รองศาสตราจารย์ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ฟันธง! พื้นที่นวัตกรรมไม่ใช่การทดลอง ไม่ใช่หนูทดลอง แต่เป็น National Action Research ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาชาติ

15 ธันวาคม 2019

ในการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 15 อาคาร SM Tower สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ หนึ่งในภาคีเพื่อการศึกษาไทย  (Thailand Education Partnership: TEP) ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอสาระสำคัญของ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ผ่านมุมมองของรองศาสตราจารย์ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการในคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการศึกษา คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา อดีตกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ที่ได้กล่าวถึงพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการติดตามผลการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. ได้นำเสนอไว้แล้ว ดูที่นี่ https://www.edusandbox.com/reform-in-education/

อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ได้ย้ำประเด็นสำคัญของรองศาสตราจารย์ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ว่า

การดำเนินการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไม่ใช่การทดลอง และคนที่อยู่ในกระบวนการไม่ใช่หนูทดลอง แต่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคือ National Action Research ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ

รวมทั้งยังได้เสนอให้ที่ประชุมทราบถึงมาตราสำคัญ ๆ ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มมาตราต่าง ๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) มาตราเชิงระบบ ได้แก่ มาตรา 5 มาตรา 40 และมาตรา 42 2) มาตราที่เป็นกระบวนการสำคัญของการปฏิรูป ได้แก่ มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 25 มาตรา 36 มาตรา 37 และ 3) มาตราที่ช่วยรองรับสนับสนุนให้ทำได้ (enabler) ได้แก่ มาตรา 29 มาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35

ซึ่งเอกสารถอดเทปข้อความที่รองศาสตราจารย์ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กล่าวถึงการจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในมุมมองของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ในที่ประชุมกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ณ อาคารสุขประพฤติ กรุงเทพฯ ดำเนินการถอดเทปโดยสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ. ได้ขออนุญาต ดร.วรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์ นักวิจัยสถาบันอาศรมศิลป์ นำเอกสารถอดเทปนี้มาเผยแพร่ ดังนี้

ถอดเทปข้อความที่ นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ พูดถึงการจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในมุมมองของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ในที่ประชุมกรรมาธิการ สว. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ณ อาคารสุขประพฤติ กรุงเทพฯ

นพ.จิรุตม์: พูดถึงการจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในมุมมอง พ.ร.บ.ดังนี้

พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาเป็น National Action Research อาจจะเป็นอันที่ใหญ่ที่สุดอันนึ่งของ โลกบางคนเรียกว่า Implementation Research หลายครั้งคนที่เห็นพื้นที่นวัตกรรมจะใช้คําว่าทดลอง ตาม หลักวิชาการที่ไม่ใช่ แบบนี้มันเป็นวิจัยปฏิบัติการที่ไม่ใช่วิจัยเชิงทดลอง เนื่องจากว่าถ้ามองกฎหมายฉบับนี้เป็น เหมือน Protocol การวิจัย หรือระเบียบวิธีวิจัยแบบนี้ไม่มีการกําหนด (Fixed) Intervention ไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะ ใช้ Intervention ใด ให้แต่กรอบวิธีการในการขับเคลื่อน แล้วให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการเป็นผู้ที่เลือกสรรสิ่งที่ ตัวเองจะนํามาใช้ ลักษณะแบบนี้จึงเป็นวิจัยปฏิบัติการ

เหตุผลที่ต้องพูดตรงนี้ให้ชัดเจนเพราะว่าหลายท่านพอเข้าใจว่าเป็นการทดลองก็จะใช้คําว่านี่คือ ทดลองและคนที่อยู่ในกระบวนการนี้ก็จะกลายเป็นหนูทดลองไป ซึ่งไม่ใช่ต้องเรียนว่าไม่ใช่การทดลอง โดย กฎหมายเองก็บอกไว้แล้วว่าสิ่งที่เอามาใช้ต้องเป็นสิ่งที่อย่างน้อยในหลักการหรือทฤษฎีได้มีการพิสูจน์มาแล้วว่า ใช้ได้จริงไม่ใช่มาเริ่มทดลองทํากัน

หัวใจสําคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา มาตราที่สําคัญมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 มาตราเชิงระบบ

