Perspective: มองภาพสำเร็จด้วยกลยุทธ์การบริหาร I 5P สู่เป้าหมาย เรียนดี มีสุข : เป้า แผน ผล

27 กันยายน 2024

            

Perspective: มองภาพสำเร็จด้วยกลยุทธ์การบริหาร I 5P สู่เป้าหมาย เรียนดี มีสุข : เป้า แผน ผล

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน กรณีศึกษา การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับการบริหารด้วยกลยุทธ์ I 5P เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลและความยั่งยืน

ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวถึงเหตุผลสำคัญในการเลือกจังหวัดสุโขทัยเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษา พร้อมกล่าวถึงความคาดหวังในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว การบริหารตาม Model I 5P จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย

  • Inspirations
    สร้างแรงบันดาล เช่น การจัดกิจกรรม การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
  • Perspective
    สร้างภาพสำเร็จ ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ศึกษานิเทศก์ ชุมชน ฯลฯ
  • Position
    มองสภาพปัจจุบันสู่ภาพสำเร็จ และกัดไม่ปล่อย
  • Plan
    สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมวางแผน เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่เน้นไปที่นักเรียนและภาพสำเร็จ ทั้งด้านคน งบประมาณ การบริหารจัดการ และทรัพยากร
  • Pattern
    เรียนรู้รูปแบบนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จทั้งเชิงบวกและลบ นำไปปรับประยุกต์ตามบริบทและบูรณาการเพื่อให้ภาพสำเร็จเป็นจริง
  • Performance
    จัดกิจกรรม Open House เพื่อนำเสนอผลลัพธ์และภาพสำเร็จของโรงเรียน ครู นักเรียน และชุมชน และนำผลไปศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพในปีการศึกษาถัดไป

โดยเป้าหมาย I 5 P ของการพัฒนา Education Sandbox สู่ความสำเร็จนี้ จะต้องนำเสนออย่างเป็นรูปธรรมผ่านแนวคิด เพื่อสร้างเอกลักษณ์แห่งโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ดังนี้

  • OSOB (One School One Brand)
    โรงเรียนมีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จัก ที่เกิดจากความเชื่อมั่นจากผลงานของโรงเรียน ครู นักเรียน และชุมชน
  • OTOI (One Teacher One Innovation)
    ครูอย่างน้อย 1 คน ต้องมีนวัตกรรมการสอนเฉพาะตัว และ ผอ.รร. อย่างน้อยมี 1 รูปแบบการบริหาร และนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ เช่น เว็บไซต์
  • OSOS (One Student One Signature)
    สร้างนักเรียนให้มีเอกลักษณ์แห่งตน รู้จักตนเองและภาคภูมิใจในตนเอง

ในการประชุม มีผู้แทนจากหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ นายธวัชชัย ชูหน้า ศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย, นายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสุโขทัย, และผู้แทนจากสถานศึกษานำร่องจากจังหวัดสุโขทัยมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียน กรณีศึกษา การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ดังนี้

  • รร. เทศบาลวัดไทยชุมพล สังกัด อปท.
  • รร. กวางตง สังกัด สช.
  • รร. บ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” สังกัด สพป.สท เขต 1
  • รร. บ้านท่าชุม(ประชาอุทิศวิทยาคาร) สังกัด สพป.สท เขต 2
  • รร. บ้านไร่พิทยาคม สังกัด สพม.สท

ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ นายสุวิทย์ บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. ได้บรรยายเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ซึ่งผู้เขียน จะนำไปเสนอในบทความถัดไป

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
Editor & Design: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
การประชุมสรุปผลโครงการวิจัยศึกษาผลกระทบกฎหมายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาKHUHA MODEL นวัตกรรมการบริหารโรงเรียน ขับเคลื่อนการศึกษา สร้างสรรค์การเรียนรู้ โรงเรียนวัดคูหาสุวรรณ (วันครู 2504) สพป.สท1 
บทความล่าสุด