สพฐ. PRE-KICKOFF ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

24 พฤษภาคม 2024
สพฐ. PRE-KICKOFF ประเมินกฎหมายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

สพฐ. เดินหน้าโครงการการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการประเมินผลครั้งนี้จะให้ข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เดินหน้าโครงการการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้ สพฐ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยการประเมินผลสัมฤทธิ์นี้จะต้องดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และเสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีหลังจากวันที่เริ่มประเมิน

วันนี้ 24 พฤษภาคม 2567 สพฐ. จึงได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อ PRE-KICKOFF โครงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม สตผ. อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 7 เวลา 09.00 – 16.00 น. การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินงานตามกฎหมาย ตลอดจนได้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ผลการประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันถึงความชัดเจนในการดำเนินการต่างๆ โดยสรุปดังต่อไปนี้

แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายกำหนดเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

1) เตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน

– การศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– การตรวจสอบกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
– กำหนดกรอบระยะเวลาและดำเนินการประเมินตามแผนที่กำหนด
– สพฐ. ออกประกาศ เรื่อง วิธีการ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดและข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นฯ

2) รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

– ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https://law.go.th
– ผ่านการสัมภาษณ์/แบบสอบถาม/สนทนากลุ่ม/จัดประชุม แล้วแต่ความเหมาะสมของประเด็นที่ต้องการสอบถามเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ จากสำนักงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย โดยมุ่งไปที่สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคส่วนต่างๆ อาทิ คณะกรรมการระดับนโยบาย คณะกรรมการระดับพื้นที่ปฏิบัติการ  ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน ผอ. ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ได้รับผลโดยตรงโดยเฉพาะ ผู้เรียน จำเป็นต้องมีข้อมูลส่วนนี้มาวิเคราะห์

3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน

– นำข้อมูลจากข้อ 2) มาดำเนินการวิเคาะห์สังเคราะห์และสรุปผล

4) การจัดทำรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์

– ยกร่างรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์
– ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาร่างรายงานฯ
– ปรับปรุงรายงานฯ
– เสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อ เลขาธิการ กพฐ. เพื่อลงนาม

5) รายงานผลและเผยแพร่ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์

– เผยแพร่รายงานในระบบกลางทางกฎหมายและเว็บไซต์ของหน่วยงาน
– รายงานผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเป็นกระบวนการที่ต้องใช้การศึกษาข้อกฎหมาย การตรวจสอบ การวางแผนและการดำเนินการอย่างรอบคอบ รวมถึงการจัดทำและเผยแพร่รายงานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการประเมินอย่างครบถ้วนและโปร่งใส

สพฐ. ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารและความคืบหน้าของโครงการนี้ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา www.Edusandbox.com ต่อไป

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


 

ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
สพฐ. เช็คความพร้อมหารือ Timeline ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ. บุรีรัมย์ ระยะแรกคณะกรรมการนโยบายฯ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
บทความล่าสุด