโจทย์การส่งเสริมผู้เรียนให้กลายเป็น นวัตกรที่สามารถสรรค์สร้างผลงาน พร้อมที่จะต่อยอดและเติบโตเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในอนาคต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

School concept C.S.W.
“Chamnan youngsters innovate Society to Well-being”
“เยาวชน ชำนาญฯ สรรค์สร้างนวัตกรรมแก่สังคม ก้าวสู่ชีวิตที่ดี”

กิจกรรม

กิจกรรมการอบรมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ การลงมือปฏิบัติ ระดมสมองจากบุคลากรทุกฝ่าย ทุกกลุ่มสาระ เช่น การตรวจสอบ School concept การค้นหาปัจจัยสำคัญ การปรับเปลี่ยนวิถีการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น ทั้งนี้เป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยาออกแบบกิจกรรมสร้างวิถีใหม่ที่นำไปสู่ความสำเร็จของ School Concept กิจกรรมประกอบด้วย

  1. การบรรยายเรื่อง การสร้างการรับรู้ในกระบวนการการขับเคลื่อนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดย คุณชาตรี ปุระมงคล ศึกษาธิการจังหวัดระยอง
  2. การสร้างแนวคิดเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง โดย นายธงชัย มั่นคง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  3. การนำเสนอกระบวนการทำงานในการเข้าร่วมสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดย ทีมครูแกนนำ โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา (ครูอภันตรี ฉลอง, ครูอุมาพร เชี่ยวณรงค์กร, ครูนิตติกา พลทะกลาง, ครูชบา เมืองคำ และครูสุพิชญา ธนะคำมา)
  4. การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างแนวคิดเรื่อง DOE to CBC โดย คุณวรณิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์ หัวหน้าทีมวิจัยปฏิบัติการและโค้ชในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  5. การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน โดย คุณนงค์นุช อุทัยศรี

ข้อค้นพบสำคัญ

การจัดกิจกรรมทั้ง 2 วัน เป็นไปด้วยความสนุกสนาน บุคลากรทุกฝ่ายทุ่มเทแนวคิดอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำให้ได้ข้อค้นพบสำคัญ ดังนี้

1. School Concept ของโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา สอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายการจัดการศึกษาระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระดับสากล กล่าวคือ เชื่อมโยงกับ 1) กรอบหลักสูตรระยอง (Rayong MARCO) 2) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2560 และ 3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustanable Development Goals) 4) ทักษะในอนาคต (Future Skills)

2. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ School Concept ของโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยาประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนและทีมงานบริหารจัดการ 2) หลักสูตรสถานศึกษา 3) ครูผู้สอนและวิธีการจัดการเรียนรู้ 4) สื่อเครื่องมือและเทคโนโลยี 5) แหล่งเรียนรู้และความร่วมมือของชุมชน

3. บุคลากรในโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยาปรับวิถีใหม่ “ปรับบทบาทตัวเองให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี และความต้องการของผู้เรียน ปรับบทบาทของครูจากการเป็นผู้นำ ผู้สอน เป็นผู้แนะนำ ชี้แนวทางและรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน”

4. กำหนด (ร่าง) รายวิชาใหม่ที่สอดคล้องกับ school concept และความต้องการของนักเรียน ลักษณะเป็นรายวิชาเชิงบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ เช่น รายวิชา Let me cook, Café math, 888 online และ ไกด์ฮิ เป็นต้น

บทสรุป

จากแนวคิดและการดำริของ นายสันติ มุกดาสนิท สู่การประชุมปฏิบัติการ เรื่องการสร้างการรับรู้ในกระบวนการขับเคลื่อนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดระยอง สถาบันอาศรมศิลป์ ทีมงานบริหารและคณะครูโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา นำไปสู่การปรับวิถีการเรียนรู้ใหม่ ๔ ประเด็น ได้แก่ 1) รับรู้ school concept 2) ค้นหาปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3) กระบวนการคิดและบทบาทวิถีการบริหารและการจัดการเรียนรู้ใหม่ 4) รายวิชาใหม่ที่ทันสมัยและมีความเป็นไปได้สูง


ผู้เขียน: สันติ มุกดาสนิท ผู้อำนวยการโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ความอิสระของสถานศึกษานำร่องในการใช้หลักสูตรตามพระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562แนวคิดการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
บทความล่าสุด