สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อหารือของ สพฐ. เกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการคัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำรา หรือสื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

30 มกราคม 2020

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0906/9 ลงวันที่ 29 มกราคม 2563 ตอบขอหารือของ สพฐ. ที่ขอหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการคัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำราหรือสื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่อง  มีสาระโดยสรุปดังนี้

1. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครอบคลุมเพียง 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ไม่ใช่ 5 จังหวัด ตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553)

2. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ถือเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 44 อยู่แล้ว การรวมเป็นกลุ่มหลายจังหวัดไม่สอดคล้องโครงสร้างของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ยึดโยงกับพื้นที่จังหวัด ดังนั้น แยกจังหวัดดำเนินการได้ โดยให้แต่ละจังหวัดดำเนินการให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ตามมาตรา 19 หากจังหวัดใดยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ก็ให้คณะกรรมการชุดเดิมทำหน้าที่ไปพลางก่อน

3. โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสามารถใช้เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจัดซื้อสื่อหนังสือเรียนโดยอิสระ โดยไม่ต้องผูกพันตามบัญชีสื่อการเรียนรู้ที่กำหนดในเอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. ซึ่งในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ระบุเงื่อนไขเพียงว่าจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาตามมาตรา 25 เท่านั้น

ซึ่งหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0906/9 ลงวันที่ 29 มกราคม 2563 ซึ่งประกอบด้วยบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการคัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำราหรือสื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่อง ดังไฟล์นี้ http://bit.ly/2OaXXJA หรือ >>คลิกเพื่อ Download เอกสาร<< ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เรื่อง: พิทักษ์ โสตถยาคม
อ้างอิง: หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0906/9 ลงวันที่ 29 มกราคม 2563 เรื่อง ขอหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
CHIANGMAI NEXT สานพลังเครือข่ายโรงเรียนนำร่องทวิ/พหุภาษา สร้างโอกาสพัฒนาระบบการศึกษาใหม่ โดยใช้กลไก พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองม่วง พื้นที่นวัตกรรมระยอง เตรียมความพร้อมสู่ School concept ใน 9 ประเด็น ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563
บทความล่าสุด