มาตราเชิงระบบ ที่สําคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องนํามาพิจารณาในการติดตามและให้ข้อเสนอแนะ ในการของบทบาทของกรรมาธิการมาตรา 5 มาตรา 40 และมาตรา 42

มาตรา 5 ว่าด้วยวัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรม

หัวใจสําคัญจึงไม่ใช่แค่กระบวนการในห้องเรียน กระบวนการที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา แต่เป็นเรื่องของ การจัดการเชิงพื้นที่ ด้วย หรือที่หลายท่านชอบใช้กันคือ “ระบบนิเวศของการจัดการจัดการศึกษาเพื่อทําให้ การปฏิรูปการศึกษานั้นประสบความสําเร็จ” นั่นหมายถึงว่า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการเปลี่ยนแปลง ในห้องเรียนจําเป็นจะต้องมีกลไกประกบ วิธีการสนับสนุนจากภายนอกเข้าไปช่วยด้วย เพื่อให้ทฤษฎีหลักการ ทางการศึกษาทั้งหลายในการจัดการเรียนการสอนประสบความสําเร็จ และสามารถจะถูกขับเคลื่อนไปใน ทิศทางที่เราต้องการได้

ฉะนั้นมาตรา 5 นั้นจึงเป็นหัวใจสําคัญ ที่ต้องเรียนเช่นนี้เพราะว่าไม่งั้นหลายครั้งเราจะไปสนเราจะให้ ความสําคัญกับเรื่องของสิ่งที่เกิดขึ้นกับห้องเรียนมากเกินไป แต่จริงๆ เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่ตรง นั้นซะทีเดียว ถ้าดูจากวัตถุประสงค์ในมาตรา 5 จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายอํานาจ การพยายามจะ ดึงภาคส่วนต่างๆ ให้มาร่วมจัดการศึกษาทั้งหมดนี้คือระบบนิเวศ และผลลัพธ์ที่สําคัญมี 2 อย่างคือเพื่อให้ นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนประสบผลสําเร็จ ทําให้การจัดการโรงเรียน หรือสถานศึกษาที่จัดการสนับสนุนให้เกิดการจัดการเรียนการสอนที่ดีประสบผลสําเร็จ

ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะมองเชิงในพื้นที่ได้ด้วย ที่สนับสนุนการการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในห้องเรียน โดยมองถึงกลไกระดับพื้นที่ แล้วสนับสนุนกลไกที่เป็นคณะกรรมการระดับ กรรมการนโยบายระดับประเทศ เป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยปลดล็อค จึงต้องมีกรรมการนโยบายที่มีท่าน นายกรัฐมนตรีโดยตําแหน่งมาเป็นประธาน

แล้วก็การลดความเหลื่อมล้ําซึ่งเป็นเป้าหมายสําคัญอีกประการที่ลืมไม่ได้ เราไม่ได้มองเพียงแค่ความ เป็นเลิศเท่านั้น อันนี้คือหัวใจของมาตรา 5

ฉะนั้นถ้าจะติดตามประเมินผล ผมก็คิดว่าต้องมองตรงนี้เป็นสําคัญว่าควรสนับสนุนให้เกิดของพวกนี้ สุดท้ายได้หรือไม่

อีกประการหนึ่งคือเครื่องมือสําคัญของพ.ร.บ.นี้ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปการศึกษา คือ 

มาตรา 40 ว่าด้วยเรื่องผู้ประเมินภายนอก

ขออนุญาตใช้คําพูดนี้ “ประเมินผิดคิดจนตัวตาย” ในฐานะที่เป็น Sandbox วิธีการมองว่าอะไรที่ เกิดขึ้นใน Sandbox สิ่งที่เกิดขึ้นใน Sandbox เป็นการปฏิรูปใช่หรือไม่ เป็นผลลัพธ์ผลผลิตที่เราต้องการใช้ หรือไม่ และกระบวนการอะไรหรือวิธีการทํางานอะไร ที่นําไปสู่เรื่องนั้นเนี่ยแล้วจะทําให้สามารถเอาไปใช้เป็น ประสบการณ์หรือ Recommendation ข้อเสนอแนะต่อไปในการปฏิรูปการศึกษาในระยะยาวจะอยู่ที่ มาตรา 40

