เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2562 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายสุเทพ ชิตยวงษ์) มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ. (นางสุกัญญา งามบรรจง) ไปร่วมเสวนาในงาน TEP Forum 2019 ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร กรุงเทพมหานคร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษได้กล่าวถึง บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. ในการสนับสนุนและดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้ 1) กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเลขานุการ 2) สพฐ. สนับสนุนการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ โดยได้สนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2562 จำนวน 6 ล้านบาท โดยเฉลี่ยพื้นที่ละประมาณ 1 ล้านบาท 3) ได้ร่วมสนับสนุนการออก พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาสามารถยืดหยุ่นหลักสูตรแกนกลางฯได้ นั่นคือ ไม่ต้องยึดตามตัวชี้วัดย่อย แต่ให้คงเป้าหมาย/มาตราฐานหลักสูตรไว้ เปิดโอกาสให้จัดซื้อจัดหาหนังสือเรียน ตำราได้เอง 4) ในปีงบประมาณ 2563 สพฐ. ตั้งงบประมาณไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเตรียมสนับสนุนการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรม จำนวน 120 ล้านบาท โดยกำหนดสัดส่วนของงบประมาณดังกล่าวไว้ดังนี้ 70 : 20 : 10 โดย 70% เป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนสถานศึกษา 20% เป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนพื้นที่ และ 10% เป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนหน่วยงานนโยบายหรือส่วนกลาง
นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ. ยังได้เน้นย้ำว่าต่อจากนี้การกำหนดนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแบบ Buttom Up นั่นคือ นำผลจากการปฏิบัติจากสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่มาร่วมวิเคราะห์และพิจารณาจัดทำนโยบาย