Sukhothai Education Sandbox ขับเคลื่อนการศึกษาด้วย พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
จังหวัดสุโขทัยเข้ามาเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2565 เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย มีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสุโขทัย มีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยเป็นประธาน และมีศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัยเป็นเลขานุการและมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3 คณะ ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
- คณะอนุกรรมการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและกระจายอำนาจให้หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- คณะอนุกรรมการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องทุกแห่งให้มีคุณภาพประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องตามมาตรา 5 และมาตรา 20 ตาม พ.ร.บ. ทั้งมุ่งส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัยไปสู่สถานศึกษานำร่อง ชุมชนและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม และส่งผลให้เกิดการสร้างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามลำดับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย จึงจัดให้มีกิจกรรมตามโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องตามแผนปฏิบัติงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้กำหนดออกเป็นระยะ 3 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 – 2569 อันแสดงถึงกลไกการขับเคลื่อนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นที่ประจักษ์และวัดผลได้จากการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ปัจจุบันจังหวัดสุโขทัย มีสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย รวมทั้งสิ้น 31 แห่ง จำแนกตามสังกัดดังนี้
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวน 14 แห่ง
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน 8 แห่ง
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 6 แห่ง
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมศึกษาเอกชน จำนวน 2 แห่ง
- สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 แห่ง
สถานศึกษานำร่องทุกแห่งมีนวัตกรรมการศึกษาสอดคล้องตามบริบทและสภาพภูมิสังคมชุมชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย จึงดำเนินกิจกรรมตามโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยความร่วมมือจากหน่วยงานการศึกษาต้นสังกัดของสถานศึกษา และจากหน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้มี 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และคณะอนุกรรมการ ฯ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาและขยายผลนวัตกรรมเชิงระบบ และนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็น ระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษานำร่อง โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมระดับจังหวัด คือ จัดทำกรอบหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย อิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 วัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย จำนวน 31 แห่งได้นำกรอบหลักสูตรระดับจังหวัดไปปรับเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กระดับการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองตามความต้องการและตามบริบทสภาพภูมิสังคมได้อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการขับเคลื่อน ฯ ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้สถานศึกษานำร่องทุกแห่งนำไปปรับเพื่อใช้ในสถานศึกษานำร่องให้เหมาะสม สอดคล้องตามความต้องการตามบริบทและสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษาต่อไป
ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกับสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษาระดับจังหวัดสุโขทัย ดังต่อไปนี้
นวัตกรรมการบริหารจัดการ
1. “Dubble LS Model” โดยโรงเรียนลิไทพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
2. “SMART Mode!” โดย นายธนวัฒน์ พุดจาด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลานกระบือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 (หมายเหตุ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคูหาสุวรรณฯ)
3. “การบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านตลิ่งชัน โดยใช้นวัตกรรมการบริหาร TLC SMART Model” ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 https://www.edusandbox.com/bantalingchun
4. การพัฒนารูปแบบ N.K. “พ่อขุนราม Mode!” โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
5. “FAMILY Mode!” โดย นายสำราญ จงอยู่เย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
6. “6 เส้นทางสู่เป้าหมาย สร้างคนดี มีพื้นฐานความพอเพียง และทักษะอาชีพ บนมาตรฐานการศึกษาชั้นพื้นฐานสู่สากล” โดยนายไพบูลย์ พวงเงิน ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย (หมายเหตุ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ)
7. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูด้วยทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยโรงเรียนอนุบาลศรีสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
1. “หลักสูตรท้องถิ่นอิงประวัติศาสตร์” โดยโรงเรียนสิไทพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
2. “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยผ่านการจัดกรเรียนรู้แบบ STEM Education & Active Learning” โดย โรงเรียนบ้านลานกระบือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
3. การขับคลื่อนการฟื้นฟูภาวะถดลอยทางการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน ด้วยนวัตกรรม TCL SMART Model” โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
4. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบ “Anuban – SW Model” โรงเรียนอนุบาลสวรรคโลก (คุ้งวารีวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
5. การพัฒนารูปแบบ K.R. “พ่อขุนราม Mode!” โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
6. “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ TPS Mode!” โดย โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
7. การใช้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือพระราชนิพนธ์ เพื่อส่งเสริมการอ่านที่ยั่งยืนของนักเรียน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
8. การจัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) โดย โรงเรียนศรีนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา
1. กระบวนการนิเทศ ในรูปแบบ PEA๒R๒L Model โดย โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
2. “Mirror Model (ภาพสะท้อนสู่ความสำเร็จ)” โดย นางสาวกุสุมา รอบุญ โรงเรียนบ้านลานกระบือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
3. “SMILE MODEL” โดย โรงเรียนบ้านสันติสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
4. รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา TCL Model โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
5. การพัฒนาการวัดผลและประเมินผลด้วยกระบวนการ “CRIC Model” โรงเรียนอนุบาลสวรรคโลก (คุ้งวารีวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
1. นวัตกรรมการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 1 คน ได้แก่ นางสาวกุสุมา รอบุญ โรงเรียนบ้านลานกระบือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ชื่อนวัตกรรม “Mirror Model (ภาพสะท้อนสู่ความสำเร็จ)”
2. นวัตกรรมการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการศึกษา จำนวน 1 คน ได้แก่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ TPS โมเดล โดยนายสำราญ จงอยู่เย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
3. นวัตกรรมการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่ การจัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) โดย โรงเรียนศรีนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
สถานศึกษานำร่องในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ส่วนใหญ่มีพัฒนาการดีขึ้นกว่าเดิมเรื่องการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กระดับการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองตามความต้องการและตามบริบทสภาพภูมิสังคมได้ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการขับเคลื่อน ฯ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ ทั้ง 3 คณะ โดยดูได้จากเว็บไซต์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย https://stipeo.go.th/ ข้อมูลของสถานศึกษานำร่อง
สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ทั้ง 31 แห่ง มีความอิสระและได้รับการกระจายอำนาจ ตาม พ.ร.บ. โดยได้นำนวัตกรรมกรอบหลักสูตรระดับจังหวัด ชื่อนวัตกรรม “กรอบหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัยอิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551” ไปปรับเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กระดับการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองตามความต้องการและตามบริบทสภาพภูมิสังคมได้อย่างต่อเนื่องต่อไป โดยสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ทั้ง 31 แห่งมีผลการเรียนรู้สะท้อนว่า เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แนวใหม่ ตามความต้องการและตามบริบทสภาพภูมิสังคมได้สอดคล้องตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”
รายงานผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567https://drive.google.com/file/d/1UqGyURZShnk7CBtl6YpfWdar0fyd9S0S/view?usp=sharing
กรอบหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัย อิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 https://online.anyflip.com/ffike/kunk/mobile/index.html
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุโขทัยได้ที่
เว็บไซต์: https://stipeo.go.th/
เฟสบุ๊กแฟนเพจ:
https://www.facebook.com/sukhothaipeo
https://www.facebook.com/profile.php?id=100024311502709
https://www.facebook.com/Sandbox.Sukhothai?locale=th_TH
ผู้ให้ข้อมูล: นางอภัสนันท์ ศิริวิทชัยภรณ์
ผู้เรียบเรียง&กราฟิกดีไซน์เนอร์: น.ส.ณัฐมล ไชยประดิษฐ์