วางผู้ประเมินอิสระไม่ดี มี Steering Committee ในการให้ข้อเสนอแนะหรือว่าในการมองของเหล่านี้ ไม่ดี พูดง่ายๆ คือไม่ตรงเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเจตนารมณ์ของการมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มอง องค์ประกอบไม่ครบถ้วน ไปไม่ถึงระบบนิเวศ กฎหมายฉบับนี้ก็เลี้ยง เพราะว่ามันคืองานวิจัยปฏิบัติการเพราะ งั้นวิธีการวัดและประเมินผลก็คือหัวใจสําคัญในการพิสูจน์ความสําเร็จ

กลไกที่ 3 ที่สําคัญมากที่เป็นมาตราของกฎหมายฉบับนี้คือ 

มาตรา 42 ว่าด้วยเรื่องการขยายผล

เพราะว่าที่ผ่านมาเรามี Initiative มีความคิดริเริ่มของโรงเรียนต่างๆ เยอะแยะมีมานานแล้ว ไม่ว่าจะ เป็นจากโรงเรียนขึ้นมาเป็น Bottom-up จาก Top-down จากกระทรวงฯ ลงไป แต่มันก็จบแค่นั้นไม่เคยขยายผลได้ กฎหมายฉบับนี้กําหนดกลไกการขยายผลไว้ ต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการประเมินผลว่าต้องมีการถอด ประเด็นสําคัญ องค์ประกอบต่างๆ ที่มีความจําเป็นที่ต้องให้ขยายผลได้ แล้วนําเสนอกรรมการนโยบายเข้าถึง ครม.เพื่อให้มีสภาพบังคับผ่านทางมติครม.ไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องที่จะขยายผลสิ่งที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ นวัตกรรมไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่จําเป็นต้องรอตอนจบ กฎหมายฉบับนี้จึงให้มีการประเมินผลประมาณ 3 ปี หลังจากเริ่มต้นและก็ทุก 3 ปี เพื่อหวังว่าในปีที่ 4 เพราะว่าการประเมินผลในปีที่ 3 กว่าจะประเมินเสร็จ ก็ ประมาณครึ่งปี แล้วก็ที่เหลือก็มีการมาสรุปบทเรียน ทํารายงานส่งครม. มีมติครม. เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรจะ เกิดขึ้นคือในปีที่ 4 ปลายปีจะต้องมีข้อเสนอแนะและก็มีมติครม. ในการที่จะดึงเอาสิ่งที่สําคัญ สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากพื้นที่นี้นําสู่การปฏิบัติ ซึ่งผมคิดว่าทางกรรมาธิการการศึกษาทางวุฒิสภาเองก็คงจะต้องให้ความสําคัญกับ องค์ประกอบตรงนี้ด้วย เพราะมันคือหัวใจสําคัญของพื้นที่นวัตกรรม ถ้ามาตรา42 ไม่เกิดขึ้นก็ต้องเรียกว่าการ ปฏิรูปโดยใช้พื้นที่นวัตกรรมเป็นเครื่องมือก็จะไม่ประสบความสําเร็จเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นมาตรา 42 คือ หัวใจสําคัญ

ทั้งนี้กระบวนการสําคัญที่มีต่อการปฏิรูปจะเป็นเรื่องที่ 2 เมื่อกี้เรื่องแรกมาตราสําคัญที่เป็นกลไกหลัก ที่จะชี้เป็นชี้ตายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานี้

ส่วนที่ 2 กระบวนการสําคัญของการปฏิรูป

เราบอกว่านี่คือเครื่องมือการปฏิรูปของการศึกษา เป็น Sandbox ที่จะทําให้เห็นว่าในกระบวนการ ของการปฏิรูปนี้ ถามว่ามีอะไรบ้างเป็นสาระสําคัญมากๆ ที่จะนําไปสู่การปฏิรูปส่วนอื่นๆ อันที่หนึ่งคือ

มาตรา 19 ว่าด้วยเรื่องของคณะกรรมการขับเคลื่อน

พวกเราจะเห็นว่าที่ผ่านมาเราก็จะมีประเด็นอยู่เรื่อย จะเอาเขตพื้นที่ จะเอากศจ. พูดง่ายๆ คือการ ดูแลในระดับพื้นที่ กลไกสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องควรต้องมีใครบ้าง ใครต้องทําหน้าที่อะไร และ ต้องทําหน้าที่นั้นหรือไม่ นี่คือหัวใจสําคัญในการที่จะบอกว่าพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะประสบความสําเร็จ หรือเปล่า

ทั้งนี้กรรมการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่จะใช้อํานาจหน้าที่ตาม 

มาตรา 20 ว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อน

ยกตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ประภาภัทรได้ยกตัวอย่างของระยอง เช่น การทํายุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ซึ่งเป็นหน้าที่ข้อหนึ่ง แต่ผมไม่รู้ว่าอีก 5 พื้นที่ทําไหม ว่ามันคืออะไรซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร ต้องการบรรลุผลอะไร ซึ่งหลายๆ ท่านพูดถึงเรื่องของเป้าหมาย ผลลัพธ์ในการเรียนรู้ว่าตกลงจะเอาอะไรกันแน่ ในมาตรา 20 ยังบอกเรื่องอื่นๆ ไว้อีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องว่า กลไกการบริหารจัดการเชิงพื้นที่สําหรับการจัด การศึกษายุคหน้าเพื่อให้ตอบสนองทั้งในแง่ของ National Direction และในแง่ของ Area-basedในระดับ พื้นที่มันควรจะต้องทําอะไรและหน้าที่แบบนี้เพียงพอหรือไม่ในการดําเนินการเป็นหัวใจสําคัญ

มาตราที่จะสนับสนุนมาตรา 20 ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่งเชื่อมโยงกันคือ

มาตรา 25 ว่าด้วยเรื่องระบบวิชาการ

การทําเรื่องของหลักสูตร การใช้หลักสูตรส่วนกลางที่เป็นหลักสูตรแกนกลาง ควรจะใช้หลักสูตร แกนกลางหรือไม่ใช่หลักสูตรแกนกลางที่เป็นหลักสูตรของประเทศ ในมาตรา 25 ก็ให้อํานาจไว้แล้วว่าสามารถ ทําได้ ทําแล้วเป็นอย่างไร ได้ผลอย่างไร รวมถึงการติดตามประเมินผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาตรา 25 เนื่องจาก เป็นหัวใจสําคัญในทางวิชาการของการจัดการศึกษาก็จะโยงกลับมาที่การใช้อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 20 ของ กรรมการขับเคลื่อนซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการพัฒนาครู การจัดการสื่อการสอน และอื่นๆ อีกหลายอย่าง

อีกสองส่วนที่สําคัญคือ 

มาตรา 36 ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

อันนี้เป็นยาขมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของระบบการศึกษาไทย แต่ว่ามันควรจะเป็นอย่างไร เพราะว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนสามารถมีการดําเนินการในเชิงการทดสอบทางด้านการศึกษาได้ แล้วเอาผลการ ทดสอบในการศึกษานี้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งวิธีการทดสอบทางการศึกษา กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการที่ไม่เหมือนกับพื้นที่อื่น อาจจะไม่ใช่ O-net ก็ได้ จะใช้อะไรก็ว่ากันไป ซึ่งอันนี้ คือหัวใจสําคัญที่จะทําให้เราขับเคลื่อนได้หรือไม่ในเรื่องนี้

เรื่องที่เชื่อมโยงกันอีกอันก็คือ มาตรา 37 ว่าด้วยเรื่องกลไกประกันคุณภาพ ราคา

อนุญาตให้สามารถทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด เพราะฉะนั้น สามารถกําหนดในวิธีการที่ไม่เหมือนพื้นที่อื่นๆ

ตรงนี้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นมาตรา 25 36 37 และการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของการขับเคลื่อนใน มาตรา 20 เรื่องการพัฒนาครู การดึงการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาช่วย การทําให้มีระบบทดสอบ ของตัวเองและอื่นๆ นี่คือหัวใจสําคัญของเครื่องมือปฏิรูปการศึกษาที่จะเป็นต้นแบบให้กับที่อื่น

และจากทั้งหมดนี้โดยหลักการจะต้องถูกประเมินให้ได้จาก 

มาตรา 40 ว่าด้วยเรื่องการประเมินผลการดําเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

