โรงเรียนบ้านหนองม่วง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง สร้าง YOUNG AI เตรียมแรงงานที่มีทักษะในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

24 มกราคม 2020

ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP : Thailand Education Partnership) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (Thai Media Fund) ได้จัดทำคลิปความยาวประมาณ 3 นาที เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อการศึกษาไทย เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวโดยคุณครูภควัต ทองชา เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์บริบทพื้นที่ของโรงเรียนบ้านหนองม่วง สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ตามสรุปสาระสำคัญรวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

โรงเรียนบ้านหนองม่วง สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ตั้งอยู่ไม่ไกลจาก วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi) จึงจัดการศึกษามุ่งผลลัพธ์ให้เกิดกับนักเรียนตามกรอบ School Concept “Nongmuang AI School” เตรียมความพร้อมให้นักเรียนซึ่งเป็นคนในพื้นที่มีทักษะความสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในเขตเศรษฐกิจนี้

การจัดการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว โรงเรียนจึงจัดการศึกษาตอบโจทย์บริบทพื้นที่ ปรับนโนบายการจัดการศึกษาจากส่วนกลางให้เข้ากับบริบทโรงเรียน วิเคราะห์ความพร้อมด้านต่างๆของโรงเรียนตามบริบทที่เป็นอยู่เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการการจัดการศึกษา ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้นักเรียนเรียนวิชา coding microbit:bit ครูปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน เป็นโค้ช (Coach) คอยแนะนำ ชี้แนะนักเรียนระหว่างกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ จากการที่ครูให้โจทย์หรือประเด็น แล้วให้อิสระนักเรียนสืบค้นข้อมูลค้นหาคำตอบจากโจทย์หรือประเด็นที่ครูให้ ผ่านอินเทอร์เน็ตจาก tablet นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา จนเกิดเป็นความรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นด้วยตนเอง

ที่มา: ที่มา : TEP Thailand Education Partnership
Young AI School เตรียมความพร้อมเด็ก สู่ตลาดแรงงานในอนาคต
Written by อุมาภรณ์  พัฒนะนาวีกุล
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ศธจ.นราธิวาส สรุปผลการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เตรียมเสนอผู้บริหาร ศธ. ในช่วงประชุม ครม.สัญจร ณ จังหวัดนราธิวาสเปิดตัว! Line Official : พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด