ประชาสัมพันธ์ คือ การทำให้คนมากๆมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเรา ประกอบด้วย กัน ก่อ แก้
– ป้องกันไม่ให้คนเกิดความเข้าใจผิด (กัน)
– ก่อให้เกิดเรื่องราวที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น (ก่อ)
– แก้ไขปัญหา (แก้)
สื่อ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์
– BRAND = Total Experiences ภาพจำและประสบการณ์ที่ผู้บริโภคได้สัมผัส
ประเภทของสื่อ
1. Traditional mass media คือ สื่อดั้งเดิมมีลักษณะการสื่อสารทางเดียว เช่น วิทยุ รถ
2. Nontraditional mass media คือ สื่อใหม่ สื่อนวัตกรรม สื่อเทคโนโลยี เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเป็นนักประชาสัมพันธ์ได้ เช่น การโพสข้อความลงเฟสบุ๊ค
“ content สำคัญมากกว่า platform แล้วจะสร้าง content อย่างไรให้โดนใจ? ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พวงเล็ก
ภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
1. สังเกตความนิยม หรือสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของคนในสังคม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น การใช้รูปภาพ วิดีโอ (youtube) การเขียนคำบรรยายประกอบรูปภาพให้เก๋ (ไม่จำเป็นต้องบรรยายยาวๆ) เช่น เขียนคำกลอน คำคล้องจอง เพื่อดึงดูดความสนใจหรือชวนให้ใช้ความคิด อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้น ย้ำเตือน
2. คำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงขององค์กร (วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ที่ต้องการจะสื่อสาร) รวมถึงการคาดเดาว่าผู้ที่จะเข้ามาอ่าน ต้องการจะทราบเรื่องอะไร เช่น ประชาสัมพันธ์ผลของการจัดกิจกรรมโครงการ (มากกว่าการประชาสัมพันธ์ภารกิจของผอ.)
3. ออกแบบสื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (3 ส. กับการสร้างแบรนด์)
– สารรูป การใช้สื่อที่ทันสมัย มีระบบ คงเส้นคงวา ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรู้และจดจำได้ และเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กร เช่น การสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรด้วยการใช้สี เงา คำพูดติดปาก
– สาระ เนื้อหาทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าคืออะไร
– สาระแน การนำเรื่องราวที่ดีๆขององค์กรเผยแพร่ให้คนภายนอกรับรู้
กลุ่มเป้าหมายของการสร้างแบรนด์
– Internal branding = การรับรู้ของคนภายในองค์กร (สำคัญมาก) ก่อนจะประชาสัมพันธ์ออกไป ต้องสร้างความเข้าใจให้คนภายในก่อน
– External branding = การรับรู้ของคนภายนอกองค์กร
กลยุทธ์การสื่อสาร : สื่อสารให้ใคร? / สาร+ช่องทาง (content point) สำคัญกว่าผู้ส่งสาร+ผู้รับสาร
รูปแบบช่องทางการใช้สื่อ สื่อฟรี (พลังของ internet) คือสื่อที่กำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน (virus media: การแพร่หลาย การบอกต่อไปเรื่อยอย่างกว้างขวางโดยใช้ internet)
– สื่อองค์กร
– สื่อมลชน
– สื่ออสังคม
หลักการใช้สื่อ
– ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะแก้ไข what?
– ควรนำสื่อไปใช้ที่ไหน where?
– เริ่มใช้สื่อเมื่อไหร่ when?
– ใช้สื่ออะไร how?
นักประชาสัมพันธ์ต้อง “รุก” มีอะไรดีๆต้องทำ ต้องเผยแพร่ให้คนภายนอกได้รับรู้
ขั้นตอนการทำสื่อออนไลน์
– กลุ่มเป้าหมาย: เป็นใคร ช่วงอายุใด
– วัตถุประสงค์: เพื่อให้ข้อมูล /ชักจูง /ความบันเทิง /การศึกษา (สื่อที่เป็นที่นิยมคือ สื่อที่สร้างความบันเทิง ตลก ขบขัน)
– แนวคิดหลัก: ต้องการจะบอกอะไร (เพียงประโยคเดียว)
Big Idea: ประเด็นหลักในการสื่อสาร ที่กระแทกความรู้สึก เข้าใจง่าย ประทับใจ เป็นแนวทางที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแบรนด์ (คลิปวิดีโอที่ดึงดูดใจ คือ คลิปที่มีความยาวแค่ 3 วินาที)
“ จะพูดสื่อสารว่าอะไรกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้โดนใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พวงเล็ก
วิธีการที่จะส่งสารให้สำเร็จ “พูดอย่างไรให้โดนใจ”
(การสร้างภาพชวนผู้รับสารคิด เอา concept มาสร้างเป็นภาพ) ”
ภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เอกสารแนบ :
https://drive.google.com/file/d/1a7YjK9P1aWzjexXsYpQp5bZ_Z75IQLM0/