และในการประเมินให้ได้จากผู้ประเมินอิสระ คงไม่ใช่แค่สําเร็จหรือไม่สําเร็จ เพราะคําถามสําคัญมีอยู่ 5 เรื่อง คือ (1)ต้องตอบให้ได้ว่าถ้าจะปฏิรูปการศึกษาจาก Sandbox นั้นต้องพัฒนาเรื่องอะไร (2)ต้องทําอะไร ถึงจะเกิดการพัฒนา คือทําเรื่องอะไรกับทําอย่างไรให้เกิดขึ้นมันเป็นคนละ Step กันคนละขั้นตอนกัน ฉะนั้น ต้องถอดเรื่องนี้ให้ได้ด้วย อันที่ (3)ทําแล้วได้ผลอย่างไร เพราะถ้าผลมันดีมันก็น่าลอกแบบ แต่ถ้าผลมันไม่ดีก็ คงต้องเก็บไว้ที่นั้น (4)อะไรขยายผลได้ และทําอย่างไรให้ขยายผลได้ การทําเป็นเรื่องเล่าอย่างเดียวไม่เพียงพอ ในเชิงบริหารจัดการที่จะนํามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อื่นๆ เพราะฉะนั้นต้องถอดมาถึงขั้นตอนนี้ (5) ถ้าจะนําไปใช้นอกพื้นที่ต้องทําอย่างไร อันนี้เป็นหัวใจสําคัญในการประเมิน

สุดท้ายที่อยากจะเรียนก็คือในกฎหมายฉบับนี้มี Enabler ที่สําคัญก็คือสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้ทําได้ ซึ่งอันนี้จะไปเชื่อมโยงกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการนโยบาย ที่ต้องคอยปลดล็อก คือมาตรา 29 31 33 34 และ 35 

ส่วนที่ 3 Enabler ที่สําคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ทําได้

มาตรา 29 ว่าด้วยเรื่องรับจ่ายเงิน

ที่หลายท่านพูดกันแล้วไปโยงกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ว่ากันไปว่ากันมา รวมทั้งอาหารกลางวันต่างๆ ต้อง ให้ดูว่าทําให้มีอิสระในเชิงบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเป็นอย่างไร

มาตรา 31 ว่าด้วยเรื่องของคน

กรรมการนโยบายที่จะเสนอแนะต่อกคศ. ยังใช้กฎหมายกคศ.อยู่ เพื่อให้ออกหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไข เฉพาะสําหรับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจําเป็นที่จะต้องภายใต้ กฎหมายที่มีหลักเกณฑ์วิธีการบริหารจัดการอันใหม่สําหรับพื้นที่นี้มันมีความเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องที่เป็น ยาขมมาโดยตลอดก็คือ วิทยฐานะ จําเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์เหมือนพื้นที่อื่นไหม จะลองวิธีการใหม่ไหม เพื่อให้ ครูได้รับการประเมินและมีความก้าวหน้าอันเป็นผลมาจากผลสัมฤทธิ์ของเด็ก หรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

มาตรา 33 โครงการกิจกรรมภารกิจต่างๆ

โครงการกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานภายนอกที่โดยปกติจะถล่มใส่สถานศึกษาให้ทํานั้น ตกลง คุ้มครองได้จริงหรือไม่ ถ้าต้องการให้ ม.33 เป็นอิสระจากพันธะขาจรที่จะลงที่โรงเรียนที่สถานศึกษา ทําให้ คุณครูไม่มีเวลาอยู่ในห้องเรียน การวางกฎหมายไว้แบบนี้ให้มีตัวสกัดระดับนึงตกลงว่าทําสําเร็จไหม อันนี้คือ Enabler สําคัญ คือเรื่องสําคัญ

มาตรา 34 ความร่วมมือในการจัดการศึกษา

จริงๆ โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนร่วมพัฒนาที่อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมนี่คือมาตรา 34 เพราะฉะนั้นอันนี้ คือกระบวนการของโครงการที่มีกฎหมายรองรับ คําถามคือม.34 นี้ใช้ได้ไหม ใช้ได้จริงไหม เพื่อจะส่งเสริมให้ เอกชนหรือว่าองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมจัดการศึกษาได้ในสถานศึกษาจริง ซึ่งอันนี้จริงๆ เป็นสาระที่เอาใส่ไว้ใน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติด้วย

มาตรา 35 ว่าด้วยเรื่องการใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร

ว่าสามารถใช้งบประมาณทําอะไรได้บ้าง การซื้อตําราหนังสือ สื่อการสอน รวมถึงฐานข้อมูลระบบ สารสนเทศต่างๆ ว่ามีกฎหมายให้เห็นอยู่แล้วทําได้จริงไหม ซึ่งกรรมการขับเคลื่อนกับกรรมการนโยบายจะต้อง ดูแล เพราะ Enabler ต้องทําผ่านกรรมการนโยบาย

ตัวนี้เป็นตัวสําคัญนั้นแปลว่าผู้ประเมินอิสระเป็นผู้ที่จะช่วยในการถอดบทเรียน ไม่ใช่ไปประเมินแต่ใน สถานศึกษา ต้องถอยหลังกลับไปถึงบทบาทและการทําหน้าที่ของกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ว่าได้ทําหน้าที่ที่ควรทําเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่

สุดท้ายที่อยากจะเรียนที่ประชุมเรื่องงบประมาณกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในช่วงที่เรามีการพูดคุย กันเรื่องการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมในกรอบที่เสนอคณะกรรมการปฏิรูปและตอนที่ไปอภิปรายเรื่องเหล่านี้ใน สปช.(สภาปฏิรูปแห่งชาติ) เรื่องงบประมาณระดับพื้นที่นวัตกรรมควรแบ่งพิจารณาเป็น 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ งบดําเนินงานการจัดการศึกษาส่วนนี้โดยหลักการไม่ควรจะได้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะถ้าได้มากกว่าพื้นที่อื่น เราเคยมีประเด็นอภิปรายที่สําคัญอยู่ 2 เรื่อง อันที่หนึ่งก็คือคนจะเข้าร่วมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไม่ใช่เพราะ อยากจะปฏิรูปหรือว่าอยากทํานวัตกรรมทางการศึกษา แต่เป็นเพียงเพราะอยากได้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น และมันจะไม่มีประโยชน์เลย

แต่งบประมาณที่ควรพิจารณาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยในช่วงแรกในการปรับเปลี่ยนคือควรจะเป็นงบที่ใช้ใน การสร้างศักยภาพหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่ใช่เพื่อการจัดการศึกษา ยกเว้นว่าเป็นเรื่องใหม่จริงๆ ที่ใน พื้นที่อื่นไม่มีการจัดอยู่ และได้มีการพัฒนาไว้แล้วว่าจะต้องเอาเรื่องนี้เข้าไปเพราะว่าเป็นของใหม่ที่ไม่อยู่ใน โครงสร้างต้นทุน หรือโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่ใช้กันอยู่ในสถานศึกษาในพื้นที่อื่นจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า จะทดลองการทําการให้มี School Counselor ใช้กันในจังหวัดมีลักษณะการ Shared Resource จ้างโดย คณะกรรมการขับเคลื่อนหรือกศจ.ระดับพื้นที่ แล้วก็เวียนไปตามโรงเรียนเป็นของใหม่ซึ่งในโครงสร้างเดิมไม่มี อย่างนี้เราให้งบประมาณ แต่ถ้าเป็นการจัดการศึกษาตามปกติทั่วไปผมคิดว่าไม่ควร เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การปฏิรูปภายใต้แนวคิดนี้ก็จะมีความเสี่ยงต่อความสําเร็จที่ไม่ใช่ของจริง แต่ถ้าเป็นงบประมาณเพื่อสร้าง ศักยภาพเช่นเราต้องปรับเปลี่ยนพัฒนาครูเป็นฐานสมรรถนะเพื่อให้สอนฐานสมรรถนะเป็น สอนเรื่องการทํา Workshop แบบใหม่เป็นเช่นนี้เห็นด้วยมีความจําเป็นต้องใช้งบประมาณ

Writen by พิทักษ์ โสตถยาคม
Photo by ภัชธีญา ปัญญารัมย์ & www.hfocus.org
Artwork by เก ประเสริฐสังข์

Facebook Comments
ผนึกกำลังความคิด กำหนดทิศทางวิจัย ใน Education Sandbox ควบคู่การปลดล็อกอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยความร่วมมือของภาคีเพื่อการศึกษาไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ.ผู้นำชุมชนและผู้นำท้องถิ่น จ.นราธิวาส เอาใส่ใจในการสร้างคุณภาพโรงเรียน และแสวงหานวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
บทความล่าสุด